มติศาลรธน.เอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมรัฐสภาห้าม เสนอชื่อ”พิธา” โหวตซ้ำ

มติศาลรธน.เอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมรัฐสภาห้าม เสนอชื่อ"พิธา" โหวตซ้ำ

จากกรณีที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณากรณีผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีรัฐสภามีมติตีความว่าการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่สอง เป็นญัตติทั่วไป ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนตาม รธน.มาตรา 3 วรรคสอง, มาตรา 5 วรรคหนึ่ง, มาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 27 หรือไม่

 

 

พร้อมกับมีคำขอให้ชะลอการโหวตนายกฯออกไปจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย โดยเป็นการพิจารณาต่อเนื่องมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ภายหลังเห็นว่าคำร้องนี้มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีประเด็นเชิงหลักการการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม จึงให้เลื่อนการพิจารณาสั่งรับคำร้อง และให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณานั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจากการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจรัฐ แต่บุคคลที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง สำหรับกระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอ และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เท่านั้น

 

ดังนั้น ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก่อตั้งขึ้นเป็นหลักการใหม่ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวด 3 เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อไว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อต่อรัฐสภา ผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้

 

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป

 

 

 

 

 

 

 


Global Deals ทุกวันพุธ!!

รับโค้ดส่วนลดเพื่อ 15%

คลิกเพื่อช้อปได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/qS40K

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วินาทีชีวิต แม่ช้างสวนนงนุชตกลูกช้างพัง ตัวที่ 3 ของปี ลำดับที่ 83 ของปาง
"ทรัมป์" อยู่ไม่ติด โดน "อิหร่าน" ขู่ใส่ ส่งฝูงบินรบเพิ่มบอมบ์ "อิหร่าน"
“ดีอี” โชว์ผลงานปิดกั้นโซเชียลมีเดีย เพจ-เว็บไซต์ URLs ผิดกฎหมาย 6 เดือนแรก ปีงบ 68 แล้วกว่า 100,00 รายการ
'หวางอี้' ส่งสารแสดงความเสียใจถึงไทยเหตุแผ่นดินไหว
‘ITD-CREC No.10’ แถลงฉบับ 2 ยันจัดซื้อวัสดุสร้าง ‘ตึกสตง.’ ถูกต้องตาม TOR หลักวิศวกรรม พร้อมร่วมมือสอบเหตุถล่ม
นายกฯจีนแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทยเหตุแผ่นดินไหว
พ่อลูกแรงงานรอดชีวิต ตึกสตง. 30 ชั้นถล่ม ญาติร่วมผูกแขนเรียกขวัญ เล่านาทีหนีตายหวุดหวิด
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'รถยนต์บินได้' จีนของเอ็กซ์เผิง ทดลองบินในหูหนาน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) สถานีรถไฟใต้ดินจีนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนจัดกิจกรรม 'สกีข้ามบ่อน้ำ' ส่งท้ายฤดูสกีที่ซินเจียง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น