17 กันยายน 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้มีอิทธิพล กับเจ้าหน้าที่รัฐ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
เมื่อถามประชาชนถึงกลุ่มของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัด พบว่า
+ ร้อยละ 49.54 ระบุว่า ในเขตพื้นที่ไม่มีผู้ใด เป็นผู้มีอิทธิพล
+ ร้อยละ 26.34 ระบุว่า นักการเมืองท้องถิ่น
+ ร้อยละ 15.95 ระบุว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
+ ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ตำรวจ
+ ร้อยละ 13.21 ระบุว่า ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
+ ร้อยละ 12.14 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนสีเทา
+ ร้อยละ 6.03 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนทั่วไป
+ ร้อยละ 5.95 ระบุว่า นักการเมืองระดับชาติ
+ ร้อยละ 5.04 ระบุว่า นักเลงหัวไม้ มือปืน
+ ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ทหาร
+ ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ประธาน กรรมการชุมชน
+ ร้อยละ 0.76 ระบุว่า สื่อมวลชน คนวงการบันเทิง
+ ร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความกล้าของประชาชนที่จะมีปัญหาหรือมีข้อขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.30 ระบุว่า ไม่กล้าเลย , รองลงมา ร้อยละ 16.34 ระบุว่า ไม่ค่อยกล้า , ร้อยละ 12.75 ระบุว่า กล้าอยู่แล้ว , ร้อยละ 9.08 ระบุว่า ค่อนข้างกล้า และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ