“นิพิฏฐ์” ยกคำวินิจฉัยศาลฎีกา ไขอายุความคดี “อิทธิพล คุณปลื้ม” จะนับย้อนหลังได้หรือไม่

"นิพิฏฐ์" ยกคำวินิจฉัยศาลฎีกา ไขอายุความคดี "อิทธิพล คุณปลื้ม" จะนับย้อนหลังได้หรือไม่

8 ก.ย. 2566 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ *คดีอาญานับอายุความย้อนหลังได้หรือไม่” โดยระบุว่า

มีข่าวใหญ่เรื่อง พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอออกหมายจับอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งคดีจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566

ปัญหามีว่า คดีนี้เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 และคดีนี้มีอายุความ 15 ปี ซึ่งจะขาดอายุความในวันที่ 10 กันยายน 2566

ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ศาลออกหมายจับใหม่ อ้างว่า ผู้ต้องหาหลบหนี เพราะตามกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ ปี 2561 มาตรา 7 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 13 หากหลบหนีระหว่างคดีจะไม่นับอายุความ (ไม่ขาดอายุความ)

 

นิพิฏฐ์' เรียกลูกสาวกลับจากอังกฤษ หลังขาดแคลนอุปกรณ์ป้องโควิด ยันสถานการณ์ไทยยังดีกว่ายุโรป - สยามรัฐ

ข่าวที่น่าสนใจ

แล้วคดีนี้ จะนับอายุความอย่างไร? เห็นว่า

1.คดีนี้ เหตุเกิด 10 กันยายน 2551 ขณะนั้นยังไม่มีเรื่องการไม่นับอายุความเพราะหลบหนี จึงต้องนับอายุความทั่วไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 เมื่อไม่ได้ตัวมาฟ้องภายในอายุความ (คือ 15 ปี) จึงขาดอายุความ

2.แม้อายุความไม่ใช่โทษทางอาญา แต่การนำอายุความย้อนหลังมาใช้กับคดีที่เกิดก่อนกฎหมายบังคับใช้ ศาลไทยก็เคยวินิจฉัยไว้ว่า จะนำอายุความมาใช้ย้อนหลังไม่ได้

3.ศาลฎีกา เคยวินิจฉัยไว้ ไม่ให้นำอายุความมาใช้ย้อนหลัง และยืนแนวนี้มาตลอด คือ ฎีกาที่ 17905/2557, ฎีกาที่ 9955/2558, ฎีกาที่ 10166/2558, ฎีกาที่ 10616/2558, ฎีกา (ประชุมใหญ่ ที่ 14/2560, คดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อม.ที่1/2551 และ อม.4/2551

กล่าวโดยสรุป เห็นว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีจนเลยวันที่ 10 กันยายน 2566 แม้ศาลอาญาทุจริต (ศาลชั้นต้น) จะออกหมายจับใหม่ การจับตามหมายจะชอบหรือไม่ชอบ ก็คงต้องสู้เรื่องนี้กันก่อนจนถึงศาลฎีกา และหากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจับได้ เนื่องจากอายุความยังไม่ขาด ก็ต้องกลับคำวินิจฉัยเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยไว้ทั้งหมด ขอยกคำวินิจฉัยเดิมที่เคยวินิจฉัยไว้ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 14/2560 ความว่า” บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันยื่นฟ้อง ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 25 ไม่นำมาใช้บังคับแก่คดีที่ยื่นคำร้องไว้ แต่ยังไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามายังศาลจนครบอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95″

4.การสู้กันตามหลักกฎหมาย สู้ไปเถอะครับ ไม่ผิดอะไร หนีเพียง 3 วัน ให้ขาดอายุความ ง่ายกว่าหนี 17 ปี แล้วกลับมานอนโรงพยาบาล

 

 

 

ผมเขียนเรื่องนี้ มิใช่เพราะผู้หลบหนี เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นหลังผม แต่เห็นว่า เรื่องนี้มีอะไรแปลกๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่แปลกอย่างไร อย่าเขียนดีกว่า

อย่าลืมนะครับ เราอยู่ในประเทศไทย ที่ไม่มีอะไรแน่นอน

กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่มีความแน่นอน ดีกว่ากฎหมายที่เป็นธรรมแต่มีความไม่แน่นอน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีน-มาเลเซียถกความร่วมมือเศรษฐกิจรับมือภาษีสหรัฐ
"นักวิชาการชีวเคมี" ย้ำไทย-สหภาพยุโรป ห่วงสุขภาพปชช. ไม่อนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงในการผลิตเนื้อหมู เสี่ยงต่อสุขภาพผู้บริโภค
"นายกฯ" ขึ้น ฮ. บินสำรวจสภาพจราจร ถนนมิตรภาพ - พระราม 2  เตรียมพร้อมปชช.เดินทางช่วงสงกรานต์
"ชัชชาติ" ยันเร่งเร็วสุด แจงรออัยการตอบข้อกม.จ่ายหนี้รถไฟฟ้าสีเขียว หยุดภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้าน
ไทยโชว์พลังซอฟต์พาวเวอร์! สวนนงนุชนำขบวนดอกไม้ไทยร่วมเทศกาลระดับโลกที่เนเธอร์แลนด์
นักท่องเที่ยวแห่บุรีรัมย์ "ชิดชนก" จัดเต็มสีสันผ้าไทยรับสงกรานต์ เม็ดเงินสะพัด 40 ล้าน
"นฤมล" ย้ำจุดยืนปกป้องเกษตกร ไม่ยอมนำผลประโยชน์คนไทย เป็นเงื่อนไขแลกเจรจา "ภาษีทรัมป์"
"สก.นภาพล" จี้ "ชัชชาติ" เร่งเคลียร์หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว เสียดายภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้าน ควรใช้นำพัฒนากทม.
เวียดนามเริ่มเจรจาการค้าปมภาษีตอบโต้กับสหรัฐแล้ว
มูลนิธิมาดามแป้ง มอบอาหารและของใช้จำเป็น มูลค่า 100,000 บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เมียนมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น