ยาน “Luna-25” ปิดฉากสำรวจดวงจันทร์ในรอบ 47 ปี หลังพุ่งชนดวงจันทร์

Luna-25, ลูนา-25, สำรวจดวงจันทร์, โครงการสัรวจดวงจันทร์, รัสเซีย, Roscosmos

ยาน "Luna-25" ของรัสเซีย ปิดฉากการกลับมาสำรวจดวงจันทร์ในรอบ 47 ปี หลังยานสูญเสียการควบคุมและพุ่งชนพื้นผิวดวงจันทร์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย ยาน “Luna-25” ของรัสเซียพุ่งชนดวงจันทร์ ปิดฉากภารกิจการกลับมาสำรวจดวงจันทร์ในรอบ 47 ปี ติตดามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตข่าาวสารวงการดาราศาสตร์ โดยระบุว่า ยาน “Luna-25” (ลูนา-25) ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของรัสเซียครั้งแรกในรอบ 47 ปี ประสบความล้มเหลว หลังยานสูญเสียการควบคุมและพุ่งชนพื้นผิวดวงจันทร์

หลังเจอปัญหาระหว่างการเตรียมพร้อมก่อนลงจอด สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากของการเดินทางไปยังดวงจันทร์ ที่ยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ไม่เว้นแม้กับประเทศที่เคยมีประวัติศาสตร์ในการเดินทางอวกาศอย่างโชกโชนมาก่อน เช่นรัสเซีย

 

Luna-25, ลูนา-25, สำรวจดวงจันทร์, โครงการสัรวจดวงจันทร์, รัสเซีย, Roscosmos

 

โดยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เวลา 18:57 น. (ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย) Roscosmos (รัฐวิสาหกิจเพื่อกิจกรรมทางอวกาศรัสเซีย) ในฐานะองค์การอวกาศแห่งชาติรัสเซียประกาศว่า ได้สูญเสียการติดต่อกับยานลูนา-25 ไป หลังจากเกิดปัญหายานปรับเปลี่ยนเส้นทางในวงโคจรรอบดวงจันทร์ก่อนการลงจอด ซึ่งมีกำหนดลงจอดในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2023 ตามแผนภารกิจ

ทั้งนี้ Roscosmos ได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษระหว่างแผนก เพื่อศึกษาเหตุผลที่ทำให้สูญเสียยานในภารกิจ Luna-25 ซึ่งเป็นภารกิจที่ทางรัสเซียตั้งความหวังว่าจะกลับมาสู่การแข่งขันด้านอวกาศมุ่งสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง จากที่อดีตสหภาพโซเวียตเคยเป็นผู้นำทางด้านการสำรวจอวกาศมาก่อน และเคยส่งยานสำรวจลูนา-24 ไปลงจอดบนดวงจันทร์มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976

 

Luna-25, ลูนา-25, สำรวจดวงจันทร์, โครงการสัรวจดวงจันทร์, รัสเซีย, Roscosmos

 

ความล้มเหลวครั้งนี้ ย้ำเตือนให้เราประจักษ์ถึงความท้าทายในการส่งภารกิจสำรวจอวกาศ แม้จะเป็นรัสเซียที่สืบทอดสายเลือดมาจากสหภาพโซเวียตที่เต็มไปด้วยประวัติการสำรวจอวกาศอันโชกโชนนับตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น ทั้ง

  • การส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกสปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อปี ค.ศ. 1957
  • ส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลก ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1961

ปัจจุบัน รัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขนาดประมาณ 3.6 เท่าของขนาดเศรษฐกิจไทย) และกำลังเจอกับความท้าทายภายนอกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทั้งการคว่ำบาตรของกลุ่มชาติตะวันตก และสงครามในยูเครน

 

Luna-25, ลูนา-25, สำรวจดวงจันทร์, โครงการสัรวจดวงจันทร์, รัสเซีย, Roscosmos

การส่งยานไปดวงจันทร์ที่จบลงด้วยความล้มเหลว

  • ก่อนหน้านี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่รัสเซียกับอินเดียต่างแข่งกันส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งยานในภารกิจจันทรยาน-3 ของอินเดียมีกำหนดการลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ในสัปดาห์นี้เช่นกัน แสดงให้เห็นว่ามีชาติอื่น ๆ ที่พยายามไล่ตามสหรัฐฯ และจีน ที่มีความก้าวหน้าเรื่องการส่งยานสำรวจดวงจันทร์
  • ทางคณะเจ้าหน้าที่ของรัสเซียต่างเคยคาดหวังว่าภารกิจลูนา-25 จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า รัสเซียยังสามารถแข่งขันกับมหาอำนาจชาติอื่น ๆ ด้านอวกาศ แม้ว่ารัสเซียจะประสบกับความเสื่อมถอยหลังโซเวียตล่มสลาย และค่าใช้จ่ายมหาศาลในสงครามยูเครน
  • Anatoly Zak ผู้สร้างเว็บไซต์ www.RussianSpaceWeb.com ที่ติดตามโครงการอวกาศต่าง ๆ ของรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียเลือกที่จะส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ แทนที่จะเลือกยานโคจรรอบดวงจันทร์ ซึ่งยานลงจอดเป็นภารกิจที่ยากกว่ายานโคจรรอบตัวดาว และชาติมหาอำนาจด้านอวกาศหลายชาติก็เคยเจอเรื่องราวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ จีน และอินเดีย

 

Luna-25, ลูนา-25, สำรวจดวงจันทร์, โครงการสัรวจดวงจันทร์, รัสเซีย, Roscosmos

 

นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียเคยออกมาพูดหลายครั้งว่าโครงการอวกาศถูกบ่อนทำลายด้วยกลุ่มผู้จัดการโครงการที่คอรัปชั่น และความเสื่อมถอยของระบบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์หลังโซเวียตล่มสลาย ก่อนหน้านี้ ความล้มเหลวของภารกิจโฟบอส-กรุนต์ (Fobos-Grunt) ในปี ค.ศ. 2011 ที่มีเป้าหมายสำรวจดวงจันทร์บริวารของดาวอังคาร เผยให้เห็นถึงความท้าทายที่โครงการอวกาศของรัสเซียกำลังเผชิญหน้า ในครั้งนั้นยานไม่สามารถออกจากวงโคจรรอบโลกได้ ก่อนตกกลับลงมาสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในปี ค.ศ. 2012

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 รัสเซียเริ่มแนวคิดและแผนการในภารกิจลูนา-25 โดยตั้งเป้าหมายลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ แม้ยานลูนา-25 จะสามารถออกจากวงโคจรรอบโลกได้ แต่ความล้มเหลวที่เกิดกับยานลูนา-25 ย่อมหมายความว่า ความพยายามของรัสเซียที่จะเป็นชาติแรกที่จะนำดินตัวอย่างจากขั้วใต้ของดวงจันทร์กลับมายังโลก เพื่อยืนยันการมีอยู่ของน้ำแข็ง ยังคงเป็นเพียงอีกเป้าหมายหนึ่งของมนุษยชาติที่ยังคงไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้ต่อไป

และตอนนี้ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในทันทีว่าความล้มเหลวของยานลูนา-25 จะมีผลกระทบระยะยาวต่อโครงการสำรวจดวงจันทร์ของรัสเซีย ที่จะมีภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งอื่น (ลูนา-26 ถึงลูนา-28) หลังจากนี้หรือไม่
แปลและเรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ


Firster : BEAUTY WEEK ช้อปบิวตี้ รับส่วนลดสุดฟิน X 2

ฟินที่ #1 ลดเพิ่มสูงสุด 15% Min 3,500.-

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น