“โรคหัวใจ” เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยต้องรู้

ใครเป็น "โรคหัวใจ" ต้องรู้ เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดอันตรายต่อชีวิต

รู้หรือไม่ นอกจากอาหาร และการใช้ชีวิตแล้ว ผู้ป่วย “โรคหัวใจ” โรค หลอดเลือด หัวใจ โรค หัวใจ โต ยังต้องระวังเรื่องสุขภาพช่องปากด้วย เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP New

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า สุขภาพช่องปาก เป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจและดูแลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ป่วยเป็น “โรคหัวใจ” เนื่องจาก ปัญหาโรคเหงือกและฟันมีความเกี่ยวข้องกับโรค หัวใจ

หากพบว่า ในช่องปากมีโรคเหงือก ฟันผุ หรือหนองจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน รากฟันอักเสบเป็นหนอง และอาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงหัวใจ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่หัวใจได้

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบการกลืนอาหาร การหายใจ หรือการมองเห็น ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญ ไม่เพียงเพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่องปาก แต่รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากปัญหาสุขภาพช่องปาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากต่าง ๆ

มักเกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วย อาทิเช่น

การสูบบุหรี่

  • ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก
  • และโรคปริทันต์อักเสบ

การรับประทานของหวาน

  • ของว่างระหว่างมื้อบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดฟันผุ
  • ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

การเคี้ยวของแข็ง

  • ส่งผลทำให้ฟันบิ่น หรือฟันแตก

การรับประทานยาหลายชนิด

  • อาจทำให้เกิดภาวะปากแห้ง

การแปรงฟันแรง

  • แปรงฟันไม่ถูกวิธี อาจทำให้ฟันสึก หรือฟันผุ

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปากในอนาคต

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

ข้อควรระวัง และการเตรียมตัวในการทำฟันของผู้ป่วย “โรค หัวใจ”

  • ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าสามารถทำฟันได้หรือไม่ รวมถึงข้อควรระวัง ชนิดของโรค หัวใจที่เป็น และยาที่รับประทานอยู่
  • ต้องแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับชนิดของโรค หัวใจ ยาที่รับประทาน รวมถึงปัญหาที่ผู้ป่วยเคยมีในการทำฟัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวและทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดในการปรับ หรืองดยาละลายลิ่มเลือด การเจาะเลือดก่อนการทำฟัน การรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนทำฟัน และการปฏิบัติตนภายหลังการทำฟัน
  • ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาใด ๆ มาเอง หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือทันตแพทย์

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

วิธีการดูแล และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก

1. แปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มและยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน

2.ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน เพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านประชิดของฟัน

3. ควรพบทันตแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำทุก 6 เดือน หากปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีร่วมกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ ก็สามารถช่วยลดปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาวลงได้

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น