สื่อมวลชนจังหวัดนครราชสีมาเข้าศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าขยะหนองแขมศึกษาระบบการทำงานและการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 สื่อมวลชนจังหวัดนครราชสีมากว่า30คน ได้รับเชิญจากโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหนองแขมศูนย์กำจัดจัดขยะเพื่อให้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์เกี่ยวกับการทำข่าวและเพื่อความเข้าใจวิธีการต่างๆในการแก้ไขปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองในประเทศไทยทั่วทุกภาคและเป็นการเสริมสร้สงความรู้และปัญหาต่างๆสำหรับการใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ได้จากการกำจัดขยะในพื้นที่เมือง ณ โรงกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หนองแขมศูนย์กำจัดขยะแห่งนี้เป็นศูนย์กำจัดขยะที่สำคัญหนึ่งในสามของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุช และศูนย์กำจัดขยะสายไหม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาระการจัดการขยะและกำจัดปริมาณขยะจากทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ 50 เขต ซึ่งมีประมาณวันละ 10,000 ตัน/วัน และช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤตขยะของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นที่กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมืองที่ไม่มีกำลังเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาขยะที่ล้นเมืองวันละหลายพันตัน อย่างเช่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใหญ่ๆที่มีประชากรมากจนไม่สามารถรับมือกับการแก้ไขปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองได้อย่างถาวรอีกทั้งแต่ละจังหวัดแต่ละภาคไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร ที่ทุกหน่วยงานของภาครัฐก็พยายามที่จะแก้ปัญหาขยะเหล่านี้ให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุดแต่ก็ติดขัดปัญหาเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ทางออกที่ดีและเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง คงต้องใช้แนวทางให้เอกชนมาลงทุนก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่ส่วนใหญ่โรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็จะพบและเจอปัญหาพี่น้องประชาชน ส่วนใหญ่เข้าดำเนินการต่อต้านไม่ยินยอมให้เอกชนที่จะตั้งโรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า เพราะเกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่บ้านเกิดของตนเองโดยประเด็นใหญ่เพียง3ประเด็นหลัก เช่น1 กลัวมลภาวะเป็นพิษต่อร่างกาย 2.กลัวปัญหาเรื่องกลิ่นที่คาดว่าจะส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่3 คือเรื่องน้ำที่เกรงว่าหากโรงงานขยะดังกล่าวเข้ามาก่อสร้างและดำเนินงานตามโครงการจะเกิดปัญหาโรงงานปล่อยน้ำเสียหรือน้ำเสียดังกล่าวอาจจะซึมลงตามสายดินและไปลงสู่พื้นที่ชาวไร่ชาวนาจะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีวิตครอบครัวชาวบ้านได้และที่ชาวบ้านกังวลใจมากที่สุดคือเกรงว่าน้ำเสียเหล่านี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาเพื่อไปอุปโภคอละบริโภคได้

สิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจหลักสำคัญที่ชาวบ้านหวั่นเกรงว่าจะเกิดประสบปัญหาเหล่านี้กับพวกเขาเหล่านั้นจึงมีการรวมตัวและคัดค้านไม่ยอมให้โรงงานกำจัดขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า เข้าไปดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ของชาวบ้านในแต่ละตำบลในแต่ละจังหวัดต่างๆปัญหาที่ชาวบ้านเกรงกลัวเหล่านี้จะต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือผู้ที่รู้และทราบเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ในเรื่องที่ดีและมีประโยชน์หากโรงงานกำจัดขยะเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าเข้าไปดำเนินการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวในพื้นที่แต่ละจังหวัดของประเทศไทย สื่อมวลชนที่เข้าไปดูงานและเห็นวิธีการกำจัดขยะเพื่อไปเป็นพลังงานไฟฟ้าก็เป็นเพียงผู้เล่าและบอกพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้เห็นถึงวิธีการการทำงานของโรงงานกำจัดขยะเพื่อนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไรทุกสิ่งทุกอย่างจะไปกันได้และร่วมมือกันได้ต้องเป็นพี่น้องประชาชนในพื้นที่กับปู้ประกอบการโรงงานกำจัดขยะเพื่อพลังงานไฟฟ้า จะเจรจาและทำความเข้าใจกันอย่างไรต่อไป

ณัฐพงศ์ อรชร ผู้สื่อข่าวท็อปนิวส์จังหวัดนครราชสีมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น