เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 7 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังชายหาดทะเลบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี หลังทราบข่าวว่ามีปลาตายเกลื่อนริมหาดทะเลบางแสน เมื่อไปถึงพบว่าบบรยากาศเงียบไม่มีนักท่องเที่ยวตามแนวริมทะเลชายหาด พบว่ามีปลาใหญ่ ปลาเล็ก ที่บางชนิดมีราคา ค่อนข้างแพง ตายเกลื่อนจำนวนมาก ที่ชาวบ้าน และผู้ประกอบการ ได้ต่างจับกลุ่มวิจารณ์กัน ว่า มีปลาบางชนิดเป็นปลาน้ำลึก น่าจะหนีคราบน้ำมันในพื้นที่อำเภอศรีราชา แต่มาเจอปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ เลยขึ้นมาตายบนชายหาดบางแสน
จากการสอบถามนายภันทร เสลา อายุ 36 ปี นักท่องเที่ยวมาจากจังหวัดอุทัยธานีกำลังเก็บเอาปลาใส่ในถุงจำนวน2ถุงและได้บอกกับทางผู้สื่อข่าวว่าตนได้มาเที่ยวทะเลบางแสนแต่เห็นน้ำสีเขียวไม่กล้าลงเล่นพอมาเห็นปลาตายเกลื่อนตนก็จะเก็บไปตากแดดให้แห้งไว้ทำอาหารให้แมวกินเพราะคนคงไม่กล้ากินจึงเอาไปให้แมวดีกว่า
ด้าน ร้อยตรีโสภณ คล่องอาสา อายุ 64 ปีชาวบ้านในพื้นที่ได้เปิดเผยว่าสาเหตุเพราะเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้น้ำเป็นสีเขียวและน้ำมีกลิ่นแรงมากเมื่อก่อนนานๆจะมีครั้งแต่ครั่งนี้มีมรสุมพัดเข้ามาในประเทศไทยทำฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำจืดไหลลงทะเลทำให้ปลาน็อคน้ำตาย ส่วนข่าวที่น้ำม้นรั่วตนยังไม่เห็นมีคราบน้ำมันไหลเข้ามาในบางแสน คาดว่าน่าจะมีการควบคุมเอาไว้ได้แล้ว
ทางด้านนายอศลย์ มีนาภา ตำแหน่งนักวิจัยระดับปฏิติการ ฝ่ายวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่พบว่ามีปลาตายเกลื่อนจำนวนมากริมชายหาดทะเลบางแสนเป็นเพราะปรากฏการณ์แพลงตอนบูมเพราะแพลงตอนเป็นพืชทะเลชนิดหนึ่งที่คอยทำอ๊อกซิเจนให้กับน้ำทะเลพอแพงตอนทำอ็อกกเจนมากก็มีการตายแล้วทำให้น้ำทะเลเป็นเสีเขียว เมื่อตายเยอะสิ่งส่งผลให้น้ำยิ่งเขียวมาก จึงทำให้น้ำขาดอ๊อกซิเจนเมื่อไม่มีอ๊อกซิเจนปลาก็ขาดอากาศหายใจก็ทำให้ปลาตายลอยเกลื่อน ส่วนแพลงตอนบูมจะเกิดนานไหมไม่มีใครตอบได้ เพราะตอนนี้มีมรสุมพายุเข้าทำให้น้ำจืดไหลลงทะลต้องรอให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน ส่วนน้ำมันที่รั่วไหลยังไม่มีการรายงานว่าจะเข้ามาในเขตบางแสน