จากกรณีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ระหว่างเข้าสู่วาระการพิจารณาญัตติของให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ที่มี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้เสนอ แต่เนื่องจากญัตติดังกล่าวเป็นญัตติที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับราคาผลิตผลและสินค้าตกต่ำ ซึ่งมีญัตติในทำนองเดียวกันนี้อีก 10 ฉบับ จึงให้พิจารณารวมเป็น 11 ฉบับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่ นายอรรถกร เสนอญัตติจบปรากฎว่า นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นเสนอต่อที่ประชุมว่า ตนเป็นหนึ่งในคนที่ช่วยเหลือเกษตรกรจนถูกดำเนินคดีในการช่วยเกษตรกรขายกุ้งที่สนามหลวง ตนจึงเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ดังนั้น เพื่อเห็นแก่สภาฯแห่งนี้ว่า ทุกคนให้ความสำคัญเช่นเดียวกับพรรคก้าวไกล ตนขอเสนอญัตติให้มีการนับองค์ประชุมโดยมีผู้รับรองถูกต้อง
ทำให้ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นทักท้วงว่า ยังอยู่ในช่วงการให้ผู้เสนอญัตติอภิปราย และวันนี้ไม่ใช่เฉพาะผู้เลี้ยงกุ้ง แต่เป็นเกษตรกรพืชผลการเกษตร ทั้งหมดรอฟังแนวทางการแก้ไขปัญหา ถ้าสส.พรรคก้าวไกลเห็นว่า เรื่องนี้ไม่สำคัญแล้วจะนับองค์ประชุม ทั้งๆที่ญัตติยังเสนอกันไม่ครบ ตนเห็นว่า ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ที่กำลังรอการแก้ไขอยู่ อีกทั้งได้สรุปกันตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมว่า จะต้องเลื่อนการพิจารณาญัตติดังกล่าวมาในวันนี้ จึงอยากให้ประธานดำเนินการให้เสร็จสิ้น
จากนั้น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นประท้วงประเด็นที่ถูกพาดพิงเพราะทำให้พรรคฯ เสียหายและขอให้แพนกล้องไปรอบๆห้องประชุมว่า สส.ฝั่งไหนเยอะกว่ากัน ยืนยันขอให้นับองค์ประชุม ทำให้ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปรายว่า ถ้าประธานอนุญาตพรรคก้าวไกล ตนก็เสนอให้มีการขานชื่อ ซึ่งมีผู้รับรองถูกต้อง
ภายหลังการประชุมสิ้นสุดลง ทางพรรคก้าวไกล ได้แถลงถึงสาเหตุที่การประชุมล่ม โดยนายวิโรจน์ ได้ท้าให้ไปดูที่ลานจอดรถ ว่ามีสส.มาทั้งหมดกี่คน บางคนหนีกลับตั้งแต่เริ่มประชุมได้ไม่นานด้วยนั้น