ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย – ซาอุฯ ชื่นมื่น “King Salman Global Academy for Arabic Language” เยือน ม.เกริก

กดติดตาม TOP NEWS

ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ซาอุฯ ชื่นมื่น King Salman Global Academy for Arabic Language เยือน ม.เกริก พร้อมจับมือยกระดับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับในไทย

เมื่อเช้าวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกริก โดยศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก จัดพิธีต้อนรับคณะผู้แทนจาก King Salman Global Academy for Arabic Language แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และ H.E. Mr.Abdulrahman Abdulaziz Alsuhaibani เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย เพื่อร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี Mr.Li Shaoyun รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกริก ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม กรรมการสภา มหาวิทยาลัยเกริก อาจารย์อำพล ขำวิลัย ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเกริก ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม คณบดี วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ อาจารย์สราวุธ และซัน รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก คณาจารย์ คณะที่ปรึกษาของวิทยาลัยฯ และบรรดานักศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ

ศ.ดร. อิมรอน มะลูลีม กรรมการสภา มหาวิทยาเกริก และ Mr.Li Shaoyun รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวต้อนรับ และเน้นย้ำความพร้อมของมหาวิทยาลัยเกริกในการเป็นมหาวิทยาลัยในอุดมการณ์การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย เป็นพหุวัฒนธรรมที่มีการเรียน การสอน ในภาษาต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงภาษาอาหรับ ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพิ่มทักษะทางภาษา และเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน

ในการนี้ H.E. Mr.Abdulrahman Abdulaziz Alsuhaibani เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการหารือด้านความร่วมมือ และพันธกิจที่จะร่วมสร้างภาษาอาหรับ เพื่อใช้ในการสื่อสารด้านธุรกิจ สร้างความเข้าใจด้านวัฒนธรรมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไทย-ซาอุในปัจจุบัน โดยสถาบัน King Salman Global Academy for Arabic Language เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญของซาอุดีอาระเบียในการพัฒนาด้านภาษาอาหรับในต่างประเทศ ผ่านการประสานงานของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย ซึ่งร่วมผลักดัน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองสถาบันในมิติด้านภาษาและวัฒนธรรม

Mr Li Shaoyun รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกริก เปิดเผยถึงที่มาของการให้ความสำคัญกับภาษาที่หลากหลาย แม้ว่าสถาบันแห่งนี้จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับจีน แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับภาษาอื่น ๆ เช่น อังกฤษและอาหรับ โดยเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นความภาคภูมิใจของเรา และเราเป็นสถาบันหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดกว้างด้านภาษาและเป็นแหล่งรวมพหุวัฒนธรรมที่ลงตัวพร้อมเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน นำไปสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ยกระดับด้านภาษาและวัฒนธรรมสู่สากล

ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ยังกล่าวถึงความเป็นมาของวิทยาลัยฯ หลักสูตรต่างๆที่ได้ทำการเปิดสอน ซึ่งล้วนแต่เป็นวิชาที่ตอบโจทย์ความต้องการในสังคม โดยวิทยาลัยฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนให้มีความสามารถในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ในขณะที่อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ได้แจ้งถึงพันธกิจของศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ในการเป็นศูนย์ภาษาอาหรับชั้นนำของประเทศไทย มีการให้บริการทางภาษาอาหรับในทุกมิติ ตอบรับต่อความต้องการทางภาษาอาหรับที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะภายหลังการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย – ซาอุดีอาระเบีย และยังได้แสดงถึงผลงาน การขับเคลื่อนของศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้รับความไว้วางใจใช้บริการทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

ศ.ดร. อับดุลเลาะ บิน ซอและห์ อัลวัชมี เลขาธิการ สถาบันภาษาอาหรับ King Salman Global Academy for Arabic Language ได้กล่าวถึงความเป็นมา และพันธกิจของสถาบันฯ ในการยกระดับความสามารถทางภาษาอาหรับให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา และสร้างความเข้าใจด้านวัฒนธรรม ซึ่งแผนงานดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งจาก Vision 2030 ของประเทศซาอุดีอาระเบีย และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของสถาบันฯ ในการพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอาหรับให้เกิดขึ้น

ในช่วงท้ายของพิธีทางวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ และศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก นำโดย ดร.ปริญญา ประหยัดทรัพย์ หัวหน้าหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ได้มีโอกาสนำหารือกับสถาบันภาษาอาหรับ King Salman Global Academy for Arabic Language ถึงทิศทางความร่วมมือที่จะมีขึ้นในอนาคต ซึ่ง ศ.ดร. ซะอัด บิน มูฮำหมัด อัลเกาะห์ฏอนี หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมการศึกษา ของสถาบันฯ ได้ชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือ และการสนับสนุนด้านภาษาอาหรับ ที่ทางสถาบันฯ พร้อมที่จะช่วยเหลือศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ในการเป็นศูนย์ภาษาอาหรับชั้นนำของประเทศไทย ในการนี้ ศ.ดร. อับดุลเลาะ บิน ซอและห์ อัลวัชมี ยังได้แสดงความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบคณาจารย์ ของวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาษาอาหรับในประเทศไทย และท่านยินดีให้ความร่วมมือ สานสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันให้เป็นเครือข่ายการพัฒนาภาษาอาหรับต่อไป

โดยจัดพิธีต้อนรับในครั้งนี้ วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพยังได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาและส่งเสริมวัฒนธรรม ประกอบด้วย ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ผู้แทนจุฬาราชมนตรี นายกานต์นิธิ ไตรต้นวงศ์ นักการทูตปฏิบัติการ กรมเอเซียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ นายอุมาร มาดะมัน รองประธานที่ปรึกษาวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพฯ นายฐานิศร์ ณ สงขลา ที่ปรึกษาวิทยาลัยฯ ดร.รชต ลาตีฟี ที่ปรึกษาวิทยาลัยฯ นายณพช หวังอับดุลเลาะห์ ที่ปรึกษาวิทยาลัยฯ ร่วมให้การต้อนรับคณะจากสถาบันดังกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-

ข่าวล่าสุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น