Sir Ian Wilmut ผู้สร้าง “แกะดอลลี่” เสียชีวิตในวัย 79 ปี

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

อาลัย Sir Ian Wilmut นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้าง "แกะดอลลี่" สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตในวัย 79 ปี

อาลัย ศาสตราจารย์ Ian Wilmut นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้กำเนิด “แกะดอลลี่” การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่ สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตในวัย 79 ปี  ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

วงการวิทยาศาสตร์สูญเสียบุคคลสำคัญอีกครั้ง เมื่อนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist) ชื่อดังก้องโลกอย่าง Sir Ian Wilmut ผู้ให้กำเนิด “แกะดอลลี่” สัตว์โคลนนิ่งตัวแรกของโลก เสียชีวิตแล้วในวัย 79 ปี

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นผลงานอันโด่งดังที่เกิดขึ้นในปี 1996 โดย Sir Ian Wilmut เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ที่สามารถสร้างสิ่งมีชีวิตแบบที่ไม่ต้องผสมพันธ์ุกัน (ระหว่างไข่และอสุจิ) แต่ใช้วิธีโคลนนิ่งตัดต่อพันธุกรรมแทน โดยใช้นิวเคลียสของเซลล์ร่างกายฝากไว้ในเซลล์ไข่ แล้วฝากไว้ในท้องของแม่อุ้มบุญ

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

 

ผ่านการทดลองและวิจัยกว่า 277 ครั้ง และความพยายามตั้งครรภ์ในแม่อุ้มบุญอีกว่า 13 ตัวต่อครั้ง จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ เกิดเป็น แกะ ดอลลี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 1996 แต่สุดท้าย แกะ ดอลลี่ ก็มีอายุอยู่ได้แค่ 6 ปีเท่านั้น จากปัญหาสุขภาพ

แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จครั้งหนึ่งในปี 1996 ถึงแม้จะดูเป็นข่าวดี แต่ก็กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ประชาชนหวาดกลัวว่าจะเกิดการโคลนนิ่งในมนุษย์ขึ้น จนประธานาธิบดี Bill Clinton สั่งแบนการใช้เงินรัฐบาลกลางในการวิจัยโคลนนิ่งมนุษย์

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

ผลงานของ Sir Ian Wilmut

ปี 2005

  • นอกจากเจ้าแกะ ดอลลี่แล้ว ในปี 2005  Wilmut ก็ได้วิจัยทางการแพทย์ เป็นหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่มหาวิทยาลัย Edinburgh
  • หันมาเน้นการใช้เทคนิคการโคลนนิ่ง เพื่อสร้างสเต็มเซลล์ ที่สามารถนำไปใช้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ และรักษาโรคทางพันธุกรรมและความเสื่อม ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายได้

ปี 2008

  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางชั้นอัศวิน จากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เป็นท่านเซอร์คนใหม่แห่งอังกฤษ จาก Dr. Ian Wilmut เขาจึงได้กลายเป็น Sir Ian Wilmut ทันที

 

แกะดอลลี่, การ โคลนนิ่ง แกะ ด อ ล ลี่, Ian Wilmut, Sir Ian Wilmut, นักวิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน, โคลนนิ่ง

 

ปี 2012

  • เกษียณจากมหาวิทยาลัย หันมามุ่งศึกษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) โรคความเสื่อมของระบบประสาท
  • ซึ่งในปี 2018 เขาเปิดเผยให้สังคมรู้ว่า เขาเองก็ป่วยด้วยโรคนี้เช่นกัน

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา Sir Ian Wilmut จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ด้วยโรคพาร์กินสัน

ข้อมูล : theguardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น