สับ“กกต.”เสือกระดาษ ปมให้ผู้สมัครก้าวไกลลงชิงสส.เขตระยองได้ ทั้งที่เป็นผู้สมัครสส.บัญชีรายชื่อ แถมยังเกียร์ว่างไม่แจกใบแดง-ใบเหลือง

สับกกต. เสือกระดาษปมให้ผู้สมัครก้าวไกลลงชิง สส.เขตระยองได้ทั้งที่เป็นผู้สมัครสส.บัญชีรายชื่อ พร้อมย้อนอดีตทำผิดซ้ำซากปมนับคนต่าวด้าว แถมยังเกียร์ว่างไม่แจกใบแดง-ใบเหลืองทั้งที่การเลือกตั้งผ่านมากว่า 3 เดือน

กลายเป็นประเด็นที่สังคมกำลังจับตามองและตั้งคำถามกรณีนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาระบุถึงนายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัคร ส.ส.ระยองเขต 3 พรรคก้าวไกลมีสิทธิเป็นผู้สมัคร สส.ระยองได้แม้จะมีรายชื่อซ้ำเป็นผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล แต่ถ้าได้ลาออกหรือสละสิทธิในการเลื่อนลำดับของ สส.บัญชีรายชื่อดังกล่าวแล้วก็จะทำให้การสมัคร สส.เขตสมบูรณ์ไม่ผิดกฎหมาย

 

 

การตีความของ กกต.ในเรื่องดังกล่าวมีหลายฝ่ายต้องข้อสังเกตุว่าการสมัคร สส.เขต ของนายพงศธรจะกระทำได้หรือไม่ เพราะเป็นการสมัครซ้ำ เนื่องจากยังเป็นผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ดังนั้นจึงต้องมาตีความกันว่า การวินิจฉัยของ กกต.ถูกหรือผิด แต่เมื่อดูจากการปฏิบัติงานของ กกต.ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาพบว่า วินิจฉัยออกทะเลไปหลายเรื่อง และท้ายที่สุดต้องไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ข่าวที่น่าสนใจ

ตัวอย่างคำวินิจฉัย กกต.ที่ผิดพลาดเห็นได้ชัดคือ กรณีกกต.ให้นับรวมคนต่างด้าวในการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตอนนั้นมีหลายฝ่ายออกมาเห็นแย้งว่ากระทำไม่ได้ เพราะจะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

 

 

การกระทำครั้งนั้น นายแสวง ออกมาชี้แจงว่า กกต. ได้นำจำนวนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศมาคำนวณเพื่อแบ่งเขตการเลือกตั้ง โดยครั้งนี้กระทรวงมหาดไทยแยกผู้มีสัญชาติไทยกับผู้ไม่มีสัญชาติไทยออกจากกัน ซึ่งคำว่า ราษฎร ตามความเข้าใจของประชาชน หมายถึงทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่ราษฎรที่ทางกกต.นำมาใช้นั้นเป็นไปตามกฎหมายทะเบียนราษฎรคือ ราษฎรประเภท 1 คนไทยที่มีเลข 3 นำหน้าในบัตรประจำตัวประชาชน และคนที่เป็นราษฎรได้อีกกรณีหนึ่ง จะมี 2 ประเภทคือ คนที่มีสัญชาติไทยและคนที่ไม่มีสัญชาติไทย

สำหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทยจะถือเป็นราษฎรได้นั้นต้องมี 2 เงื่อนไข จะไม่ใช่คนที่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งนี้คนที่เป็นราษฎรต้องมีเลขประจำตัว 13 หลักทุกคน แต่คนต่างด้าวจะได้รับเลข 13 หลักได้ต้องเข้าเกณฑ์ตามกฎหมายไทย คือ พ.ร.บ. บัตรประชาชนและกฎหมายทะเบียนราษฎรเป็นเรื่องความมั่นคง โดยคนต่างด้าวประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่ 8 ไม่ถือสัญชาติไทย แต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในเมืองไทยโดยถูกกฎหมายและมีใบสำคัญคนต่างด้าว หรือคนที่แปลงสัญชาติ และเงื่อนไขที่ 2 มีทะเบียนบ้านในประเทศไทย ไม่ใช่แรงงานต่างด้าวที่มาทำงาน แม้จะเข้าเมืองถูกกฎหมายก็ตาม แต่หากไม่เข้า 2 เงื่อนไข ก็ไม่ถือเป็นราษฎร แต่ต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายทะเบียนราษฎร จึงมีสิทธิที่จะได้รับบริการ ทำงานให้บ้านเราเสียภาษี ซึ่งคนกลุ่มนี้นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. เท่านั้น แต่ยืนยันว่า ไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิในการเลือกตั้ง

 

 

อย่างไรก็ตาม กกต.ดูเหมือนจะจนแต้ม เพราะถูกกระแสคัดค้านโจมตีในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดต่อในวันที่ 15 กพ.66 ซึ่งผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ กกต. ยังมีปมปัญหาความผิดพลาดในงการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 7 พฤษภาคม 66 กรณีเจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือกปน.จ่าหน้าซองสถานที่ผิดเขตมากกว่า 10 แห่ง โดยมีแห่งที่สามารถทักท้วงแก้ไขได้ และมีหลายแห่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งการกระทำที่ผิดพลาดหลายครั้งของกกต.ส่งผลให้แฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม ติดเทรนด์อันดับ 1 ในโลกทวิตเตอร์ รวมถึงมีแฮชแท็ก #กกตต้องติดคุก ตามมาด้วย

 

 

เรื่องนี้นายแสวง ออกมาชี้แจงว่า กรณี กปน. มีการเขียนรหัสเขตเลือกตั้งที่หน้าซองสำหรับใส่บัตรเลือกตั้งผิด ซึ่งพบผิดพลาดประมาณ 100 คน เมื่อเจ้าหน้าที่ทราบก็มีการเปลี่ยนหีบบัตรเลือกตั้งใหม่ โดยได้แยกกล่องผิดไว้ และจะตรวจรับหลังปิดหีบทันที

ขณะเดียวกันยังมีเรื่องใหญ่ที่ประชาชนกำลังข้องใจมากที่สุดคือ การกระทำผิดกฎหมายช่วงเลือกตั้งของ สส.ที่ก่อนหน้านี้ กกต.โดยนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาประกาศกร้าวอย่างจริงจังว่า เรื่องร้องเรียนขณะนี้ที่มีการแจ้งข้อมูลเบาะแสทั้งหมดหลายร้อยเรื่อง และมีคำร้องที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว 33 เรื่อง สั่งไม่รับเป็นคำร้อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 94 เรื่อง ซึ่งเรื่องไหนที่เห็นว่ามีมูล ตรวจข้อเท็จจริงได้ กกต.จะดำเนินการ และเมื่อเห็นว่าเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายก็จะตั้งกรรมการสืบสวนไต่สวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ส่วนเรื่องใบเหลืองใบแดงในการเลือกตั้งครั้งนี้ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะดูว่าถ้าเป็นการกระทำความผิด จะไม่ละเว้น ใบเหลืองใบแดงก็อาจจะต้องเกิดขึ้น และมากน้อยเท่าไหร่คาดเดาไม่ได้

อย่างไรก็ตามขณะนี้การเลือกตั้งผ่านมากว่า 3 เดือนปรากฎว่า กกต.ทำแค่เพียงประกาศรับรองผล สส.ทุกคนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 19 มิ.ย.66 เท่านั้น แต่ยังไม่มี่แววที่จะแจกใบเหลือง ใบแดง สส.จากพรรคการเมืองใดแม้แต่คนเดียว ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีท่าทีขึงขังเอาจริงกับผู้กระทำผิดเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกที่กกต.ชุดนี้เกียร์ว่างปล่อยเรื่องดังกล่าวให้เนิ่นนานมาจนถึงปัจจุบัน

แถมยังยกเรื่องกฎหมายมาเป็นข้ออ้างว่า กกต.มีกรอบระยะเวลาดำเนินการตามกฎหมายภายใน 1 ปี ในการพิจารณาคำร้องให้แล้วเสร็จ ซึ่งในส่วนของกระบวนการสืบสวนไต่สวนหากมีความผิดก็จะรวบรวมพยานหลักฐานและเสนอต่อศาลพิจารณาต่อไป และด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ของ กกต.จึงไม่ต่างกับการเป็นเสือกระดาษที่แปะไว้ตามข้างฝาเพื่อขู่เด็กน้อยเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น