รู้จักโรค "อีสุกอีใส" กับ 6 อาการบ่งชี้ และอาการแทรกซ้อนสำคัญที่ต้องรู้ โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้จักโรค “อีสุกอีใส”
- มักเป็นในเด็ก โดยมากพบในกลุ่มเด็กอายุ ระหว่าง 5-12 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กอายุ 1-4 ปี
- โรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยติดต่อได้ด้วยการไอ จามหรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัส ตลอดจนการใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคอี สุกอีใส หรืองูสวัด
- ซึ่งปกติเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ โรคอี สุกอีใสจะระบาดในช่วงปลายฤดูหนาว-ต้นฤดูร้อน (มกราคม-เมษายน)
อาการของโรคอี สุกอีใส
1. ระยะแรก
- ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ ต่อมาจะขึ้นเป็นตุ่มใส ตุ่มจะค่อย ๆ อุ่นขึ้นคล้ายหนอง แล้วกระจายไปตามใบหน้า ลำตัว แผ่นหลังและช่องปาก
2. อีก 2-3 วันต่อมาจะตกสะเก็ด อาจมีอาการเจ็บคอ
3. เด็กเล็กจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย
4. ผู้ใหญ่จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามลำตัวคล้ายหวัด
5. ผื่นขึ้นพร้อม ๆ กับวันที่เริ่มมีไข้ หรือหนึ่งวันหลังจากมีไข้
6. บางรายมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากและลิ้นเปื่อย
นอกจากนี้ ยังพบอาการแทรกซ้อน ดังนี้
- การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง ทําให้กลายเป็นหนองและมีแผลเป็น
- ในรายที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อไวรัสอี สุกอีใส อาจกระจายไปยังอวัยวะภายใน เช่น ปอด สมอง ตับ
- หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออี สุกอีใส ในช่วง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจทําให้ทารกในครรภ์พิการได้
การรักษาโรค “อีสุกอีใส”
- ในรายที่เป็นไม่มาก อาจดูแลตนเองที่บ้านได้
- หากมีไข้ให้รับประทานยาพารา เซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ
- ใช้ยาลดอาการคัน พักผ่อนและดื่มนํ้ามาก ๆ กรณีที่มีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัวมาก มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีอาการหอบ ชัก ซึม ต้องพบแพทย์
- ในรายที่เป็นรุนแรง หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น
- ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ มะเร็งหรือมีโรคประจำตัว จะทำให้โรคอี สุกอีใสมีอาการรุนแรงได้มาก และเกิดการแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ ต้องปรีกษาแพทย์เพื่อลดอาการรุนแรงของโรค
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอี สุกอีใส
- โรคนี้เมื่อเป็นแล้วหากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำและเกิดการกระตุ้นขึ้น มีโอกาสเป็นโรคงูสวัดได้ภายหลัง
- ระยะแพร่เชื้อจะเริ่มตั้งแต่ 24 ชั่วโมงก่อนที่ผื่นหรือตุ่มขึ้น จนตุ่มแห้งหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-7 วัน ควรหยุดงานหรือหยุดเรียนเพื่อป้องกันการติดต่อ
- โรคนี้ไม่มีของแสลง
- ปัจจุบัน โรคอีสุก อีใสป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
- การเกาหรือแกะตุ่มพุพองของโรคอี สุกอีใส อาจจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นอย่างถาวร
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง