“วันนอร์” แจงละเอียดยิบ แต่ละขั้นตอน โหวตนายกฯ 22 ส.ค.นี้ คาดใช้เวลาไม่เกิน 5 ชม.

"วันนอร์" เผย ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเห็นชอบ เปิดอภิปรายแคนดิเดตนายกฯ 5 ชม. ก่อนโหวตบ่ายสาม - แคนดิเดตนายกฯไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

 

18 ส.ค. 66 ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ฝ่าย ประกอบด้วย พรรคการเมืองขั้วแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างน้อย และวุฒิสภาโดยได้ข้อสรุป ว่า การอภิปรายในเรื่องผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 22 ส.ค.นั้น จะใช้เวลา ไม่เกิน 5 ชม. โดยแบ่งเป็น สว. 2 ชม. และสส. 3 ชม. ซึ่งจะมีการลงมติไม่เกินเวลา 15.00 น. คาดว่าในเวลา 17.30 น. จะเสร็จสิ้นการลงมติ เป็นข้อตกลงร่วมกัน

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนในเรื่องการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่ อย่างไร นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้รับแจ้งจากประธานฝ่ายกฎหมายของสภา ซึ่งนำเสนอว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ และข้อบังคับในการประชุมก็ไม่มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ ประกอบกับที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ในการร่างข้อบังคับของรัฐสภาเมื่อปี 2563 ได้มีการแสดงเจตนารมณ์ว่า ไม่ต้องให้มาแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งมีรายละเอียดการประชุมชัดเจน ในวันที่ 19 ก.ค. 63 โดยมีมติของที่ประชุมคือวันที่ 24 ก.ค. 63 ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งกมธ.เสียงข้างมาก เห็นตามข้อบังคับที่ 36 ว่า ผู้ที่ถูกเสนอชื่อไม่ต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ เพราะฉะนั้น จึงต้องปฎิบัติตามนี้ คือไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

สำหรับวาระของการประชุม วาระแรกคือการเสนอญัตติด่วนในการประชุมที่ยังไม่ถูกนำมาพิจารณา โดยมีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอให้มีการทบทวบมติของรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 กรณีเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีซ้ำ ถือเป็นญัตติหรือไม่นั้น ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยในการให้นายรังสิมันต์ ได้แสดงเจตนารมย์ของการเสนอ แต่ข้อบังคับที่ 151 ไม่สามารถจะนำมาทบทวนได้ เพราะหากมีการทบทวนจะเกิดปัญหาว่า เมื่อสภามีมติออกไปแล้วสามารถจะทบทวนได้ จะทำให้การเชื่อถือต่อการลงมติมีปัญหา ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า เมื่อมีการนำเสนอแล้ว ให้ประธานรัฐสภาใช้อำนาจตัดสิน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 80 ประกอบข้อบังคับที่ 5 และ 151 คือไม่รับว่าเป็นญัตติด่วน แต่สามารถนำมาเสนอได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อญัตติที่ลงไปแล้ว ซึ่งหากญัตติอื่นๆ มีการทบทวนก็จะเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาใหม่ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 66 นั้นก็ไม่ได้บอกให้ต้องทบทวน จึงดำเนินการตามนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ท็อปนิวส์เปิดครัวหน้าจอ! อร่อยหลังข่าวเที่ยง พฤษภาคมนี้ห้ามพลาด "สถานีข่าวท็อปนิวส์" จับมือ "นกเพนกวิน 3 ตัว" เสิร์ฟความอร่อยหลังข่าว เปิดช่วงใหม่ "ครัวหลังข่าว"
"รองฯแต้ม" ย้ำคดี "พีช" ติดคุกแน่ แจงถึงข้อหาพยายามฆ่าหรือไม่ ลั่นสนิท "บิ๊กต่าย" ไม่ช่วยรอดผิด
“ทรัมป์” โม้หนัก! เจรจาการค้าจีนทุกวัน อีกฝ่ายออกมาแหกยับ ลั่นอย่าพูดมั่ว
"กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า" ออกแถลงการณ์ วอนทุกภาคส่วน ร่วมยุติไฟใต้
"อดีตนักบินทัพฟ้า" ชี้สาเหตุเครื่องบินเล็ก สตช.เกิดอุบัติเหตุตกทะเล "หัวหิน"
"อดีตสว.สมชาย" นำทีมยื่นป.ป.ช.สอบผิดครม. "เศรษฐา-แพทองธาร" ผิดรธน.ตัดงบฯ 3.5 หมื่นล้าน ใช้แจกเงินหมื่น
ผบ.ตร. สดุดี "5 ตำรวจกล้า" บังคับเครื่องบิน ไม่ลงจอดชุมชน ยืนยันดูแลสิทธิประโยชน์เต็มที่ รุดเยี่ยม "ร.ต.อ.จตุรงค์" นักบินรอดชีวิต
ศธ. เตรียมประกาศ "ยกเลิกบังคับชุดลูกเสือ" ลดภาระผู้ปกครองก่อนเปิดเทอม
ปาฏิหาริย์มีจริง "โฆษกตร." อัปเดตด่วน "ร.ต.อ.จตุรงค์" นักบิน ยังคงมีสัญญาณชีพ แพทย์ดูแลใกล้ชิด
"ป.ป.ช."ชี้มูลผิด "ภูมิ สาระผล" อดีตรมช.พาณิชย์ ยื่นร้องยึดทรัพย์เกือบ 20 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น