เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตีว่าการกระทรวงคมนาคมแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ระบุว่า ถ้ามีเกรดอี บี ซี ส่วนตัวขอให้ตัดเกรดซี หรือแค่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ให้รัฐบาล เพราะนโยบายดังกล่าวไม่มีความชัดเจน
โดยเฉพาะการทำเรื่องนี้ต้องมองทะลุตั้งแต่ต้นว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งตอนนี้รัฐบาลยังมีความคิดผิด ๆ ว่า การลดค่าโดยสารจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังจะไปขอส่วนแบ่งกับเอกชนผู้ได้รับสัมปทานด้วย แต่ไม่เป็นไปไม่ได้ เพราะรัฐบาลต้องไปชดเชยให้เอกชนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นล้านต่อปี จากการที่ทำให้เขาต้องขาดรายได้ในการจัดเก็บค่าโดยสารที่ ยกตัวอย่างเช่น เรานั่งรถไฟฟ้าจากสถานีหมอชิตไปสถานีสยาม ค่าโดยสาร 47 บาท แต่เก็บได้แค่ 20 บาท ดังนั้นรัฐบาลต้องชดเชยเงินที่ขาดหายไปให้เอกชนจำนวน 27 บาท จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้
ส่วนที่นายสุริยะบอกว่าการลดราคารถไฟฟ้า 20 บาทจะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์นั้น ดร.สามารถ กล่าวว่า ผู้โดยสารอาจเพิ่มขึ้นจริงอย่างที่นายสุริยะพูด แต่จำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลก็ต้องไปชดเชยให้เอกชน
อย่างไรก็ตามสำหรังบรถฟ้าเปิดให้บริการทั้งหมด 7 สาย คือสายสีเขียว น้ำเงิน ม่วง สีแดง สีเหลือง สีทอง และแอร์พอร์ตลิงค์ โดยส่วนแบ่งตลาดสูงสุดอยู่ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ประมาณเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัทรถไฟฟ้า รฟท.จำกัดของการรถไฟของประเทศไทย ดังนั้นหากจะทำรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายให้สำเร็จ รัฐบาลต้องจ่ายเงินค่าลดเชยให้กับ 3 บริษัทที่กล่าวมาข้างต้นโดยเฉพาะบีทีเอส และบีอีเอ็ม ส่วนของการรถไฟไทยน่าจะไม่มีปัญหา ซึ่งต้องเจรจากับบีทีเอสก่อน เพราะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด และถ้าบีทีเอสยอมรับเงื่อนไข เชื่อว่าบีอีเอ็มก็น่าจะรับด้วย