วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ ได้รับการร้องขอให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมจัดตั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรม ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 1 และแสดงออกความร่วมมือกันสังเคราะห์ซอฟเพาเวอร์ ขึ้นระหว่าง 22 – 31 สิงหาคม 2566 โดยอธิการบดีแห่งรัฐในฟิลิปปินส์จำนวน 13 คน นำทีมผู้บริหารวัฒนธรรมระดับประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 25 คน รวม 38 คน มาร่วมงานที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมฆาลัย, อินเดีย ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ และประธานโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย และ ดร.สมศรี บุญมี ศิษย์หลักสูตร RDS ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ นำคณะเดินทางไปที่ ศูนย์คชศึกษา เพื่อศึกษาดูงานหมู่บ้านช้าง ที่บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และที่วัดป่าอาเจียง ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านคนเลี้ยงช้าง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เพื่อประชุมหารือเพื่อจัดตั้งเครือข่ายซอฟเพาเวอร์ทางวัฒนธรรมระหว่างวัดป่าอาเจียง และลงนามความเข้าใจ (MOU.) กับมหาวิทยาลัยประเทศไทย 4 แห่ง, มหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ 13 แห่ง และมูลนิธิฯ ในนามเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาวัดป่าอาเจียงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา การศึกษาและวัฒนธรรม ทำงานแบบบวรมานาน โดยได้ส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว แบบมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี และในการนี้ สาขาวิชาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้สังเคราะห์การวิจัยในดุษฏีนิพนธ์หลายเล่ม และจากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปว่าควรประกาศให้ช้างเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก หลังจากเสร็จการสัมมนาฯ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อช่วงเช้า