“อีสท์ วอเตอร์” เปิด 5 มาตรการหลัก แก้ปัญหาภัยแล้งพื้นที่ภาคตะวันออก

"อีสท์ วอเตอร์" เตรียมพร้อมมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อเนื่อง จับมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ประสานงานทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ ย้ำภาคตะวันออกต้องไม่ขาดน้ำ พร้อมชี้แจงกรณีปรากฎรายงานข่าวเรื่องศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนไม่รับคำฟ้อง

วันที่ 4 ก.ย.66 บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ “อีสท์ วอเตอร์” พร้อมสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งแบบบูรณาการ โดยแผนการรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ปัจจุบัน บริษัทมีการเตรียมความพร้อมในพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ในจังหวัดระยอง มีแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 5 โครงการด้วยกัน คือ

1. การสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ดำเนินการร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค โครงการจะสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ ไปยังอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และส่งต่อไปยังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลผ่านระบบคลองผันน้ำของกรมชลประทาน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ระยอง ประมาณการการสูบผันน้ำ 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

2. การสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อีสท์ วอเตอร์ดำเนินการเอง โครงการจะสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ ผ่านระบบท่อส่งน้ำสายหลัก เพื่อส่งน้ำไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ระยอง และชลบุรี ประมาณการการสูบผันน้ำ 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

3. การใช้น้ำจากแหล่งน้ำเอกชนเข้ามาเสริมในพื้นที่ชลบุรี และฉะเชิงเทรา อีสท์ วอเตอร์ได้ดำเนินการพัฒนาสระเก็บน้ำสำรองสำนักบกเพื่อรองรับการสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกงในช่วงฤดูฝน และจัดหาบ่อดินในพื้นที่ชลบุรี เพื่อส่งไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลบุรี และพื้นที่ฉะเชิงเทรา

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

4. การสำรองน้ำจากแม่น้ำบางปะกง เติมอ่างเก็บน้ำบางพระ อีสท์ วอเตอร์ดำเนินการร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกง สูบผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ สูบเฉพาะในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน) เพื่อนำไปเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง โดยมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการสูบน้ำเมื่อมีค่าความเค็มน้อยกว่า 1 กรัมต่อลิตร โดยระบบท่อส่งน้ำสายหลักสามารถสูบน้ำสูงสุดได้ 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

5. การสูบผันน้ำกลับคลองสะพาน เติมอ่างเก็บน้ำประแสร์ อีสท์ วอเตอร์ดำเนินการร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค โครงการจะสูบผันน้ำจากคลองสะพานไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ และผันน้ำต่อผ่านระบบท่อผันน้ำประแสร์คลองใหญ่ และระบบท่อผันน้ำหลองปลาไหล เพื่อส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และส่งต่อไปยังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลผ่านระบบคลองผันน้ำ เพื่อส่งไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ระยอง และพื้นที่ชลบุรี ประมาณการการสูบผันน้ำ 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

นอกจาก โครงการที่ได้กล่าวมา อีสท์ วอเตอร์ ยังมีการลงทุนวางท่อส่งน้ำสายหลักเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก ให้แข็งแกร่ง และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยอีกครั้ง ในส่วนการดำเนินการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันยังคงเป็นส่วนที่อีสท์ วอเตอร์ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ล่าสุดอีสท์ วอเตอร์สนับสนุนงบประมาณให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่าเพื่อใช้ในการขุดลอกคลองบางกระเสนขุดใหม่ ซึ่งเชื่อมต่อจากแม่น้ำบางปะกง เพื่อให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูกสามารถทำนาได้ก่อนที่จะได้ผลกระทบภัยแล้งรุนแรงจากปรากฎการณ์เอลนีโญ่ สามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำนาในฤดูนาปีกว่า 300 ไร่

 

และจากที่ปรากฏเป็นข่าวว่า ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องของบริษัทไว้พิจารณา วันที่ 29-30 สิงหาคม 2566 อีสท์ วอเตอร์ ได้ทำหนังสือชี้แจงไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ว่ากรณีดังกล่าวเป็นการยื่นฟ้องคดีการคัดเลือกเอกชนในโครงการท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออกเมื่อเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งมิใช่กฎหมายที่ราชพัสดุ จึงไม่เกี่ยวข้องและเป็นคนละคดีที่อีสท์ วอเตอร์ ได้ยื่นฟ้องไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง (“คดีเดิม”)

ทั้งนี้ เหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง เพราะเห็นว่าเป็นคำฟ้องและคำขออย่างเดียวกับคดีเดิม ดังนั้น คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดจึงไม่ส่งผลกระทบต่อคดีเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและไม่กระทบต่อฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของอีสท์ วอเตอร์แต่อย่างใด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แกนนำภูมิใจไทย" ผนึกกำลังหาเสียง หนุน "ไสว" ชิงเก้าอี้ เลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจผลงานพรรค
"ดีเอสไอ" จ่อเรียกสอบ 40 วิศวกร คดีตึกสตง.ถล่ม
"ฉก.ลาดหญ้า" ยันเหตุปะทะในประเทศเมียนมา ยังไม่มีผลกระทบชายแดนไทย
บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น