เปิดเงื่อนไขกฎเกณฑ์การขอพักโทษหลัง “วิษณุ” แย้ม “ทักษิณ” มีสิทธิยื่นขอพักโทษ

เปิดเงื่อนไขกฎเกณฑ์การขอพักโทษหลัง “วิษณุ” แย้ม “ทักษิณ” มีสิทธิยื่นขอพักโทษ ชี้ต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดที่จำคุกมาไม้แล้ว 1 ใน3 ของโทษจำคุกที่ได้รับ 1 ปี คาดไม่เกิน 4 เดือนทักษิณส่อพ้นคุกเหมือนติดจรวด

ความคืบหน้าหลังนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการอภัยลดโทษเหลือโทษจำคุก 1 ปี โดยคำถามต่อจากนี้คือ นายทักษิณมีสิทธิขอรับการพักโทษหรือลดโทษอีกหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมออกมาระบุว่า กรณีนายทักษิณเหมือนถูกศาลตัดสินให้จำคุก 1 ปี นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุก 1 ปีมีสิทธิอะไรนายทักษิณก็มีสิทธิเช่นเดียวกันทุกประการ เช่น ขอพักการลงโทษเมื่อถึงกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด เข้าใจว่าเป็น 1 ใน 3 หรือ 4 เดือน นอกจากนี้รวมถึงกรณีหากมีการออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษเป็นการทั่วไปในโอกาสต่างๆ นายทักษิณก็จะได้สิทธิประโยชน์นั้นด้วย ส่วนในตอนนี้นายทักษิณไม่สามารถทำเรื่องพักโทษได้ เพราะต้องรับโทษมาระยะหนึ่งก่อนจึงสามารถทำเรื่องขอจากคณะกรรมการการพักโทษที่มีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ให้พิจารณาได้

 

 

น่าสนใจยิ่งนักกับสิทธิของนักโทษชายทักษิณที่หลังการได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือโทษจำคุก 1 ปี โดยนายทักษิณสามารถยื่นขอพักโทษได้หากรับโทษจำคุกมาแล้ว 1 ใน 4

ทั้งนี้เมื่อดูความหมายและกฎเกณฑ์เรื่องการพักการลงโทษจะทราบวา การพักโทษ หมายถึง การปลดปล่อยออกไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไข คุมประพฤติที่กำหนด การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่ทางราชการให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ

สำหรัลผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นนักโทษเด็ดขาด

– ชั้นเยี่ยมเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 3
– ชั้นดีมาก เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 4
– ชั้นดี เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 5

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

คำถาม คือว่า เมื่ออยู่ในเกณฑ์พักการลงโทษแล้ว นายทักษิณที่เป็นนักโทษเด็ดขาดจะต้องทำอย่างไรบ้าง โดยภายหลังจากที่เจ้าพนักงานเรือนจำได้ประกาศรายชื่อให้ทราบทั่วกันแล้วว่า มีผู้ใดบ้างอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการพักการลงโทษ นักโทษเด็ดขาดจะต้องปฏิบัติดังนี้
1.เตรียมให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เจ้าพนักงานเรือนจำที่เกี่ยวข้องกับตนเอง พร้อมถิ่นที่อยู่และแจ้งชื่อ ผู้ที่จะรับเป็นผู้อุปการะ

 

2.ทำคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาผ่านเรือนจำ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใดหรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วแจ้งให้ญาติไปติดต่อขอคัดสำเนาคำพิพากษาจากศาลเพื่อส่งให้เรือนจำโดยตรง

3.แจ้งให้ญาติไปติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอให้รับรองความประพฤติตามเอกสาร (พ.3 หรือ พ.4 พิเศษ) แล้วนำมอบให้เรือนจำ

4.เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำรวบรวมเอกสารครบถ้วนแล้วจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการเรือนจำ และส่งเรื่องไปยังกรมราชทัณฑ์ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

5.เมื่อกรมราชทัณฑ์อนุมัติแล้ว จะแจ้งให้เรือนจำทราบเพื่อทำการปล่อยตัวต่อไป

อย่างไรก็ตามระหว่างการคุมประพฤติจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร โดยมีกฎเกณฑ์ว่า ช่วงระหว่างการคุมประพฤติ จะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยม ที่บ้านของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัว เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ ผู้ถูกคุมประพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อ ที่กำหนดไว้หากประพฤติผิดเงื่อนไข จะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิม และจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย

 

สำหรับเงื่อนไข 8 ข้อ มีดังนี้ 1. จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับเรือนจำ

2. ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต

3. ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพย์ติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก

4. ประกอบอาชีพโดยสุจริต

5. ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา

6. ห้ามพกพาอาวุธ

7. ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไม่ใช่ญาติ

8. ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์ และพ้นโทษไปตามคำพิพากษา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป

แหล่งข่าวในกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า เรื่องเกณฑ์อายุของผู้ต้องขัง เช่น กรณีเป็นผู้ต้องขังสูงวัย พ่วงด้วยโรคอาการเจ็บป่วย จะมีในส่วนการได้รับการพิจารณาพักโทษ เรือนจำหรือทัณฑสถานโดยผู้บัญชาการเรือนจำจะดำเนินการตรวจดูเรื่องหลักเกณฑ์ว่า ผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นดีรายใดเข้าเกณฑ์พักโทษและรายงานไปยังอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ท้ายสุดแจ้งให้ผู้ต้องขังรับทราบที่ผ่านมามีบุคคลมีชื่อเสียงหลายรายได้รับการพักโทษและออกมาใช้ชีวิตอยู่ด้านนอก เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัดในการรายงานตัวต่อกรมคุมประพฤติ เช่น กรณีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย หรือกรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นต้น อีกทั้งบางรายอาจติดกำไลอีเอ็มสักระยะ แต่หากคณะกรรมการเห็นว่า มารายงานตัวปกติ ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี จะอนุญาตปลดกำไลอีเอ็ม”

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับเกณฑ์ปกติสำหรับนักโทษเด็ดขาดที่เข้าเกณฑ์การพักโทษ เช่น การเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดี ไม่เคยประพฤติผิดวินัย หรือขณะที่อยู่ในเรือนจำมีความประพฤติดี เรือนจำจะเสนอแจ้งไปยังผู้ต้องขังว่าเข้าเกณฑ์ดังกล่าว

 

นอกจากนี้ระหว่างพักโทษผู้ต้องขังจะอยู่พื้นที่ใดก็ได้ ส่วนใหญ่มักมีเงื่อนไขห้ามก่อคดี ห้ามกระทำความผิดระหว่างคุมประพฤติ เช่น กรณีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ช่วงนั้นมีเงื่อนไขห้ามพูดเรื่องการเมือง ทำให้ในกรณีนายทักษิณ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขเช่นกัน ส่วนเรื่องจำกัดรัศมีกิโลเมตรนั้นแล้วแต่รายบุคคล บางรายอาจถูกเงื่อนไขจำกัดแค่พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ถ้าจะไปต่างจังหวัดต้องแจ้งขออนุญาต ซึ่งการพักโทษเป็นความรับผิดชอบหน้างานกรมคุมประพฤติ เมื่อจบกระบวนการพักโทษค่อยดำเนินการรายงานต่อศาล แล้วเข้าสู่กระบวนการปล่อยตัวตามวันเวลา เพราะถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดสาเหตุพรรคปชน.ส่งผู้สมัคร นายก อบจ.อีก 12 จังหวัด
ระทึก เปิดภาพนาที "ช้างป่า" บุกรื้อค้น ทำลายร้านขายของชำ พังเสียหาย
สำนึกกี่โมง? “พระปีนเสา” ปลุก FC ฮือบุกทำเนียบ-ท้าตี “หลวงพี่น้ำฝน”
ข่าวดี! “กลุ่มเปราะบาง” ดู “หมูเด้ง” เข้าสวนสัตว์ทั่วไทยฟรี 3 ปี
"ธรรมนัส" ยันลงพื้นที่ จ.อุดรธานี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปัดช่วย "ผู้สมัคร" หาเสียงชิ้งเก้าอี้ นายก อบจ.
หิมะขาวตกห่มหิน ราว‘เห็ดหิมะ’ ในจีน
เกาหลีเหนือขู่ขยายกองทัพนิวเคลียร์แบบไร้ขีดจำกัด
“บิ๊กเต่า” พบเส้นเงินใหม่จากบัญชีแม่ ถึงนาย ส.อีก 10 ล้าน จ่อส่งให้ DSI ทำคดีฟอกเงิน
ตำรวจเชิญ “ปานเทพ” ให้ข้อมูลเพิ่ม ฐานะพยาน “คดีทนายตั้ม” รู้เบาะแสแบ่งเงิน 39 ล้าน ให้ใครบ้าง
"ตร.สภ.วังจันทร์" นำตัวผู้ต้องหาฆ่าตัดนิ้วแม่ยายอัยการ ชี้จุดนำทองมาขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น