"โรคซึมเศร้า" กับ 6 พฤติกรรมสัญญาณเตือนพบบ่อย แต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
ข่าวที่น่าสนใจ
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า พฤติกรรมของผู้ป่วยซึมเศร้าที่พบได้บ่อยแต่อาจไม่ได้แจ้งจิตแพทย์ เพราะ ไม่รู้ตัวว่านั้นคือพฤติกรรมผิดปกติ คือ ดู Youtube Tiktok หรือ คลิปอะไรสั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานาน ๆ แม้ว่าอาจจะมองว่าเป็นพฤติกรรมปกติที่คนทั่วไปในสมัยนี้นิยมทำกัน แต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละคนขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่ได้รับจากการกระทำนั้นๆ
- ผู้ป่วยซึมเศร้า มีความเป็นไปได้ที่จะดูคลิปสั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ เพราะ รู้สึกขุ่นมัวในใจ ไม่ได้มีความสุขอะไรจากคลิปเหล่านั้น ดูเพื่อหาอะไรทำไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ไม่สามารถดูอะไรยาว ๆ เช่น คลิปที่ยาว ๆ เป็นชั่วโมง หรือไม่สามารถดูหนังหรือซีรีส์ยาว ๆ รวมถึงอ่านหนังสือจบเป็นเล่ม ๆ ได้
- หากพยายามจะดูอะไรยาว ๆ จะกดข้ามไปเรื่อย ๆ เพราะ ไม่มีสมาธิมากเพียงพอ
- ขณะที่ดูคลิปเหล่านั้นก็ไม่ได้รับความเพลิดเพลินอะไรมากนัก แค่หากิจกรรมทำเพื่อฆ่าเวลา เพื่อให้ตัวเองหลุดออกมาจากความคิดที่งุ่นง่านในใจ ไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมต่อคลิปที่ดู
- แม้จะเป็นคลิปสั้น ๆ แต่ก็นั่งดูไปเรื่อย ๆ จนนอนดึก ดูทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รู้สึกสนุกอะไร ดูให้เวลามันผ่านไป ต่างจากคนทั่วไปที่การดูคลิป ดูหนัง ซีรีส์ หรืออ่านหนังสือติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เพราะ สนุกจนหยุดไม่ได้
นอกจากนี้ ในบางราย อาจไม่ได้มีพฤติกรรมดูคลิปสั้น ๆ แต่เป็นการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น
- เล่นซูโดกุ เล่นวันละหลายชั่วโมงไปเรื่อย ๆ เหมือนจะฝึกสมอง แต่จริง ๆ แล้วเหตุผลที่เล่นและความรู้สึกที่เล่นไม่ได้อินกับเกมอะไรมากขนาดนั้น เล่นเพียงเพื่อฆ่าเวลาเท่านั้น
ซึ่งคีย์หลักของพฤติกรรมที่กล่าวตามข้างต้น คือ การมีพฤติกรรมชอบทำอะไรสั้น ๆ ซ้ำ ๆ เหมือนจะหากิจกรรมทำเพื่อความบันเทิงเป็นเวลานานหลายนาที หลายชั่วโมง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้รู้สึกได้รับความบันเทิงจากสิ่งที่ดู สิ่งที่อ่าน หรือสิ่งที่กำลังทำอยู่เลย
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยซึมเศร้าบางราย ตอนทำงานดูเหมือนเป็นคนปกติ แต่ตอนอยู่บ้านกลับเหม่อลอย นั่งมองเพดานให้เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เพราะ หมดพลังงานไปกับการพยายามทำตัวให้ดูเป็นคนปกติในที่ทำงาน
- หมดความสนใจที่จะดูแลตัวเอง
- ไม่แต่งหน้า ไม่ทาครีม
- ไม่เลือกเสื้อผ้าดี ๆ อย่างตั้งใจ แม้กระทั่งไม่ค่อยอาบน้ำสระผม
6 พฤติกรรม “โรคซึมเศร้า” พบบ่อย แต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว
- พยายามทำตัวให้คนอื่นมีความสุขอย่างเห็นได้ชัด เพราะตัวเองไม่รู้สึกถึงความสุข จิตใจด้านชาไปหมดแล้ว
- เปิดทีวีข้างไว้ทั้งคืน เพื่อปลดปล่อยพลังงานลบในหัวตัวเองออกไปเรื่อยๆ
- โพสต์ข้อความลงในโซเชียล หรือส่งข้อความหาเพื่อนว่าตัวเองยังไม่เป็นไร ยังสบายดี เมื่อกำลังดูหรือฟังเรื่องที่หดหู่ใจ
- ละเลยในการดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น ไม่ค่อยอาบน้ำสระผม
- ฝึกยิ้มหน้ากระจกก่อนออกไปเจอผู้คน
- ใช้พลังงานไปมากจากการพยายามทำตัวร่าเริงเหมือนเป็นคนปกติในที่ทำงาน แต่เมื่อกลับบ้านก็หมดแรงนอนฟุบนอนนิ่งไม่อยากทำอะไรต่อ
แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การวินิจฉัย แต่พบบ่อยในชีวิตประจำวันของคนไข้โรค ซึมเศร้าที่จิตแพทย์มักเจอ แต่ไม่ได้หมายความว่า พฤติกรรมแบบนี้จะต้องเกิดจากโรค ซึมเศร้าเสมอไปเช่นกัน การวินิจฉัยที่แน่นอน จำเป็นต้องพบจิตแพทย์เพื่อซักประวัติเพิ่มเติม และตรวจสภาพจิต (mental status examination) เท่านั้น
ข้อมูล : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
Noc Noc : Electrolux Brand Day
ลดสูงสุด 50% + คูปองลด 2 ต่อ รวมสูงสุด 30% + ส่วนลดร้านค้าเพิ่ม 1000- : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง