“ปู จิตรกร” เรียงเป็นข้อๆ เหตุผล ทำไมต้องพึงทบทวน คิดลงเรียนหลักสูตร “อ.นันทนา”

"ปู จิตรกร" เรียงเป็นข้อๆ เหตุผล ทำไมต้องพึงทบทวน คิดลงเรียนหลักสูตร "อ.นันทนา"

นายจิตกร บุษบา หรือ อาจารย์ปู อดีตครูจิตอาสาโรงเรียนพระดาบส นักสื่อสารมวลชน และคอลัมนิสต์ชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ปู จิตกร บุษบา” ระบุว่า เรียน นักการเมืองทั้งหลาย ที่ไปเข้าหลักสูตรของอาจารย์ท่านนี้ที่ ม.เกริก เพื่อจะได้ความรู้หรือได้คำนำหน้าชื่อว่า ดร. ก็ไม่ทราบนั้น
..
สิ่งที่อาจารย์ท่านนี้กล่าว นับเป็นการให้ “ความเข้าใจที่ผิด” แก่สังคมอย่างมหันต์ จนควรจะลังเลว่า ควร “รับการศึกษา” จากคนผู้นี้หรือไม่

๑. คำว่า “ประชาชนเขาเลือกมาแล้ว” ประชาชนเลือก ส.ส. หรือ “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ครับ ไม่ได้เลือกนายกฯ การเลือกตั้งทั่วไปนั้น เป็นการให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือก ส.ส.
..
๒. ตรวจสอบได้จากประกาศ “ยุบสภา” ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ ความว่า
พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ด้วยนายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ และบัดนี้ได้ปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีที่สี่ อันเป็นปีสุดท้ายของอายุสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว เพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๓ และมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
มาตรา ๔ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งประกาศกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๔๕ วันแต่ไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
มาตรา ๕ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้ง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
– การเลือกตั้งที่จะต้องจัดให้มีขึ้นตามประกาศนี้ ชัดเจนว่า เป็น “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
..
๓.หากดูจากบัตรเลือกตั้ง บนสุดของบัตรก็เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งปี 2566 นี้ มีบัตร 2 ใบ คือ แบบ “แบ่งเขตเลือกตั้ง” (บัตรสีม่วง) กับแบบ “บัญชีรายชื่อ” (บัตรสีเขียว) จึงเป็นอีกหลักฐานยืนยันเขา คะแนนของประชาชนนั้น เป็นคะแนนเลือก “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

๔. ผลการเลือกตั้ง (ที่เกิดจากคะแนนการเลือกของประชาชน) พรรคก้าวไกลได้ ส.ส. มากที่สุด
.
๕. รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๙ บัญญัติว่า “ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ บุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ และเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ตามมาตรา ๘๘”
–ชัดเจนนะครับว่า ประชาชนเลือก ส.ส. // ส.ส. เลือกนายกฯ
คำที่นางนันทนา นันทวโรภาส กล่าวว่า “ประชาชนเขาเลือกมาแล้ว” จึงยุติที่การเลือก ส.ส. ครับ จากนั้นเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ที่จะเลือกนายกรัฐมนตรี !!
.
๖. ด้วยเหตุของการมี “บทเฉพาะกาล” อยู่ในมาตรา ๒๗๒ ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งผ่านการลงประชามติของประชาชนชาวไทยแล้ว กำหนดว่า การเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการ “แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี” ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่ให้ความเห็นชอบบุคคลใดให้เป็นนายกฯ “ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา”
จึงแปลว่า…
— นายกรัฐมนตรีไม่ได้มากจากการ “เลือกตั้ง” แต่มาจากการ “แต่งตั้ง” โดยความเห็นชอบของสมาชิกมากกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมร่วมรัฐสภา
— ส.ว. จึงมีหน้าที่ต้อง “ให้ความเห็นชอบ” ว่าใครควรเป็นนายกฯ ด้วยศักดิ์และสิทธิ เท่าเทียมกับ ส.ส. ไม่ได้สำคัญมากหรือน้อยไปกว่า ส.ส. แต่ ๑ สิทธิ ๑ เสียงเท่ากัน และจะเกี่ยงงอนมิได้ เพราะเป็น “ฉันทามติ” ที่เรียกว่า “ประชามติ” ของประชาชนแล้ว
— เพียงแต่ ส.ว.ทำได้แค่ “ระหว่าง ๕ ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้” เท่านั้น จากนั้นก็เป็นการเห็นชอบของสมาชิกสภาผผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เท่านั้น
..
๗. นางนันทนา นันทวโรภาส ในฐานะ “ผู้จัดการศึกษา” จึงควรตระหนักว่า การสื่อสารสู่สังคม ไม่ควรบิดเบือนข้อเท็จจริง ที่จะเป็นความรู้ เป็นสติปัญญา ในการมองปัญหา ทำความเข้าใจ ต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และหากไม่แน่ใจในความรู้ หรือความแม่นยำต่อข้อกฎหมายของตนเอง ก็ไม่ควร “ให้ความเห็น” แก่สาธารณะ
..
๘. การที่ ส.ว. ทำหน้าที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีนี้ คือ ไม่เห็นชอบให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับที่ ส.ส. อีกจำนวนมาก ก็ “ไม่เห็นชอบ” จึงไม่ใช่การ “ไปตรวจสอบเสียงของประชาชน” อย่างที่นางนันทนากล่าวอ้างแต่อย่างใด เป็นความคิดเห็นที่ “เกินเลย” ไปจากหลักการและข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ดังนั้น การลากความไปถึงมะรง มะเร็ง ทั้งหลาย จึงเป็น “ความเลอะเทอะ” ที่เป็นผลจากความไม่รู้ หรือผิดหลงต่อ “หลักการ” และข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ หรืออาจเจือด้วยความรักชอบส่วนตัวเข้าไปด้วยก็เป็นได้

 

 

๙. ส.ว. จึงมิได้เข้าไป “ขัดขวางไม่ให้เสียงที่ประชาชนเลือกได้เป็นนายกฯ” อย่างที่นางนันทนากล่าว เป็นเพียงการ “ทำหน้าที่” ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรับธรรมนูญให้ทำได้ทั้งเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียง จะเห็นได้ว่า ส.ว. ส่วนมากเลือกที่จะลงมติว่า “งดออกเสียง” เพื่อแสดงเจตนาว่ามิได้จงใจ “ขัดขวาง” เพียงแต่มิอาจเห็นชอบด้วยความกังวลเรื่อง ม.112 อันเป็นท่าทีของนายพิธา และพรรคก้าวไกล ที่ก็เป็นความกังวลของ
คนส่วนใหญ่ในสังคม (ที่ไม่ได้เลือกพรรคก้าวไกล) ด้วย
..
๑๐. ยังน่าแปลกใจว่า การเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่แล้ว พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. มากกว่าพรรคพลังประชารัฐ แต่ผู้มีรายชื่อว่าที่นายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ก็มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (แถมพรรคเพื่อไทยก็มิได้เสนอชื่อคนในบัญชีของตัวเองด้วย กลับไปเสนอชื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมิใช่พรรคที่ได้จำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับ ๑ หรือ ๒ ด้วยซ้ำไป) ครั้งนั้น นางนันทนาก็มิได้ออกมากล่าวความเห็นเช่นนี้เลยสักแอะ จึงเป็นเหตุให้น่าสงสัยว่า นางนันทนายึดมั่นในหลักการที่ตนเองกล่าวครั้งนี้แค่ไหน
..
สังคมต้องแยกแยะระหว่าง “ถูกต้อง” กับ “ถูกใจ” ให้ออก
อย่าเอาความ “ไม่ถูกใจ” มาลากพาไปสู่ความ “ไม่ถูกต้อง” โดยไม่เคารพกติกาที่ตรากันไว้ และผ่านการลงมติเห็นชอบโดยประชาชน หากรับกติกาดังกล่าวมิได้ ก็มิควรลงแข่งขันภายใต้กติกานั้น รอให้พ้น ๕ ปี กติกาก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ตามที่เคยชิน เคยปฏิบัติกันมาก่อน
..
จึงขอเรียนไปยัง ส.ส. และผู้คนในแวดวงการเมืองทั้งหลาย ที่ไปลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่นางนันทนากำกับ อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกริก พึงทบทวน

 

 

 

 

 


“ใหม่ Galaxy Z Fold 5 | Flip 5 สีพิเศษ โปรสุดคุ้ม จองวันนี้รับส่วนลดสูงสุด 6 ต่อ

🔥 เพิ่มความจุเป็น 2 เท่า มูลค่าสูงสุด 10,000.-
🔥 ฟรี! Samsung Care+ 2 ปี มูลค่าสูงสุด 19,990.-
🔥 เก่าแลกใหม่ลดสูงสุด 6,500.-
🔥 ส่วนลด 30% เมื่อซื้อ Watch 6 series
🔥 รับเครดิตเงินคืน 5%* สูงสุด 3,300.-
🔥 ลูกค้าใหม่ โค้ด NEWMEM ลดเพิ่ม 1,000.-

จำนวนจำกัด 1,000 เครื่องเท่านั้น
เฉพาะที่ samsung.com

📅 26 ก.ค. – 10 ส.ค. 66
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด”

คลิกเพื่อพรีออเดอร์ได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/w14hd

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น