เช็ค 9 พฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยง "สมองเสื่อม" สมองตาย จากพฤติกรรมยอดยอดฮิตที่หลายคนทำประจำโดยทำไม่รู้ตัว
ข่าวที่น่าสนใจ
ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง บุญเปลื้อง อาจารย์สาขากิจกรรมบำบัดจิตสังคม คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เผย 9 พฤติกรรมอันตราย “สมองเสื่อม” สมองตาย จากการทำหลายอย่างพร้อมกัน รู้ก่อนป้องกันได้ก่อนสาย
9 พฤติกรรมอันตราย “สมองเสื่อม” สมองตาย จากการทำหลายอย่างพร้อมกัน
1. กินข้าวผิดเวลา กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
- ตามปกติแล้วสมองเราจะตื่นตัว และต้องการพลังงานตั้งแต่ ตี 5 – 9 โมงเช้า ในช่วงเวลาดังกล่าวสมองจึงต้องการอาหารที่มีน้ำตาลน้อยๆ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารประเภทนี้จะทำให้สมองมีพลังงานและตื่นตัว
- ไม่ควรกินอาหารพวกแป้ง ของทอด น้ำอัดลม อาหารรสเค็ม เพราะสมองยังไม่ต้องการนำมาใช้งานในช่วงเช้า
- เมื่อสมองถูกใช้งานในช่วง 7 – 9 โมงเช้า เมื่อเริ่มเข้า 10 โมง สมองจะอยากพักผ่อน ทำอะไรที่มันเบา ๆ ดังนั้นช่วง 10 โมงเป็นต้นไป สมองจึงไม่ต้องการพลังงานจากน้ำตาล หากเรารับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไปโดยที่ไม่ถูกนำมาใช้งาน จะเกิดการสะสมในสมอง
- ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบ
- เริ่มง่วงทั้งที่ไม่ควรง่วง
- จำอะไรไม่ค่อยได้
- เสี่ยงต่อสมองทำงานผิดปกติ
ดังนั้น วิธีกินอาหารให้เหมาะสมตามนาฬิกาชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อสมอง ก็ต้องกินมื้อเช้าในช่วง 7-9 โมงเช้า เเละเน้นไปที่อาหารจำพวกไฟเบอร์และน้ำตาลต่ำ เช่น
- ข้าวซ้อมมือ
- ผัก
- ผลไม้
ถัดมาในช่วงบ่ายสามารถเติมพลังให้สมองได้ด้วยอาหารโปรตีนสูง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน แต่ทั้งนี้ไม่ควรกินโปรตีนเกิน 2 ทุ่ม เพราะเวลานั้นสมองจะเริ่มหลั่งสารเมลาโทนิน (ฮอร์โมนแห่งการพักผ่อน) หากกินมื้อหนัก ๆ ในช่วงนั้น สารเมลาโทนินจะไม่หลั่ง ทำให้นอนไม่หลับ
2. มีพฤติกรรมเนือยนิ่งนานเกิน 30 นาที
- หากเราอยู่นิ่ง ๆ โดยไม่ขยับร่างกายเลยเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 30 นาที ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่าพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- คือ อาการที่เกิดจากหัวใจของเรารู้สึกเหนื่อย เพราะ ขาดการขยับร่างกาย ทำให้ปอดไม่ได้รับออกซิเจน
- นอกจากจะส่งผลเสียในระยะยาวต่อหัวใจและหลอดเลือด แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสมองอีกด้วย
วิธีการแก้ไขง่าย ๆ คือ การขยับร่างกาย เพื่อเปลี่ยนท่าทาง ขยับร่างกาย บิดขี้เกียจ หรือลุกขึ้นยืน อย่างน้อยเปลี่ยนอิริยาบถ สัก 2 นาที ก็เพียงพอที่จะช่วยให้สมองของเราก็ตื่นตัวเเล้ว เเละการขยับร่างกายบ่อย ๆ สมองจะจำได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นขนาดที่ว่าตั้งมานั่งจับเวลา 30 นาทีเลย
3. สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และคาเฟอีนมากเกินไป
- ทั้งบุหรี่ แอลกอฮอลล์ และคาเฟอีน เป็นสิ่งอันตรายที่ทำร้ายสมองมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสมองโดยตรง
- ทำให้เกิดอาการสมองมึน คือ การที่แอลกอฮอลล์เข้าไปแทนที่ของเหลวอื่น ๆ และจะเริ่มแย่งออกซิเจน แย่งน้ำในสมอง ทำให้สมองเกิดอาการมึนงง ตาพร่ามัว เดินเซ เเละเริ่มรู้สึกหงุดหงิด โมโห ก้าวร้าว
- ในที่สุดก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ เเละยิ่งไปกว่านั้นแอลกอฮอลล์มีส่วนทำให้เซลล์สมองตายได้ด้วย หากเราดื่มมากกว่า 2 แก้ว ใน 1 ชั่วโมง
ขณะที่การสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสมองได้มากกว่าแอลกอฮอลล์เสียอีก เพราะ นิโคตินและคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในควันบุหรี่ จะไปกีดกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ออกซิเจนก็จะลดลง ทำให้สมองสามารถขาดเลือด อาจรุนแรงถึงขั้นสมองเป็นอัมพาตได้
ส่วนคาเฟอีน (ชา กาแฟ) หากดื่มมาก ๆ เสี่ยงทำให้สมองอักเสบได้มากขึ้น เพราะ มีผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดน้อยลง ทำให้สมองเหนื่อยล้าและหมดแรงในที่สุด
4. ใช้คอมพิวเตอร์โดยใส่หูฟังเป็นระยะเวลานาน
รู้หรือไม่ว่า สมองของเราชอบการฟังมากกว่าการมอง เมื่อเราใส่หูฟัง สมองของเราจะชอบมากเป็นพิเศษ และจะส่งผลให้สมองของเราใช้งานหนักเกินไป
- วิธีการเเก้ง่าย ๆ ก็คือ การถอดหูฟังออก เมื่อเราถอดหูฟังออก ตาก็จะเบิกกว้าง เป็นประกาย มองอะไรก็คิด และสมองจะจดจำได้แม่นยำมากขึ้น
- แต่ถ้าหากใส่หูฟังนาน ๆ ขณะทำงานหน้าจอคอม เราก็จะโฟกัสกับเสียงเป็นหลัก และยังต้องแบ่งมาโฟกัสกับการพูดคุยหรือการทำงานอื่น ๆ ด้วย ก็จะยิ่งทำให้สมองทำงานหนักขึ้น
5. แปรงฟันให้สะอาด
การใช้ไหมขัดฟัน สามารถช่วยกำจัดแบคทีเรียในเหงือกและฟันได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำจัดได้ลึกถึงร่องเหงือกและรากฟัน
- แต่หากเราทำความสะอาดเหงือกและฟันไม่ดีพอ จะทำให้แบคทีเรียสะสม หากสะสมมาก ๆ เข้า ก็มีผลทำให้เส้นประสาทในโพรงสมองติดเชื้อและอักเสบได้
- แต่ถ้าหากทำความสะอาดช่องปากได้ดี มีแบคทีเรียน้อยลง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของเส้นประสาทและโพรงสมอง
- เมื่อโพรงสมองไม่อักเสบ ไม่ติดเชื้อ สุขภาพสมองก็จะดีขึ้นตามมา เพราะ เป็นการลดอาการอักเสบในช่องปาก เเละโพรงสมองของเรานั่นเอง
6. มีความคิดลบ ส่งผลให้นอนไม่หลับ
- อาการของคนคิดลบ คือ การคิดเข้าข้างตัวเอง บิดเบียนจากความเป็นจริง เเละมักจะมีบุคลิกภาพ เช่น
- ชอบตำหนิ
- ชอบสั่งการ
- ชอบเก็บมาคิดน้อยใจ
- ทำให้เรานอนไม่หลับ
- โดยปกติสมองของคนเราจะไม่ชอบคิดกังวลไปนาน เพราะ จะทำให้สมองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สังเกตจากอาการขี้หลงขี้ลืม เป็นต้น
7. การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multi-tasking)
- จริง ๆ แล้วคนเราสามารถทำได้ 20 อย่างพร้อมกัน เเต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถทำได้ขนาดนั้น
- เพราะสมองจะเกิดอาการเหนื่อยล้า
- ดังนั้น การทำเเค่ 2 อย่างก็ถือว่าเต็มที่เเล้ว เปลี่ยนเป็นการโฟกัสทีละอย่าง จะทำให้เราทำงานได้เร็วกว่าเดิมด้วย
8. เก็บตัว ไม่เข้าสังคม
- คนที่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม การปลีกตัวไปอยู่คนเดียว ในทางการแพทย์แล้วจะทำได้เเค่ใน 20 นาทีเเรกเท่านั้น
- เเต่หลังจาก 20 นาทีไปแล้ว ความคิดลบจะเริ่มก่อตัวขึ้นและเข้ามาแทรกเเซงความคิดของเรา นำไปสู่ความเครียด อาการล้าของสมอง
- เเละอาจนำไปสู่อาการ “สมองเสื่อม” ตามมาได้ในที่สุด และหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการสมองตายได้เช่นกัน
9. อาการเสพติดความเครียด
อาการเสพติดความเครียด คือ การที่สมองจะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ได้พัก เช่น
- การออกกำลังกายที่มากเกินไป จะทำให้ร่างกายเราเสพติด เเละส่งผลให้สมองเราตื่นตัวอยู่เสมอ
- พฤติกรรมการทำงานในช่วงเดดไลน์ ไม่ว่าจะงานไหน ๆ ก็จะรอให้ถึงเดดไลน์ก่อนจึงค่อยทำ อาการเเบบนี้ ก็คือ การเสพติดความเครียดเช่นเดียวกัน
มีการศึกษาพบว่า การทำงานช่วงก่อนเดดไลน์บ่อย ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สมองตายได้ เพราะ เราต้องทำหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะนอน หรือต้องทำงานให้เสร็จทันเวลา ทำให้เกิดความคิดลบ ความเครียด เเละนำไปสู่การนอนน้อยในวันนั้น ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้
วิธีแก้ไขเบื้องต้นได้
- การงีบนอนสัก 15 นาที – 1 ชั่วโมง หลังเที่ยง ก็พอจะช่วยได้
- เเต่ทางที่ดีที่สุด คือ ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม เเละนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้สมองสดชื่นแจ่มใส หรือลองฝึกลมหายใจด้วยทฤษฎี 4×4
- นั่นคือ การวาดนิ้วเป็นรูปสี่เหลี่ยม พร้อมนับ 1-4 ทำทั้งหมด 4 รอบ จะทำให้เราจดจ่อไปที่การนับ ช่วยให้หายใจได้เต็มปอด เพื่อเพิ่มออกซิเจนในสมอง
- อีกทั้งช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลได้มากขึ้นด้วย
ข้อมูล : Mahidol Channel
OfficeMate : Health Wellness
ไอเทมเพื่อสุขภาพ, ลดสูงสุด 17% ซื้อ 1 แถม 1 + แถมฟรี* พรีเมียมอีกเพียบ : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง