7 สัญญาณเตือนโรค “นอนเกิน” ง่วงตลอดเวลา ความสุขบนความเสี่ยง

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

รู้หรือไม่ ขี้เซา ง่วงนอนตลอดเวลา เสี่ยงโรค "นอนเกิน" โรคแห่งความสุขบนความเสี่ยง จาก 7 สัญญาณเตือนที่ไม่เคยรู้ กระทบ 5 เสี่ยงร่างกายพังไม่รู้ตัว

ใครมีปัญหาขี้เซา ง่วงนอนตลอดทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เช็ค 7 สัญญาณเตือนนี้ เข้าข่าย โรค “นอนเกิน” กระทบร่างกายพังไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ใครมีอาการขี้เซา ไม่อยากลุกจากเตียง ง่วงนอนตลอดทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ อย่าชะล่าใจ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค “นอนเกิน” (Hypersomnia) ชวนทำความรู้โรคใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้ พร้อมแนะเคล็ดลับการนอนอย่างไร ให้สุขภาพดี

โรคนอนเกิน คืออะไร ?

  • เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้
  • มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว
  • แต่เกิดจากโรคทางกาย หรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

7 สัญญาณอันตรายโรคนอน เกิน

  • ตื่นนอนยาก ขี้เซามาก
  • นอนเท่าไรก็ไม่พอ เพราะ ยังรู้สึกง่วง เพลีย อยู่ตลอดเวลา
  • อยากจะงีบนอนวันละหลาย ๆ ครั้ง
  • หากมีอาการหนักมาก อาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ที่ไม่ควรหลับ เช่น
    • ทานข้าว
    • อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดัง
    • ระหว่างทำงาน
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกับเรื่องเล็กน้อย
  • ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดช้าทำช้า
  • วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

 

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายตอบสนองนอนเท่าไรก็ไม่พอ

  • อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อยจนร่างกายพักผ่อนไม่พอ ทำให้นอนเท่าไรก็ไม่รู้จักพอสักที
  • นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก
  • ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกานนอนมากผิดปกติ
  • นอนกรน มีภาวการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
  • เนื้องอกในสมอง และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้อยากนอนตลอดเวลา

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

5 ผลเสียจากการนอนมากเกินไป

สมองทำงานช้า

  • พอสมองทำงานช้า ความคิดความอ่านก็จะช้า รู้สึกเฉื่อยชา กลายเป็นคนไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา
  • ไม่อยากขยับร่างกาย ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยถูกใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

อ้วนง่าย

  • การนอนจะทำให้ระบบอาหารไม่ย่อย แม้จะกินน้อยแต่ระบบเผาผลาญไม่ทำงาน
  • ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน ซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน

มีบุตรยาก

  • ผลจากการศึกษาผู้หญิงเกาหลีใต้ ในปี 2013 พบว่า ผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเกิดภาวะมีบุตรยากกว่าคนที่นอน 7-8 ชั่วโมง ถึง 650 คน
  • เพราะ ฮอร์โมนและรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างพอดี

อายุสั้น

  • คนที่หลับง่ายและนอนนาน ๆ จะไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ส่งผลให้ออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงร่างกาย
  • ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอนอย่างพอดีถึง 1.3%

โรคซึมเศร้า

  • ในปี 2012 ได้มีการศึกษาผู้หญิงสูงวัยที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมง นั้นจะมีอารมณ์แปรปรวน สมองทำงานแย่ลง เพราะ สารแห่งความสุขจะผลิตน้อยลง
  • ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่นอนปกติถึง 49%

 

โรคนอนเกิน, นอนเกิน, โรคที่หลับเกินพอดี, นอนมากผิดปกติ, ง่วงนอนตลอดเวลา, ขี้เซา, นอนเท่าไรก็ไม่พอ, นอนนาน ๆ, นอนอย่างพอดี, โรคซึมเศร้า, นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ

5 วิธีจัดการอาการง่วงนอนตลอดเวลา

ตั้งเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม

  • เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะปกติร่างกายของคนเราจะนอนหลับเป็นรอบ
  • ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ
  • ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้เรามีโอกาสที่จะนอนได้หลับลึกมากยิ่งขึ้น

กำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน

  • ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่นโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก

จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี

  • ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมอง เซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา

ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ

  • สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และยังทำให้ร่างกายแอ็คทีฟด้วย

งดอาหารจังค์ฟู้ด น้ำอัดลม แป้งขัดขาว เบเกอรี่

  • ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ร่างกายคุมไม่ได้ ทำให้ง่วง เนือย ตอนที่ระดับน้ำตาลตก

ข้อมูล : princsuvarnabhumi


Mercular : NOTEBOOK WEEK

ลดสูงสุด 40,000.- เก็บคูปองลดเพิ่มสูงสุด 10,000.-

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี
"ไผ่ ลิกค์" ลั่นได้คุยแล้ว ปมดาราดัง ยืมเงินเพื่อน 20 ล้าน ปล่อยกู้ รอเจ้าตัวมาตอบ ย้ำเคยเตือนเรื่องใช้ชีวิตแพง
รองโฆษก รบ.เผย ‘กฎหมายฟ้องชู้’ ใหม่บังคับใช้แล้ววันนี้ ฟ้องหย่า-เรียกค่าเสียหายได้ทุกเพศ
"ตร.ทางหลวงเมืองกรุงเก่า" จับเมียนมา ขนเพื่อนร่วมชาติส่งทำงานในไทย สารภาพสิ้นทำมานาน 1 ปี วิ่งรถกว่า 100 เที่ยว
"ทนายเดชา" เปิดใจ หลังศาลสั่ง คุก 1 ปี รอลงอาญา คดีหมิ่น "อ.อ๊อด" ย้ำไม่มีร้องไห้ ใส่กุญแจมือ รอชำระค่าปรับตามคำพิพากษา
"จิรายุ" ย้ำ "เงินหมื่น" เฟส 2 มอบคนอายุุ 60+ โอนแน่ 27 ม.ค.นี้
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความ "คนสอนธรรม" เพิ่ม 1 ข้อหา
ตร.คุมตัวแขกหัวร้อนฝากขัง หลังขับเก๋งไล่ชนไรเดอร์เสียชีวิต ด้านพ่อเตรียมขอขมาศพเย็นนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น