ทำงานมาเหนื่อย ๆ เพลีย ก็อยากจะนอน แต่พอถึงเตียงกลับ "นอนไม่หลับ" อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เช็ค 3 อาการหนัก ควรพบจิตแพทย์
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้จัก “โรคนอนไม่หลับ” (Insomnia)
โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดของการนอนไม่หลับ 3 ชนิดใหญ่คือ
ชนิดที่ 1 หลับยาก
- จะมีอาการหลับได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมง
ชนิดที่ 2 หลับไม่ทน
- มักตื่นกลางดึก เช่น หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่น
- บางคนอาจตื่นแล้วกลับหลับอีกไม่ได้
ชนิดที่ 3 หลับ ๆ ตื่น ๆ
- จะมีอาการลักษณะ รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้ม ๆ ไปเป็นพัก ๆ เท่านั้น
ผู้เป็นโรคนอน ไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกันก็ได้ เมื่อมีอาการนอน ไม่หลับในช่วงตอนกลางคืนนั้นก็จะส่งผลกระทบในตอนกลางวันทำให้รู้สึก
- อ่อนแรง
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ไม่มีสมาธิ
- ง่วงซึม เป็นต้น
เหนื่อยแต่นอน ไม่หลับ เกิดจากสาเหตุใด
ตามปกติแล้ว คนที่ใช้พลังงานในตอนกลางวันมาก ๆ จะรู้สึกเหนื่อย เมื่อถึงเตียงจะหลับได้ง่าย เพราะ ร่างกายต้องการการพักผ่อน แต่สำหรับคนที่เหนื่อยจากการเรียน การทำงาน เป็นการเหนื่อยสมอง เพราะ สมองทำงานหนัก ส่วนใหญ่มักมาจาก
- ความเครียด
- วิตกกังวล แรงกดดัน
- หรือมีอาการซึมเศร้า
- บางคนคิดว่าตัวเองไร้ค่า ยึดติดและอยู่กับตัวเองมากเกินไป เมื่อผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่หวัง
ทำให้ไม่สามารถข่มตานอนหลับได้
นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนอน ไม่หลับได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ท้องว่าง ทำให้เกิดอาการอึดอัด หิวขึ้นมาในช่วงดึก
- หรืออิ่มมากเกินไป จนทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่ หลับ
- หน้าที่การงานบางประเภท เช่น งานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ เช่น พยาบาล ยาม เป็นต้น
เหนื่อยแต่นอนไม่หลับ ถืออาการทางจิตไหม?
- อาการนอน ไม่หลับ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุจากที่กล่าวดังข้างต้น ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเป็นอาการทางจิตเสมอไป
หากอยากรู้ว่าอาการที่เป็นอยู่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการทางจิตหรือไม่ ควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
วิธีรักษาโรคนอน ไม่หลับ
ขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละบุคคล แพทย์จะให้คำแนะนำอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น
- โรคซึมเศร้า
- โรคไบโพล่าร์
- โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย
นอนไม่ หลับแบบไหน ควรพบจิตแพทย์
- นอนหลับ ไม่สนิท
- หรือนอน ไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์
- เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน
ผลเสียที่เกิดจากการ นอน ไม่หลับ
- ส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ
- ความจำ เกิดภาวะเครียด กดดัน
- รู้สึกเป็นกังวล รบกวนจิตใจ
- กระทบประสิทธิภาพในการทำงาน
ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการสอบถามประวัติความเจ็บป่วย อุปนิสัยการนอน ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวล ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอน ไม่หลับ
วิธีป้องกันอาการนอน ไม่หลับ
1. ตื่นนอนให้เป็นเวลาปรับพฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา
- ไม่งีบหลับระหว่างวัน
- ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ เพราะ อาจส่งพลให้ตัวเองเกิดความวิตกกังวล
2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวหลังมื้อเที่ยง
- เช่น กาแฟ หรือชา และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้หลับยาก
3. สร้างสถานการณ์ให้เตียงนอน
- เฉพาะการหลับเท่านั้น
- ดังนั้น การนอนเล่นดูทีวีทำงานพักผ่อนอื่น ๆ ให้ทำนอกเตียง
- เคล็ดลับ คือ เมื่อรู้สึกง่วงแล้วเท่านั้นถึงลงมานอนที่เตียง
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ช่วยให้นอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังหนักก่อนนอน ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ยาก
5. พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอน
หลับ
ข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล
KKDay : Mid Month Madness
รวมสินค้าแลนด์มาร์กในเวียดนามและฟิลิปปินส์
ลดแรงสูงสุด 90% และ ซื้อ 1 ฟรี 1 ครับ : ช้อปที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง