ไขข้อสงสัย "เซอร์วิสชาร์จ" 10% ไม่จ่ายได้ไหม ถ้าไม่จ่ายผิดกฎหมายหรือไม่ เช็คคำตอบได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“เซอร์วิสชาร์จ” คืออะไร?
- คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการร้านค้า คิดเงินเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ ต้องไม่เกิน 10%
- เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน
- ถ้าผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้า ในลักษณะทำให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไลการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง
- โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้นั้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากไม่อยากจ่ายเซอร์วิส ชาร์จได้ไหม ผิดกฎหมายหรือเปล่า
- แม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้พูดถึงเรื่องเซอร์วิส ชาร์จโดยตรง แต่ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายใน
- ต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ที่ระบุว่า
ราคาสินค้าและบริการ ต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย
ทั้งนี้ ข้อความต้องเป็นภาษาไทย ในลักษณะที่เห็นชัดเจน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย เพื่อจะแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ถ้าไม่แสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะ ร้านไม่ได้แสดงไว้
อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นร้านค้า/ร้านอาหารที่เก็บ “เซอร์วิส ชาร์จ” เกิน 10% หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือไม่มีการชี้แจงที่สมเหตุสมผล รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือ สายด่วนสคบ.1166
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และกรมการค้าภายใน
OfficeMate : B2B Pure Horeca
ข่าวที่เกี่ยวข้อง