รู้จัก โรค "ไข้หวัดใหญ่" ติด Top 3 โรคยอดฮิตที่คนป่วยมากที่สุดในช่วงนี้ เช็ค 7 อาการเข้าข่าย พร้อมไขข้อสงสัยต่างจากหวัดธรรมดายังไง
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้จัก โรค “ไข้หวัดใหญ่” คืออะไร
- เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza Virus) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและระบบอื่น ๆ
- แต่มีความแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจทั่ว ๆ ไป เนื่องจาก อาการของไข้ หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรงและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น
- โรคปอด
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายที่ไม่แข็งแรง
อาการของไข้ หวัดใหญ่
อาการของระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้น ได้แก่
- ไข้
- ปวดศีรษะและบริเวณเบ้าตา
- ปวดเมื่อยตัว
- อ่อนเพลีย
- ไอแห้ง ๆ
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
นอกจากนั้นก็ยังมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ในรายที่มีรุนแรงก็อาจมีอาการของภาวะแทรกซ้อนเข้ามา เช่น
- มีน้ำมูก หรือเสมหะข้น เหลือง หรือเขียว
- ปวดหู หูอื้อ
- หายใจเหนื่อยหอบ
- หายใจมีเสียงหวีด
- ไอรุนแรง
- รู้สึกหนาวสั่น ซึม
- มึน งง และ/หรือหัวใจล้มเหลว
นอกจากนี้ สิ่งที่ควรรู้ คือ ในเด็กอาการอาจแตกต่างกับในผู้ใหญ่ เช่น
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
โดยในประเทศไทยมีโอกาสในการเกิดโรคได้ตลอดทั้งปี แต่จะชุกชุมมากในฤดูฝน
ไข้ หวัดใหญ่ แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?
โดยทั่วไปลักษณะค่อนข้างคล้ายไข้หวัดธรรมดา
- เพียงแต่อาจมีอาการหนักกว่า และยาวนานกว่า เช่น
- ไข้สูง และนานกว่า
- ปวดเมื่อยตามตัวมากกว่า
- อ่อนเพลียมากกว่า
- และมักเป็นแบบทันทีทันใด ไม่ใช่อาการค่อยเป็นค่อยไปทีละอย่างเหมือนไข้หวัดธรรมดา
ไข้ หวัดใหญ่อาจมีอาการนานถึง 6-10 วัน ในขณะที่ไข้หวัดธรรมดาอาจมีอาการเพียงไม่กี่วันเท่านั้น นอกจากนี้ ไข้ หวัดใหญ่ยังเสี่ยงจะมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า จึงทำให้บางครั้งผู้ป่วยไข้ หวัดใหญ่อาจต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อคอยดูอาการ ป้องกันอาการแทรกซ้อน และการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
กลุ่มไหนมีความเสี่ยงบ้าง
- กลุ่มภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ดีพอ แต่คนที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น
- โรคปอดเรื้อรัง
- หอบหืด
- หัวใจ
- เบาหวาน
- และกลุ่มผู้สูงอายุ
โดยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
- ปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
- ภาวะขาดน้ำ
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่แย่ลง เช่น ภาวะหัวใจวายในรายที่มีภาวะ
- แทรกซ้อนที่รุนแรงอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันโรคไข้ หวัดใหญ่
- ฉีดวัคซีนไข้ หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย
- ล้างมือบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสจมูก ตา ปากของตัวเองหากสัมผัสกับผู้ป่วย
- หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ควรอยู่ห่างจากผู้อื่น
- ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
ใครควรรับวัคซีน
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยอายุระหว่าง 19 – 64 ปีที่มีโรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
- ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจากโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อมูล : bangkokhospital
Studio7 : MacBook Air M1 Dis5800 + Apple Care Dis20%
MacBook Air M1 โปรพิเศษ ใครก็เป็นเจ้าของได้!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-