ระวัง “อัมพฤกษ์” อัมพาต ใครชอบสะบัดหมุน ดัดคอ คลายเมื่อย

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

ใครมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายบ่อย ๆ แล้วชอบนวดคลายเมื่อย ระวัง เสี่ยงสมองตายเป็น "อัมพฤกษ์" อัมพาตได้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา เผย ใครชอบนวดคลายเมื่อย คลายเส้น ระวังเสี่ยงสมองตายเป็น โรค “อัมพฤกษ์” อัมพาตได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้ประชาชน เตือนภัยใกล้ตัวโดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายแล้วชอบนวด ดัดคอ คลายเส้น รวมถึงการบำบัดทางกายภาพและจัดกระดูก

ถ้าไม่ระวังจะเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อการที่ผนังเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง โดยเฉพาะคู่หลังเกิดการฉีกขาดและทำให้เกิดเนื้อสมองตายเป็น “อัมพฤกษ์” อัมพาตได้

 

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

 

ความจริงเรื่องเกี่ยวกับคอ เป็นที่สังเกตระวังกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว จากการสำรวจข้อมูลจากหมอทางสมองในสหรัฐฯ ว่า ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เคยประสบพบคนไข้ที่มีอาการอัม พฤกษ์จากเส้นเลือดสมองตีบภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากที่คนไข้ผ่านกรรมวิธีจับ ดัด ปรับกระดูกคอหรือไม่?

หมอสมอง 177 คน รายงานว่า เคยเจอผู้ป่วย 55 รายเข้าข่ายกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ โดยที่คนไข้มีอายุระหว่าง 21 – 60 ปี หลังจากมีการบิดดัดคอ และเป็นผลต่อเส้นเลือดสมองโดยเฉพาะคู่หลัง เกิดตันตีบ ซึ่งตัวหมอเองก็มีคนไข้ที่หมุนคอเป็นประจำวันละ 3 เวลา ครั้งละ 30 รอบเป็นปี

 

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

 

นัยว่า ทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง ฝึกการทรงตัว วันหนึ่งเกิดเรื่องขณะยืนข้างถนน หันหน้าจะไปเรียกรถแท็กซี่ปรากฏเป็นอัมพาตซีกซ้าย อีกสักพักค่อย ๆ ดีขึ้น พอมีแรงลุกขึ้น หันหน้าไปอีกด้าน มีอ่อนแรงซีกขวา ต้องนอนอยู่โรงพยาบาลเป็นเดือน และการตรวจเส้นเลือดด้วยการฉีดสี ยืนยันมีผนังเส้นเลือดฉีกขาดจริงและเลือดไหลเซาะเข้าในผนังเส้นเลือด ทำให้รูเส้นเลือดตัน อีกทั้ง ยังทำให้ผนังเส้นเลือดขรุขระ เกิดการเกาะของตะกอนเลือด ซึ่งหลุดลอยไปอุดเส้นเลือดได้อีกต่อ

สมองของเรามีเส้นเลือดไปเลี้ยง 2 คู่ คู่หน้าสามารถคลำได้ตุบ ๆ ที่คอด้านหน้าซึ่งไปเลี้ยงสมองหน้าผากขมับ 2 ข้าง รวมทั้งสมองส่วนลึกลงไปทางด้านใน เส้นเลือดคู่หลังร้อยผ่านกระดูกก้านคอ และเลื้อยผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองท้ายทอยซึ่งเป็นจอรับภาพ สมองน้อยด้านหลัง คุมการทรงตัว ก้านสมองซึ่งควบคุมประสาทสมองรวมการเคลื่อนไหวลูกตา คุมการรับรู้สึกตัว การเคลื่อนไหวแขนขา การสะบัดคอแรง ๆ การหมุนคอบิด บริหารประจำอาจทำให้เกิดผลร้าย

 

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

อันตรายที่เกิดขึ้นจะแปรตามความรวดเร็ว รุนแรงของการบิดสะบัดเคลื่อนไหวคอและแม้หมุน สะบัดไม่รวดเร็ว แต่การทำซ้ำกันบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานานก็เกิดเรื่องได้

ไม่เฉพาะแต่เส้นประสาทที่คอ ยังเกิดกับเส้นเลือด โดยเฉพาะผู้ที่เกิดมาขาดทุน คือ มีเส้นเลือดคู่หลังเพียงเส้นเดียว และในคนที่มีเส้นเลือดตีบอยู่แล้วจากมีโรคประจำตัว คือ

  • อ้วน
  • ความดันสูง
  • ไขมันเพียบ
  • หรือมีกระดูกงอกที่คอที่พร้อมที่จะกดเบียดเส้นเลือดอยู่แล้ว
  • หรือคนที่มีโรคของผนังเส้นเลือดผิดปกติแต่กำเนิด (ซึ่งพบได้น้อยมาก)

 

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

 

ข้อควรระวัง และกลไกในการเกิด “อัมพฤกษ์” จากการเคลื่อนของคอ อันเป็นผลจากการจับ ดัด เอียง สะบัด มีรายงานเป็นทางการจากสมาคมโรคหัวใจและโรคอัม พฤกษ์จากเส้นเลือดผิดปกติของสหรัฐฯ ซึ่งรายงานข้อสรุปได้รับการสนับสนุนและรองรับโดยสมาคมศัลยแพทย์และคองเกรสทางระบบประสาทของสหรัฐฯ ตีพิมพ์ในวารสาร Stroke ฉบับเดือนตุลาคม 2014

ทั้งนี้ การนวดกดจุดก็น่าจะต้องระวังเช่นกัน เนื่องจาก เส้นเลือดคู่หลังจะวิ่งเข้าสมองโดยผ่านรู 2 ข้างที่ฐานกะโหลกศีรษะ ซึ่งจากการนวด อาจจะมีวิธี ปิด–เปิดประตู

 

โรคอัมพฤกษ์, อัมพฤกษ์, อัมพาต, เนื้อสมองตาย, บิดดัดคอ, หมุนคอ, เส้นเลือดสมอง

 

การเปิดปิดประตู คือ การกดจุดที่รู 2 ข้างซึ่งจะตัดการไหลเวียนของเลือดเข้าสมองท้ายทอยซึ่งเป็นจอรับภาพในสมอง ทำให้ตามืดไปชั่วขณะ และเมื่อปล่อยการกดจุด เลือดจะไหลมาดังเดิมทำให้ตาสว่าง ซึ่งในคนที่เส้นเลือดผิดปกติอยู่แล้ว ตาอาจมืดไปเลยได้ กลายเป็นบอดทั้ง 2 ข้าง

สำหรับคนเมื่อยคอ วิธีแก้เมื่อย รวมทั้งยังสามารถทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองได้ คือ คอตรง หน้าตรง ดันศีรษะสู้กับฝ่ามือตนเอง 4 ทิศ ซ้ายขวา หน้าหลังเท่ากับ 1 รอบ ดันแรง ดันนาน ๆ ทำวันละ 10-20 รอบ ตอนไหนก็ได้ ช่วยเรื่องกระดูกกดทับเส้นประสาท ปรับโครงสร้างกระดูก เส้นเอ็นให้เข้าที่ ทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง ไม่ต้องไปดึงคอที่โรงพยาบาลเสียเวลารถติด

ข้อสำคัญไม่ต้องกินยาแก้ปวด ซึ่งเป็นการแก้ปลายเหตุ กระเพาะทะลุ ไตพัง และยาแก้ปวดยังทำให้เส้นเลือดหัวใจตันได้

ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น