วันที่ 2 ก.ย. 66 นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ (มปปท.) และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “วิรังรอง ทัพพะรังสี” โดยระบุว่า
นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร นั้น ถือเป็นนักโทษชั้นกลาง จึงยังไม่เข้าเงื่อนไขของการขอพักโทษ อีกทั้งจะไม่สามารถขอพระราชทานอภัยโทษได้เพิ่มอีก นั่นหมายความว่าจะต้องโทษจำคุกให้ครบ ๑ ปี และไม่มีการลดหย่อนโทษอีก เพราะถือเป็นพระราชอำนาจเด็ดขาดแล้ว….. กระทรวงยุติธรรม โดยนายวิษุ เครืองาม ได้ทำลายศรัทธาของประชาชนและความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม และความเป็นธรรมในสังคมไทยจนหมดสิ้น…..
วันพฤหัสที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งเป็นการขอส่วนตัว และหนังสือหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษนั้นได้มาถึงรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในวันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖ เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการพระราชทานอภัยลดโทษ นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เหลือจำคุก ๑ ปี มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖
มีประเด็นและข้อสังเกตุ กรณีการขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร ที่ข้าพเจ้าต้องการบันทึกป็นประวัติศาสตร์ ไว้ ณ ที่นี้
๑. ตามระเบียบทั่วไปของกรมราชทัณฑ์ ผู้ต้องขังที่จะขอพระราชทานอภัยโทษส่วนรวมแบบปกติที่ทรงพระราชทานเนื่องในวันสำคัญของทุกๆ ปีนั้น ต้องเป็นนักโทษชั้นดี และได้รับโทษจำคุกแล้วเป็นเวลา ๑ ใน ๓ ของโทษที่ได้รับ สำหรับกรณีนี้ ถ้านักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร จะขอพระราชทานฯ ได้ ก็คือหลังวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ คือต้องติดคุก ๑ ใน ๓ ของโทษที่ได้รับเสียก่อน
แต่นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ “เป็นกรณีพิเศษส่วนตัวเฉพาะราย” ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๙ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๕๙, ๒๖๐ และ ๒๖๑ ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนว่า นักโทษเด็ดขาดทุกคดีมีสิทธิ์ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร จึงไม่ต้องจำคุกเป็นเวลา ๑ ใน ๓ ของโทษ เพราะได้ทำการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
ขอยกตัวอย่างการขอพระราชทานอภัยโทษ “เป็นกรณีพิเศษส่วนตัวเฉพาะราย” ดังนี้
นักโทษที่ศาลฎีกาตัดสินว่าให้ประหารชีวิต นักโทษนั้นมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะถวายฎีกาก่อนที่จะถูกประหารชีวิต
๒. ขั้นตอนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยย่อคือ
๒.๑. ผู้ต้องขังที่ประสงค์ยื่นขอทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา จะต้องกรอกข้อมูลตามแบบคำร้องบังคับของทางเรือนจำฯ และจะต้องเขียนพรรณนาถึงสาเหตุการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้ครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่จะต้องใช้ประกอบการยื่นฎีกา เช่น เอกสารคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับรายคดีของนักโทษ เอกสารรายงานคุณงามความดี ข้อมูลประวัติการรักษา อาการเจ็บป่วย
เรือนจำทัณฑสถานที่ควบคุมนักโทษ ต้องดำเนินการสอบสวนและรวบรวมเอกสารส่งให้กรมราชทัณฑ์นำไปดำเนินการ ส่งไปยังกระทรวงยุติธรรม
๒.๒. แม้ว่าการพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจโดยเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งรัฐธรรมนูญรับรองไว้ แต่เมื่อกระทรวงยุติธรมได้รับหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังรายที่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ตลอดจน “ถวายความเห็นและคำแนะนำ” เพื่อทรงใช้ประกอบพระบรมราชวินิจฉัยในการใช้พระราชอำนาจ
การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา และ “ถวายความเห็นและคำแนะนำ” กรณีของนักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เป็นอำนาจหน้าที่ของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
๒.๓. กระทรวงยุติธรรม ส่งเอกสารไปยังสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี
๒.๔. สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ส่งเอกสารต่อไปยังสำนักราชเลขาธิการ
๒.๕. สำนักราชเลขาธิการ นำความขึ้นกราบบังคมทูล
๒.๖. ทรงมีพระราชวินิจฉัย ผลฎีกา