รอเลย “รถไฟทางคู่” ทยอยเปิดเพิ่ม “เหนือ-อีสาน-ใต้” ปีนี้ หวังสานต่อ เพิ่มเส้นทางครอบคลุม 50 จังหวัด ตามแผนภายในปี 2572

รอเลย “รถไฟทางคู่” ทยอยเปิดเพิ่ม “เหนือ-อีสาน-ใต้” ปีนี้ หวังสานต่อ เพิ่มเส้นทางครอบคลุม 50 จังหวัด ตามแผนภายในปี 2572

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่ได้เริ่มดำเนินการในสมัยรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยจะทยอยเปิดให้บริการในเดือนกันยายน เป็นต้นไป และเมื่อเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์ในหลากหลายพื้นที่ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งยังจะเป็นการยกระดับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็ว และแก้ปัญหาการจราจรที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น

รัชดา ธนาดิเรก กับเรื่องผู้หญิงในประชาธิปัตย์  ส.ส.สตรีทุกคนในพรรคต้องมูฟออน/รายงานพิเศษ - มติชนสุดสัปดาห์

โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ได้แก่ 1. เส้นทางสายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กิโลเมตร 2. เส้นทางสู่ตะวันออกเฉียงเหนือฝช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และ 3. เส้นทางสายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร (ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 และคาดว่าสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2566-2567

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยรถไฟทางคู่ สายเหนือมีความคืบหน้า ประมาณ 80% เส้นทางสายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (สระบุรี-นครราชสีมา) ได้เปิดใช้งานสถานีใหม่ 7 แห่งแล้ว และมีแผนจะเปิดเดินรถทางคู่ ช่วงบันไดม้า-คลองขนานจิตร ประมาณกันยายน 2566 ในขณะที่เส้นทางสายใต้ ช่วงเขาเต่า-ประจวบคีรีขันธ์ ก็ได้เปิดใช้ทางคู่แล้วเช่นกัน โดยมีแผนเตรียมจะทยอยเปิดให้บริการช่วงบางสะพานน้อย (ประจวบฯ)-ชุมพร ภายในปลายปี 2566 นี้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ 2 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งขณะนี้มีแผนก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินการ 4 สัญญา

ซึ่งหากเส้นทางรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทางแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะครอบลุมระยะทาง 700 กิโลเมตร คาดว่าจะช่วยเพิ่มความจุของเส้นทาง รองรับขบวนรถได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ เพิ่มความเร็วในการเดินรถ และลดเวลาในการเดินทางลงเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ชั่วโมงจากปัจจุบัน มากไปกว่านั้น รัฐบาลได้มีแผนการดำเนินการรถไฟทางคู่ระยะสองไว้แล้ว ซึ่งหากได้รับการขับเคลื่อนต่อจะขยายเส้นทางรถไฟทางคู่ครอบคลุมกว่า 50 จังหวัด มีเส้นทางรวมกันมากกว่า 3,000 กิโลเมตร ภายในปี 2572 ทำให้สามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว สามารถทำความเร็วในการขนส่งสินค้าได้จากเดิม 29 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และทำความเร็วในการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มจากเดิม 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

“พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างมาก ดังเห็นได้จากผลงานที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ท่าเรือ สนามบิน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ การเดินทางและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ภาค และระหว่างประเทศ ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นางสาวรัชดาฯ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น