หงายเงิบ 3 นิ้วปั่นดราม่า “VATภาษีเหลื่อมล้ำ เพิ่มเป็น 10%” เจอเบิกเนตรประเทศในฝันเก็บ 22%

หงายเงิบ 3 นิ้วปั่นดราม่า "VATภาษีเหลื่อมล้ำ เพิ่มเป็น 10%" เจอเบิกเนตรประเทศในฝันเก็บ 22%

กำลังเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟสบุ๊กยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ซึ่งเป็นแนวร่วมม็อบ 3 นิ้ว ได้โพสต์ข้อความเรื่อง “VAT คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ” โดยระบุรายละเอียดตอนหนึ่งว่า การที่ไม่นานมานี้สภาพัฒน์เสนอขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 10% นั้น โดยอ้างว่าต้องการเก็บเพื่อนำมาจัดสรรสวัสดิการให้คนสูงวัยในอนาคต คือการพยายามขูดรีดคนรากหญ้า แทนที่จะเป็นการลดงบกองทัพ หรืองบที่ไม่ได้มีความจำเป็นแก่การพัฒนาประเทศเพื่อนำมาสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าให้กับคนทุกวัย พร้อมให้ข้อมูลอีกว่า สาเหตุที่ VAT ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาษีที่ไม่เป็นธรรม เพราะ “ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงเท่ากับผู้ที่มีรายได้สูง” ทำให้หากมีการขึ้นภาษี VAT ไปมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ เราจึงสามารถเรียกได้ว่า VAT คือ “ภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ” ส่วน “ภาษีขั้นบันได” ถือเป็นคำตอบให้กับการแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสังคมไทย

ซึ่งโพสต์ดังกล่าว ได้มีผู้ใช้เฟสบุ๊กเข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ต่างแสดงความไม่เห็นด้วย พร้อมกับให้ข้อมูลอีกด้าน เช่น นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตทีมโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ที่ได้เข้ามาแสดงความเห็นว่า “ประเทศที่พวกคุณไปชื่นชมเขาซะเหลือเกินในยุโรป VAT เฉลี่ยอยู่ที่ 22% นะครับ โดยเฉพาะสแกนดินิเวีย ที่ชอบบอกว่าเป็นกลุ่มประเทศในฝัน หากวันๆจะโวยวายไม่อยากจ่ายภาษีสูงขึ้น (10% นี่ก็โคตรต่ำละ) แต่อยากมีคุณภาพชีวิตดี ใครจะเสกสิ่งนี้ให้ได้บ้าง มีแต่พวกขี้แพ้นะ ที่คิดแต่จะได้แบบนี้”

นอกจากนี้ยังมีความเห็นของผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ Katanyoo Tungmepol ที่ได้แชร์ข้อความว่า คนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องอยากได้รัฐสวัสดิการแบบประเทศในกลุ่มสแกนดินิเวีย เลี้ยงดูกันไปตั้งแต่เกิดจนตาย โดยอ้างว่า ตัวเองจ่าย VAT เยอะแล้ว พอมีแนวคิดจะขึ้น VAT เป็น 10% ซึ่งเป็นอัตราปกติ ที่เราจ่าย 7% นี่เป็นอัตราลดมาเนิ่นนาน ก็โวยวายว่า VAT เป็นภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ ควรจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า
1.Income Tax เก็บเป็นขั้นบันไดอยู่แล้ว แต่มีคนจ่ายแค่ 4 ล้านคน ต้องแบกรับภาระคนทั้งประเทศ
2.VAT ที่ไหนก็เก็บเป็น flat rate แล้วมันก็ยุติธรรม เพราะคนรวยที่ซื้อของเยอะ ก็ต้องจ่าย VAT เยอะ ธุรกิจที่ขายของได้เยอะ ก็ต้องนำส่ง VAT เยอะ
3.ถ้าอยากได้รัฐสวัสดิการแบบสแกนดินิเวีย ก็ช่วยดูด้วยว่า เค้าจ่าย VAT กัน 25% ไหวไหมล่ะ นี่ยังไม่นับ Income Tax ที่เค้าจ่ายอัตราสูงสุดเกิน 50% แถมยังมีฐานภาษีที่กว้างมากด้วย
4.หลายคนไม่ยอมศึกษาระบบประกันสังคมของไทย ซึ่งออกแบบมาดูแลแรงงานในระบบตั้งแต่เกิดจนตาย โดยใช้หลักคิด co-pay ร่วมกันจ่าย 3 ฝ่าย : รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง เมื่อคน 10+ ล้านคนอยู่ในระบบนี้แล้ว รัฐจึงมีภาระดูแลเฉพาะคนที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ ซึ่งรัฐต้องจ่ายฝ่ายเดียว
5.ประเทศที่ล้มละลายเพราะให้สวัสดิการมากไปก็มี แม้แต่สวีเดนเองก็ต้องทยอยลดสวัสดิการลงเพราะรัฐแบกภาระไม่ไหว
การที่อินฟลูเอนเซอร์ นำเสนอข้อมูลบิดเบือน ก็ไม่ต่างอะไรกับ Propaganda ที่หวังผลทางการเมือง แล้วเราก็จะอยู่กันในโลกที่ถกเถียงกันด้วยข้อมูลผิดๆ แบบนี้ไปอีกนาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับประเด็นนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก นางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยถึงแนวทางการออมเงินของผู้สูงอายุว่า คณะกรรมการปฏิรูปสังคม และ สศช. เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีคือ การปรับเพิ่มอัตราภาษี VAT 10% จากเดิม 7% เพื่อนำเอาภาษีที่ปรับขึ้นมาทำระบบเงินออมให้กับประชาชนเพื่อให้มีเงินใช้ในวัยเกษียณ โดยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอีก 3% รัฐบาลอาจออกกฎหมายเฉพาะมาเพื่อนำเงินที่รัฐเก็บภาษีในส่วนนี้มาเป็นเงินออมของประชาชนเพื่อใช้ในวัยเกษียณ แต่ต่อมา นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่าขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นภาษีVAT เป็น 10% แต่อย่างใด

ทั้งนี้ประเทศไทย ได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แต่ได้บรรเทาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เป็นระยะ จะมีเพียงในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เท่านั้นที่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10

 

ส่วนประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก มีการเก็บภาษี VAT ในอัตราต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น VAT 8% เกาหลีใต้ VAT 10% จีน VAT 17% ออสเตรเลีย VAT 10% นิวซีแลนด์ VAT 12.5% นอร์เวย์ VAT 25%สหราชอาณาจักร VAT 20% เยอรมนี VAT 19% ออสเตรีย VAT 20% เดนมาร์ก VAT 25%ฟินแลนด์ VAT 23% ฝรั่งเศส VAT 19% อิตาลี VAT 20% แคนาดา VAT 7 25%
ขณะที่สหรัฐอเมริกา การเก็บภาษีการค้าไม่ได้เรียกว่า VAT แต่เป็นภาษีการขายเรียกว่า Sales Tax ซึ่งแต่ละรัฐจะเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน และเป็นการเรียกเก็บค่าบริการโดยตรงกับผู้ซื้อ ยังไม่รวม ภาษีรัฐ หรือ Stage Tax ที่เพิ่มเติมมาต่างหาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วส่วนใหญ่รจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงมาก ซึ่งนั่นทำให้รัฐบาลมีงบประมาณมากเพียงพอจะไปจัดสรรการบริหารราชการแผ่นดินได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ประชาชนต้องการ นอกจากจะเก็บ VAT ได้สูงแล้ว ภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ก็ยังจัดเก็บในอัตราที่สูงและครอบคลุมประชาชนเกือบทั้งหมด โดยจัดเก็บกันที่ 40% ขึ้นไป และครอบคลุมประชากรมากกว่า 80%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น