“ดร.สามารถ” สวนคำ “สุริยะ” ชี้ชัดทำได้ทันที รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย

"ดร.สามารถ" สวนคำ "สุริยะ" ชี้ชัดทำได้ทันที รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย

จากกรณีเมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ชี้แจงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในการแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ว่า เมื่อเข้าไปรับตำแหน่ง รมว.คมนาคม มีหลายโครงการเป็นโครงการสมัยรัฐบาลที่แล้ว เช่น MR-MAP และ Land bridge ต้องศึกษาทบทวนว่ามีอะไรที่ดีที่จะต้องทำต่อ และอะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องทบทวน

 

 

ส่วนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง จะดำเนินการต่อไป และยืนยันว่านโยบายนี้จะเริ่มทำทันที เพื่อสร้างโอกาสความเท่าเทียมให้กับประชาชน โดยจะรวบรวมสัมปทานเดินรถของเอกชนทุกราย ทุกเส้นทาง แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจากับผู้ที่ได้รับสัมปทานทุกราย ซึ่งการเจรจามีรายละเอียดหลายเรื่อง อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะดำเนินการนโยบายนี้ทันที ในส่วนการดำเนินการที่เป็นสัญญาสัมปทานกับเอกชนเป็นส่วนที่ใช้ระยะเวลาในการเจรจา

แต่ในส่วนที่เป็นโครงการเส้นทางที่อยู่ในการเดินรถของรัฐ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-รังสิต รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร 13 สถานี ราคาปัจจุบัน 14-42 บาท และสายสีม่วง บางซื่อ-คลองบางไผ่ ระยะทางรวม 23 กิโลเมตร 16 สถานี ราคาปัจจุบัน 14-42 บาท จะปรับราคาเป็น 20 บาทตลอดเส้นทาง โดยพยายามเร่งผลักดันให้ดำเนินการในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้ประชาชน

นายสุริยะ กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นปัญหาต่าง ๆ ต้องรอกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ โดยกระทรวงคมนาคมพร้อมให้การสนับสนุนบนหลักการของความถูกต้อง

ส่วนกรณีสายสีส้ม โครงการ MR-MAP และโครงการ Land Bridge นั้น เนื่องจากตนเองเพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง จึงขอตรวจสอบในรายละเอียด ทั้งมิติของกฎหมาย มิติของประโยชน์ที่จะเกิดกับพี่น้องประชาชน และขอรับรองว่าจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดทางด้านดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า

 

 

 

20 บาทตลอดสาย “แบบไม่ตรงปก” ทำได้ทันที ไม่ต้องรอถึงปีใหม่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ตอบข้อซักถามกรณีค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในการแถลงนโยบายรัฐบาลว่าจะเริ่มนำร่องสำหรับสายสีแดงและสายสีม่วง เป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ผมเห็นว่าถ้าทำเฉพาะ 2 สายนี้ ไม่สามารถนั่งข้ามสายได้ ซึ่งไม่ “ตรงปก” สามารถลงมือทำได้ทันที ไม่ต้องรอถึงปีใหม่ ส่วน “แบบตรงปก” ซึ่งจะนั่งกี่สาย กี่สีก็ได้ ไม่ควรให้รอนานถึง 2 ปี

 

1. รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร
ค่าโดยสารในปัจจุบัน 12-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างรังสิต-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.02 บาท (42/41)

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางจากบางเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร
ค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างเตาปูน-บางใหญ่ (คลองบางไผ่) ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตรจะเท่ากับ 1.83 บาท (42/23)

 

3. รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “แบบไม่ตรงปก” สำหรับสายสีแดงและสายสีม่วง จะต้องรอถึงปีใหม่หรือ ?
รมว.คมนาคม ชี้แจงในระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลว่า จะเร่งผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เฉพาะสายสีแดงและสายสีม่วงเป็นสายนำร่องให้ได้ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้ผู้โดยสาร กรณีนี้หากผู้โดยสารจ่าย 20 บาท เพื่อใช้สายสีแดง (หรือสายสีม่วง) เมื่อเปลี่ยนไปใช้สายสีอื่นจะต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าโดยสารของสายนั้นๆ ซึ่ง “ไม่ตรงปก” แต่ก็ยังถือว่าดีที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าเดินทางให้ผู้โดยสารได้บ้าง
แต่ผมเห็นว่าไม่ต้องรอถึงปีใหม่ สามารถเริ่มได้ทันที เริ่ม 1 ตุลาคม 2566 ก็ได้ เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ เป็นการลงทุนทั้งหมดโดยภาครัฐ ไม่มีเอกชนร่วมลงทุน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเจรจากับเอกชน เพียงแค่ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และประชาสัมพันธ์เท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไม่นาน

 

4. รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “แบบตรงปก” ต้องรอนานถึง 2 ปี หรือ ?
รมว.คมนาคมเคยให้สัมภาษณ์ว่า รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะใช้รถไฟฟ้ากี่สายก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนสายและจำนวนสี ซึ่งถือว่าเป็น “แบบตรงปก” (แต่ไม่ได้บอกว่าจะสามารถใช้ได้ภายในระยะเวลากี่ชั่วโมง) ผู้โดยสารจะต้องรอถึง 2 ปี แต่ผมเห็นว่าควรใช้เวลาประมาณ 1 ปีเท่านั้น และควรแต่งตั้ง “คณะกรรมการกำกับกิจการรถไฟฟ้า” ขึ้นมาเป็นอันดับแรก ตามที่ผมได้ให้สัมภาษณ์หลายรายการไปแล้วก่อนหน้านี้ ผมดีใจที่ รมว.คมนาคมชี้แจงในระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา ซึ่งตรงกับข้อเสนอของผม
คณะกรรมการฯ มีหน้าที่เจรจาต่อรองกับผู้เดินรถไฟฟ้า โดยควรเริ่มเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ก่อน เพราะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุด หาก BTSC ยอมรับข้อเสนอจากภาครัฐ คาดว่าผู้เดินรถรายอื่นก็คงยอมเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้จากค่าโดยสารให้ผู้เดินรถแต่ละราย รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการชดเชยส่วนต่างรายได้ให้ผู้เดินรถแต่ละรายอีกด้วย

 

รมว.คมนาคม เข้าใจว่าหากลดค่าโดยสารลง จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แล้วจะส่งผลให้ผู้เดินรถไฟฟ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ภาครัฐจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผู้เดินรถ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย แม้จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่รายได้จะลดลง เพราะค่าโดยสารลดลงจากอัตราในปัจจุบันมาก ซึ่งจะทำให้รายได้ลดลง ดังนั้น ภาครัฐจะต้องชดเชยให้ผู้เดินรถ

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น