รู้ไส้ “ชมรมแพทย์ชนบท” สัมพันธ์ตระกูล ส.สู่งบโควิด19

รู้ไส้ "ชมรมแพทย์ชนบท" สัมพันธ์ตระกูล ส.สู่งบโควิด19

กลายเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายออกมาให้ความสนใจ เมื่อ แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (สพอท.) “เปิดหน้า” ท้าชน ชมรมแพทย์ชนบท สำนักงานหลักประกันสุขภาพ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยการ “อัดคลิป” แฉแหลกการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อ ATK จำนวน 1,014 ล้านบาท

แพทย์หญิงอรพรรณ์ บอกกับ ท็อปนิวส์ ว่า ที่ต้องออกมาพูดเพราะเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ชอบมาพากล และเกิดข้อสงสัย จึงอยากสื่อสารไปยังประชาชน เพื่อให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้คนไทยทุกคนกำลังได้รับ “ความทุกข์” อย่างแสนสาหัส จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในขณะที่มีหน่วยงานบางหน่วยงาน คนอ้างกลุ่มบางกลุ่ม กลับมองเห็น “โอกาส” เข้ามาซ้ำเติมโดยหวังฉกฉวยงบประมาณ จำนวนมหาศาล

โดยเฉพาะเมื่อผลการประมูล ATK ออกมา ปรากฎว่ามีกลุ่ม “ชมรมแพทย์ชนบท” ที่ออกตัว “แรง” ออกมาคัดค้านและข่มขู่ พร้อมเปิดข้อมูลว่า ATK ที่ บริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เหลือชุดละ 70 บาท นั้นเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)

เรื่องนี้มีเงื่อนงำ เป็นที่สงสัยของ “บุคลากรทางการแพทย์” จำนวนมาก ว่าชมรมแพทย์ชนบท จริง ๆแล้วไม่มีตัวตนหรือไม่ พร้อมยืนยันว่าเมื่อประมาณสามสิบกว่าปีก่อน มีโอกาสได้เข้าไปทำงานใน “สถานีอนามัย” และเคยเป็นสมาชิกของชมรมแพทย์ชนบทมาก่อน จึงรู้ว่าขณะนี้ชมรมแพทย์ชนบทไม่ได้มีสมาชิกคับคั่งและมีเพียงคนสามคนที่ออกมา “วิพากษ์วิจารณ์” เท่านั้น ที่มีบทบาทในชมรมแพทย์ชนบท

ถ้าเอ่ยถึงชื่อชั้น ของชมรมแพทย์ชนบท ต้องย้อนหลังไปเมื่อสามสิบสี่สิบปีก่อน ในเวลานั้น สังคมส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ และเชื่อมั่น ชื่อ “แพทย์ชนบท” เป็นคำที่ใครได้ยิน ได้ฟัง แล้วจะรู้สึกถึงความ “เข้มขลัง ความมีพลัง” เพราะในอดีตเป็นกลุ่มแพทย์ ที่เสียสละทำงานเพื่อชนบท มีภาพเป็นคนดี เสียสละเพื่อผู้ยากไร้ เป็นผู้ชูธงการปฏิรูประบบสาธารณสุข ทำให้มีผลงานในเชิงประจักษ์ จนมีต้นทุนทางสังคมที่สูงมาก

ในสมัยนั้น ชมรมแพทย์ชนบท เป็นที่รวมตัวของบรรดาคุณหมอ ในโรงพยาบาลชุมชน มีเป้าประสงค์ร่วมกันคือต้องการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อสังคม และยังมีการเปิดโปงการทุจริตต่างๆในกระทรวงสาธารณสุขออกมาอย่างเนือง ๆ ก็ต้องยอมรับว่า อุดมการณ์ที่จุดประกายตั้งแต่แรกเริ่มนั้น เป็นสิ่งที่ดีและน่ายกย่อง แพทย์ชนบทมามีบทบาทมากที่สุดในกระทรวงสาธารณสุข ในรุ่นกลุ่ม “หมอยังเติร์ก” ที่แตกหน่ออ่อนมาจากยุค 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 คือมีแนวคิดการเมืองที่ต้องการความยุติธรรมให้กับสังคม มีบทบาทการเคลื่อนไหวกับกลุ่มนักศึกษาสมัยนั้น

กลุ่มนี้มี นายแพทย์ สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลาธิการ สปสช.คนแรก นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ / นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ / นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ / นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ดูแค่ชื่อชั้นแล้วก็รู้ว่า “มีต้นทุนทางสังคมสูง” รวมถึงบุคคลเบื้องหลัง อย่าง นายแพทย์ ประทีป ธนกิจเจริญ ผู้วางรากฐานการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเป็นรองเลขาธิการ สปสช. คนแรก ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” คนล่าสุด

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เคยตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชมรมแพทย์ชนบท และสำนักงานตระกูล ส. เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ระบุว่า องค์การ กลุ่มตระกูล ส. ตั้งโดยพระราชบัญญัติแยกออกมาต่างหากจากส่วนราชการ มีอำนาจในการออกประกาศเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบการเงิน ไม่ใช้วิธีการเดียวกับระบบราชการ แต่ยังใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ที่ผ่านมา

ที่ผ่านมาจะมีรายชื่อของส่วนราชการต่าง ๆ เข้ามาเป็นกรรมการ ในสำนักงานตระกูล ส. สับเปลี่ยนหมุนเวียนตามอำนาจหน้าที่ ที่ดำรงตำแหน่งในกระทรวง ทบวง กรม นั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงเลยคือองค์กรภาคเอกชน หรือ NGO จะมีรายชื่อคนเก่า หน้าเดิมซ้ำ ๆถูกแต่งตั้งมาต่อเนื่องนับจากมีการตั้งสำนักงานตระกูล ส.กำเนิดขึ้น

เรื่องนี้ ดร.อานนท์ เคยเชื่อมโยง ให้เห็นภาพระหว่าง องค์การเอกชน ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มตระกูล ส เช่น ชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งสมาชิกแทบทุก ต่างเคยเป็นสมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งประธานชมรมแพทย์ชนบทมาแล้วทั้งสิ้น จึงได้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทที่ผ่านมา จะสอดคล้องกับตระกูล ส. โดยตลอด จึงไม่แปลกหากจะมีคนเริ่มสงสัยเคลือบแคลงว่าการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องของตน

เคยปรากฎเป็นข่าวโด่งมาตลอด ในประเด็น “ผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลชนบทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเมื่อ 20 กว่าปีก่อนอยู่ในพื้นที่สีแดงเป็นพื้นที่ชนบทจริง แต่ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น จนมีถนนคอนกรีตหน้าโรงพยาบาลกว้างสิบเลน มีธนาคารพาณิชย์ในอำเภอนั้นเป็นสิบๆ แห่ง เช่นเดียวกันกับร้านสะดวกซื้อ แต่โรงพยาบาลก็ยังไม่ยอมยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป เพราะได้ค่าตอบแทนเพิ่มจากการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน เดือนละหลายๆ หมื่นบาท แต่สุดท้าย พอถึงยุค คสช. มีการตั้งคณะกรรมการมากมายมาตรวจสอบ ก็จำใจให้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุข ก็เปลี่ยนนิยามคำว่า ชนบท เสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงเพราะทุกวันนี้ ไปไหนมาไหนสะดวกมาก คำว่าชนบทนั้นแตกต่างจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิง

ในอดีตความแข็งแกร่งของแพทย์ชนบท ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน กระทั่ง นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ มาเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท เริ่มมีการเคลื่อนไหวผลักดันให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ได้ C9 และเพิ่มค่าตอบแทนเบี้ยงเลี้ยงเหมาจ่าย ที่เป็นที่มาของมหากาพย์ “พีฟอร์พี” (Pay For Performance : P4P) คือเพิ่มเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน ในครั้งนั้นนายแพทย์ เกรียงศักดิ์ ถูกมองจากกลุ่มแพทย์ อีกกลุ่มว่าการเคลื่อนไหวนั้นทำเพื่อพวกพ้องของตัวเอง

โดยเฉพาะการหันกลับไปจับไม้จับมือ กับทักษิณ ชินวัตร ร่วมกันก่อตั้ง สำนักงาน “ตระกูลสอ” เช่น สปสช. สสส. สช. สพฉ. ฯลฯ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ล้วนมี “งบประมาณมหาศาล” จึงได้เห็นคนจากชมรมแพทย์ชนบท เข้ามามีอำนาจ บทบาทใน “ตระกูล สอ” อย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่ปัจจุบัน ยังอาศัยสถานการณ์โควิดระบาด เข้ามาหา “ล้วงงบประมาณ” จาก สปสช. ที่มีเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ฉุกเฉินฯ ในสถานการณ์โควิด ทั้งการตรวจเชิงรุก การขัดขวางการจัดซื้อ ATK การรับรักษาผู้ป่วยโควิดในโครงการโฮมไอโซเลชั่น

อย่างเช่น นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.มหาราชนครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งปัจจุบัน ยังนั่งตำแหน่งประธานคณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)ที่เป็นข่าวครึกโครมในช่วงโควิดระบาดหนัก สปสช.เริ่มสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข โดยการเปิดจุดตรวจคัดกรองเชิงรุกโดยใช้ ATK โดยสปสช. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจ

ต่อมาปรากฏภาพ “แพทย์ชนบท”บุกกรุง เพื่อระดมตรวจในทุกเขต และก็ภาพ แพทย์ชนบทบุกกรุงนี่เอง เราจึงได้เห็นภาพความสัมพันธ์ของชมรมแพทย์ชนบทและพรรคก้าวไกลตรวจเชิงรุกร่วมกัน โดยงบประมาณเบิกจ่ายจาก สปสช. และต่อมาก็มีการเสนอจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจด้วยตนเอง ATK 8.5 ล้านชิ้น จนนำมาสู่การประชุมกำหนดสเปคชุดตรวจ และนำสู่การประมูล เราก็จะได้เห็นการแอคชั่น กดดัน ข่มขู่ ดังเช่นคลิปเสียงของ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ประธานที่ปรึกษา ชมรมแพทย์ชนบท เพื่อต้องการให้ได้ใน ATK กลุ่มของตนเองต้องการ

นอกจากค่าตรวจ ATK 450 บาท/คนแล้ว บางโรงพยาบาลยังอาสาขอรับผู้ติดเชื้อเข้าไปดูแลต่อแบบ Home Isolation เพิ่มอีกด้วย ซึ่งการรับผู้ป่วยดูแลจะมีค่าดำเนินการให้ รายละ 15,400 บาท และทางโรงพยาบาลสิชล ก็ขอรับดูแลผู้ป่วยกว่า 18,920 คน ท่ามกลางข้อกังขาว่า จะดูแลโทรศัพท์สอบถามให้ทั่วถึงได้อย่างไร และถ้ามีผู้ป่วยที่อาการหนักจะรับรักษาให้ได้ทันท่วงทีได้อย่างไร นี่ก็ยังเป็นข้อกังขาอยู่

ขณะเดียวกัน แพทย์หญิงอรพรรณ์ ยืนยันว่า แพทย์ที่ทำงานจริงในพื้นที่ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ หรือพื้นที่ทุรกันดารจริง ยังมีอยู่มาก และแพทย์ที่ทำงานหนักมากคือแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชายขอบ คนทำงานระดับล่าง แพทย์ผู้น้อย แพทย์เพิ่มพูนประสบการณ์ พยาบาล เภสัชใหม่ และบุคลากรสาธารณสุข พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้สังกัดชมรมแพทย์ชนบท

เรื่องดังกล่าว กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ในปัจจุบันจึงรู้ดีว่า ชมรมแพทย์ชนบท ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล และผู้ที่มีบทบาทจริง ๆ ในการใช้ชื่อ ชมรมแพทย์ชนบท เดินเรื่องผลักดัน ในประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ ตอนนี้มีเพียง 3 คน คือ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.มหาราช นครราชสีมา อดีตประธ และนายแพทย์ อารักษ์ วงศ์วรชาติ และนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน

แพทย์หญิงอรพรรณ์ ระบุว่า ตอนนี้ส่วนตัวเชื่อว่าคนในวงการสาธารณสุข และคนในสังคมจำนวนมาก “รู้เท่ากัน” เกมของคนกลุ่มนี้แล้ว ไม่เช่นนั้น การออกมาเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทในครั้งนี้ คงจะมีแรงสะท้อนจากสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น