งานเข้า “รถไฟฟ้าสายสีส้ม..ล้มประมูล ” ดีเอสไอ ชี้ “ศรีสุวรรณ” ร้องมีมูล ส่งเรื่อง ป.ป.ช. เอาผิด

อธิบดี ดีเอสไอ รับเซ็นอนุมัติ ให้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เอาผิดจนท.รัฐที่เกี่ยวข้อง รื้อ แก้ไข ทีโออาร์ ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามคำร้องของ เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย แล้ว ขณะ ศรีสุวรรณ จี้เร่งดำเนินการสอบ พร้อมขอให้ รฟม. นำทีโออาร์เดิม กลับมาใช้

สืบเนื่องจากการที่ TOP NEWS เกาะติดปัญหาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม ภายหลังคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 รฟม. รื้อแก้ไข ทีโออาร์ ประมูลโครงการ จนนำไปสู่การฟ้องร้องเอาผิดในหลายขั้นตอน ทั้งการที่บริษัทเอกชน ได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง

พร้อมการฟ้องร้องเอาผิดคดีอาญาผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

1.นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2.นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
3.นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
4.นายประสิทธิ์ ศิริภากรณ์ อธิบดีอัยการ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
5.นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ผอ.สคร.) กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
6.นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
7.นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี ผู้อำนวยการฝ่านพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า รฟม. ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ

ฐานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 165 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่ง 5 พ.ค.

รวมถึงกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ร้องเรียนต่อ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) เป็นการกระะทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงน่าเชื่อว่าจะมีการกีดกันการเสนอราคา อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

 

ต่อมา กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการสืบสวนกรณีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสอบข้อมูลจากผู้ร้อง หรือ นายศรีสุววรรณ จรรยา , การให้ถ้อยคำในรายละเอียด ที่เกี่ยวกับความผิดปกติในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ชนะการประมูลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี จากผู้บริหาร BTSC และ การเรียก นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม. , นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการรฟม. ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกฯ และ นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี กรรมการคัดเลือกฯ มาให้ถ้อยคำในรายละเอียดที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และในประเด็นต่าง ๆ ตามที่คณะพนักงานสืบสวนต้องการทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

และทางด้าน พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เปิดเผย กับ TOP NEWS ก่อนหน้านี้ว่า “กำลังเร่งให้เจ้าหน้าที่เร่งสรุปอยู่ โดยเฉพาะการพิจารณาว่าคำร้องนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้เกี่้ยวข้อง แล้วทางดีเอสไอ เห็นว่าจะไปเกี่ยวข้องกับประเด็นไหน และได้ย้ำไปด้วยว่าต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากเป็นคำร้องที่มีเข้ามานานพอสมควรแล้ว ส่วนตัวคิดว่าคงไม่ช้า คงจะเสร็จในเร็ว ๆ นี้ เพียงแต่ความเห็น ว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร คงไม่สามารถบอกไปก่อนล่วงหน้าได้

“โดยขั้นตอนปฏิบัติจะมาจากความเห็นของเจ้าหน้าที่ คณะทำงาน ในการพิจารณาคำร้อง ประกอบกับการไต่สวนบุคคลเกี่ยวข้อง ก่อนจะส่งมาให้ตนพิจารณา ซึ่งขณะนี้ก็รออยู่เช่นกัน โดยจะให้เวลากับทุกฝ่ายในการทำงานอย่างเต็มที่ เพราะไม่รู้ว่ามีพยานบางปากที่ยังไม่มาให้ข้อมูลหรือไม่ หรือเอกสารบางส่วนที่ยังมาไม่ครบ แต่คิดว่าไม่นานเท่าไหร่ เพราะใช้เวลามานานพอสมควรแล้ว เพียงแต่จะตอบไม่ได้ว่าจะนานเป็นเดือน สองเดือน ซึ่งถ้าไปเร่งมากเกรงจะทำให้สำนวนไม่เรียบร้อย แต่ได้สั่งการเร่งรัดไปแล้ว”

ล่าสุด พันตำรวจโท กรวัชร์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับ TOP NEWS ว่า ได้ลงนามเห็นชอบตามที่คณะทำงานพิจาณาสำนวนคดี ในการส่งเรื่องต่อให้ ณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาความผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำฟ้องของ นายศรีสุวรรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากคณะทำงาน เห็นว่าเป็นเหตุกรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม เป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงส่งเรื่องต่อให้ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน สอบสวน ต่อไป

ขณะที่ นายศรีสุวรรณ กล่าวกับ TOP NEWS ว่า จริง ๆ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐ ซึ่งองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรง คือ ป.ป.ช. แต่การที่ตนตัดสินใจไปร้องดีเอสไอ เนื่องจากว่าเป็นกรณีที่มีความสลับซับซ้อนของเนื้อหาแห่งคดี แต่เมื่อดีเอสไอ รวบรวมพยานหลักฐานแล้ว มีมติเห็นว่ากรณีดังกล่าวน่าจะอยู่ในขอบเขตอำนาจของป.ป.ช. ตนก็ไม่ติดใจ เพราะ ป.ป.ช. ก็เป็นหน่วยอิสระที่มีขอบเขต อำนาจ ทำหน้าที่โดยตรง

แต่ประเด็นสำคัญเมื่อเรื่องไปถึง ป.ป.ช. แล้วอยากให้ได้ดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของสาธารณชนและประโยชน์ของประเทศชาติ อันเนื่องมาจากวิธีการที่อาจจะส่อไปในทางที่ตุกติก ในเรื่องของการใช้ดุลพินิจหรือการใช้อำนาจ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ

“อยากจะฝากไปถึง คณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 และผู้บริหาร รฟม. ผมคิดว่าในยุคสมัย หรือในยุค พ.ศ.นี้ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร เป็นยุคของการติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของประชาชนอย่างเข้มงวด รฟม.เองก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ รวมทั้งคณะกรรมการตามมาตรา 36 เองก็ประกอบด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานรัฐทั้งสิ้น ดังนั้นการใช้อำนาจ การใช้ดุลพินิจใด ก็แล้วแต่ต้องยึดถือผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของประชาชน เป็นหลัก อย่าไปยึดถือผลประโยชน์ของนักการเมือง หรือ พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นการเฉพาะ มิฉะนั้นท่านทั้งหลายเหล่านี้อาจจะต้องถูกฟ้องร้องเป็นคดี หรือถูกหน่วยงานอิสระอย่าง ป.ป.ช. วินิจฉัย หากการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายหรือเป็นผลเสียต่อตัวเอง”

นอกจากนี้ นายศรีสุวรรณ ยังฝากไปถึงผู้บริหารรฟม.ว่า ในอนาคตอันใกล้ ไม่อยากให้คณะกรรมการ หรือ องค์กร รฟม. เดินตามก้นนักการเมืองมากเกินไป ควรจะมีอิสระในการรีบเร่ง ตัดสินใจในเรื่องของการอนุมัติหรือเปิดซอง หรือ กรณีทีโออาร์ ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ก็ควรกลับไปใช้แนวทางเดิมที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งสาธารณชนได้รับรู้ร่วมกันแล้วว่าทำให้โครงการนี้ไม่ล่าช้าออกไป

ขณะที่ในส่วนของรัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ. ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องที่รับรู้ของสาธารณชนค่อนข้างกว้างขวาง ท่านนายกฯไม่ควรปล่อยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี เจ้ากระทรวงทำงานไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเกิดความเสียหายเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อท่านนายกฯ , ครม. และประเทศชาติ ซึ่งนายกฯต้องลงมาดู ไม่ใช่ล้วงลูกแต่ต้องลงมาดูอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้รัฐมนตรีหรือนักการเมืองเข้าไปดำเนินการจนก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติในเรื่องดังกล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น