ศึก 2 ขั้วอำนาจเดิมพันจิตวิญญาณปชป.

ศึกจิตวิตญาณประชาธิปัตย์ ปะทะเดือด แลกเลือดระหว่างกลุ่ม 3 อดีตหัวหน้าพรรคกับ 1 รักษาการหัวหน้าพรรคห่ำหั่น กลุ่ม “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” ที่คุมอำนาจ 19 สส.ในมืออย่างเบ็ดเสร็จ ชี้ต่างฝ่ายงัดไม้เด็ดสู่ทุกวีธี แม้ทางออกเดียวคือการเจรเจา พร้อมย้อนอดีต “ชวน หลีกภัย” ไม่เคยพ่ายแพ้ศึกภายในพรรคประชาธิปัตย์

การต่อสู้ในพรรคประชาธิปัตย์เข้มข้นดุเดือดถึงขนาดผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ระหว่างสองกลุ่มผู้มีอำนาจตัวจริงในประชาธิปัตย์ ประกอบไปด้วยกลุ่มของอดีต 3 หัวหน้าพรรค และ 1 รักษาการหัวหน้าพรรคที่ประกอบไปด้วย นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์

 

 

 

ขณะนี้อีกกลุ่มถือว่าไม่ธรรมดา เพราะว่ากันว่า ขณะนี้สามารถกุมอำนาจภายในพรรคประชาธิปุตย์แทบจะเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะสามารถสั่งการให้ 19 สส. รับคำสั่งใซ้ซ้ายหัน ขวาหันได้อย่างเชื่องมือ นั่นคือกลุ่ม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาเลขาธิการพรรค โดยมีมือซ้ายมือขวาอย่างนายเดชอิศว์ ขาวทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรค และนายชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช

 

 

การต่อสู้ของ 2 กลุ่มอำนาจในประชาธิปัตย์ เป็นการต่อสู้เพื่อจิตวิญาณแท้จริงของประชาธิปัตย์ว่า จากนี้ไปพรรคจะเดินสู่ทิศทางใด และที่สำคัญระหว่างกลุ่มอดีต 4 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนายเฉลิมชัย ใครกันแน่คือจิตวิญาณแท้จริงของประชาธิปัตย์ที่ยึดมั่นใจหลักการมากว่าผลประโยชน์ตลอดมา

 

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า การต่อสู้ระหว่างกลุ่มของนายชวน และนายเฉลิมชัยปะทุดุเดือดขึ้นมานานแล้ว แต่ไม่มีครั้งไหนที่จะรุนแรงเท่าการประชุมเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลการประชุมล่มอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบตามจำนวน 250 คนส่งผลให้นายเฉลิมชัย ตั้งโต๊ะแถลงข่าวด่ากราดว่า เป็นการกระทำที่เลวทรามอย่างที่ไม่มีเคยมีมาก่อน ตามด้วยการโชว์พลังด้วยการนำ 21 สส.เขตประชาธิปัตย์ร่วมแถลงข่าว

 

ขณะที่กลุ่มของนายชวน นายบัญญัติ และนายจุรินทร์ ออกมาตอบโต้ด้วยการยืนยันในหลักการว่า กรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการยังมีอำนาจในการบริหารจัดการพรรคประชาธิปัตย์อย่างเบ็ดเสร็จ และขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะไม่จับมือกับพรรคเพื่อไทย เพราะหลายสิบปีได้ต่อสู้กับระบอบทักษิณมาอย่างยาวนาน และตอนนี้เชื่อว่า ระบอบทักษิณยังคงอยู่ต่อไป

 

แต่ดูเหมือนว่าการประกาศเจตนารมย์ดังกล่าวของกลุ่มอดีต 3 หวหน้าพรรค และ 1 รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ในประชาธิปัตย์อาทิ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายเกียรติ สิทธิอมร นายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายสาธิต ปิตุเตชะ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ฯลฯ กำลังถูกมองข้ามในสายตาของก๊วนนายเฉลิมชัย และ 19 สส.สายเลือดใหม่

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีกระแสข่าววงในพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ก่อนการประชุมในวันที่ 9 กรกฎาคม และวันที่ 6 สิงหาคม กลุ่มของนายเฉลิมชัย พยายามจะรวบอำนาจภายในพรรคประชาธิปัตย์ให้เบ็ดเสร็จ เพื่อให้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเป็นไปตามทิศทางที่ควบคุมได้ โดยมีความพยายามดึง สส.และสมาชิกพรรคในกลุ่มภาคเหนือที่เคยอยู่ข้างนายชวนมาเป็นพวก และสามารถกระทำได้สำร็จ โดยเชิดให้นายนราพัฒน์ แก้วทอง รักษาการณ์รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บุตรชายของ นายไพฑูรย์ แก้วทอง มาเป็นแคนดิเดตในการช่วงชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับนายอภิสิทธิ์อย่างเต็มตัว

 

ขณะที่กลุ่มของนายชวน รู้ถึงแผนการดังกล่าว จึงแก้เกมด้วยการขอยกเว้นข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ที่กำหนดสัดส่วนของ สส.กับสมาชิกพรรคไว้ถึง 70 ต่อ 30 เนื่องจากเห็นว่า ไม่เป็นธรรมที่จะให้ สส.เพียง 25 สามารถกำหนดทิศทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด แต่ปรากฎว่า การขอยกเว้นข้อบังคับดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกลุ่มของนายเฉลิมชัย ขอฉันทามติโดยใช้เสียงโหวตจากสมาชิกพรรคภายในที่ประชุม ซึ่งผลปรากฏว่ามีสส.และสมาชิกพรรคในฟากของนายเฉลิมชัยโหวตให้ใช้ข้อบังคับพรรคดังกล่าวต่อไป ทำให้กลุ่มนายชวนต้องแก้เกมด้วยการให้สมาชิกในฝั่งของตนไม่เข้าร่วมประชุม ส่งผลให้ผู้เข้าประชุมมี ไม่ถึง 250 คนตามกฎข้อบังคับพรรค จึงทำให้การประชุมล่มถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกคือวันที่ 9 กรกฎาคม ส่วนครั้งที่สองคือวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตามสำหรับสัดส่วนการลือกหัวหน้าพรรค ปชป. คะแนนเสียง ส.ส. 70% องค์ประชุมอื่น 30% นั้น นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กอธิบายระเอียดความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยชี้ให้เห็นถึงความไม่เหมะสมกับข้อบังคับดังกล่าวว่า การกำหนดคะแนนเสียงเลือกตั้งของ ส.ส. ให้มีสัดส่วน 70% และขององค์ประชุมอื่น 30% หากใช้ในกรณีที่พรรค ปชป. มี ส.ส. จำนวนมากเหมือนในอดีต ความแตกต่างของคะแนนระหว่าง ส.ส. กับองค์ประชุมอื่นจะมีไม่มาก แต่กรณีที่พรรค ปชป. มี ส.ส. น้อยลงดังเช่นในปัจจุบัน ความแตกต่างของคะแนนจะเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญสมมติว่าในอนาคตพรรค ปชป. มี ส.ส. น้อยลงกว่านี้ เช่นมีเพียง 10 คน เท่านั้น โดยส.ส. 1 คน จะมีคะแนน 7% (70%/10)

 

 

 

 

ดังนั้นหาก ส.ส. จำนวน 8 คน หนุนใครให้เป็นหัวหน้าพรรค ปชป. คนนั้นก็จะได้เป็นทันที (8 คูณด้วย 7% = 56%) ไม่ต้องอาศัยเสียงจาก ส.ส. ที่เหลือ และองค์ประชุมอื่นเลย ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่ดีจะต้องเป็นหลักเกณฑ์ที่สามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะมีจำนวน ส.ส. มากหรือน้อยก็ตาม

นอกจากนี้กลุ่มของนายชวนยังเดินเกมด้วยการให้กลุ่มตัวแทนสาขา และเขตเลือกตั้งประชาธิปัตย์อีสาน ออกแถลงการณ์ถึงนายจุรินทร์ยืนยันเจตารมย์ว่าขอให้พรรคทำหน้าที่ฝ่ายค้านพร้อมการปฎิรูปพรรคเพื่อเป็นหลักที่มีความมั่นคงในอุดมการณ์ และจุดยืน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน มากกว่าตำแหน่งรัฐมนตรีในฝ่ายบริหาร โดยย้ำว่าไม่ขอร่วมงานกับเพื่อไทย เพราะจะทำให้ประชาธิปัตย์ตกต่ำ

 

ทั้งนี้สำหรับทางออกในเรื่องปัญหาภายในของพรรคประชาธิปัตย์ นั้นหนทางที่ดีที่สุด คือ ทุกฝ่ายต้องมาเจรจากัน ซึ่งก่อนหน้านี้นายนิพนธ์ บุญญามณี เคยแสดงความคิดเห็นว่า ปัญหาของประชาธิปัตย์ต้องจบด้วยการเจรจาเท่านั้น เพราะหากไม่ใช้วิธีนี้พรรคอาจจะแตกแยกมากกว่านี้ และที่ผ่านมา เราพร้อมเจรจา แต่ไม่เคยได้รับการติดต่อจากฟากของนายเฉลิมชัย แต่อย่างใด

แม้ทางออกของปัญหาจะอยู่ที่การเจรจา แต่เชื่อว่า กลุ่มของนายเฉลิมชัย จะไม่ตอบรับข้อเสนอแนะดังกล่าวแน่นอน เพราะที่ผ่านก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวดีลฮ่องกงที่นายเฉลิมชัย ส่งนายเดชอิศว์ ไปพูดคุยกับนายทักษิณ ชินวัตร เพื่อนำ .19 สส.ที่อยู่ในมือเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งหากเป็นไปตามนี้เชื่อว่า การต่อสู้ของสองกลุ่มอำนาจในประชาธิปัตย์คงไม่มีทางจบด้วยการเจรจาอย่างแน่นอน

 

แม้การต่อสู้ในพรรคประชาธิปัตย์ยังดำเนินต่อไป และยังไม่รู้ว่าจะลงเอยแบบใด แต่ในอดีตที่ผ่านมา ใครที่เคยชักธงรบกับนายชวน ผลปรากฎว่าต้องพ่ายแพ้ไปทุกครั้ง เช่นในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนกับ นายชวน เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกัน และพ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นถือเป็นการต่อสู้ระหว่างนายชวน และนายอุทัย ครั้งแรก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นบทบาทของนายชวน และนายอุทัยในประชาธิปัตย์ถือเป็นบุคคลสำคัญมาตลอด แต่ต่อมาไม่นาน นายอุทัยได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2526 ไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองทั้งพรรคก้าวหน้า และพรรคเอกภาพ

 

ต่อมาการต่อสู้ของนายชวน กับนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรค และนายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคผู้นำกลุ่ม “10 มกรา” ที่เป็นกลุ่มการเมืองที่ก่อตัวขึ้นภายในพรรคประชาธิปัตย์ และมีส่วนสำคัญทำให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นต้องประกาศยุบสภา

 

ที่มาของชื่อกลุ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2530 โรงแรมเอเชีย ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค ซึ่งกลุ่มของนายวีระได้เสนอชื่อ นายเฉลิมพันธ์ ส่วนกลุ่มของนายชวน เสนอชื่อนายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ส่วนตัวนายวีระ ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคกับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ปรากฏว่าทั้งนายเฉลิมพันธ์และนายวีระ พ่ายแพ้ต่อนายพิชัย และ พล.ต.สนั่น ซึ่งความบาดหมางดังกล่าวทำให้ทั้งคู่ลาออกจากประชาธิปัตย์ พร้อมกลุ่ม 10 มกรา ประมาณ 40 คน ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับกลุ่มวาดะห์ มาจัดตั้งพรรคประชาชน

 

จากนั้นเป็นการการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ คือ “กลุ่มเพื่อนหมอวรงค์” ที่ตอนนั้นสนับสนุนให้ นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก ปชป.เป็นหัวหน้าพรรค แข่งขันกับนายอภิสิทธิ์ ที่มีนายชวนให้การสนับสนุน โดยตอนนั้นกลุ่มเพื่อนหมอวรงค์สร้างเครือข่ายภายในพรรคและชูนโยบายปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี ส.ส.พรรค และอดีต สส.หลายคนให้การสนับสนุน อาทิา ยศุภชัย ศรีหล้า นายสมบัติ ยะสินธุ์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายเจือ ราชสีห์ นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ฯลฯ

 

อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งในวันทที่ 11 พ.ย. 61 นายแพทย์วรงค์พ่ายการเลือกตั้ง โดยนายอภิสิทธิ์ ได้ 67,505 คะแนน ส่วนนายแพทย์วรงค์ ได้ 57,689 คะแนน ซึ่งภายหลังการเลือกตั้งนายแพทยวรงค์ เคยกล่าวหานายชวนมรทำนองว่า นำคนนอกเข้ามาแทรกแซงการหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงทำให้พ่ายแพ้ ซึ่งหลังจากนั้นต่อมานายแพทย์วรงค์ได้ลาออกจากประชาธิปัตย์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

 

แม้ที่ผ่านมาสงครามประชาธิปัตย์จะจบด้วยชัยชนะของนายชวน แต่ศึกครั้งนี้ถือว่าสาหัสพอสมควร และยังเป็นศึกเดิมพันพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะกลับมายิ่งใหญ่หรือตกต่ำจนไปถึงการสิ้นสลาย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าจิตวิญญาณของนายชวนที่มีภาพความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือหลักการที่ถูกต้องเหนือสิ่งอื่นใดนั้น อาจเปรียบได้กับจิตวิญาณของพรรคประชาธิปัตย์ที่สืบทอดมาถึง 76 ปี โดยถ่ายทอดผ่านดีเอ็นเอสู่รุ่นต่อรุ่น จึงทำให้ที่ผ่านมานายชวนถือเป็นเสาหลักที่ค้ำจุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างแท้จริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น