จากกรณี พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว หรือ สารวัตรแบงค์ สารวัตรทางหลวง 1 กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง จนเสียชีวิต ถูก หน่อง ท่าผา มือปืนคนสนิทของ นายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก ยิงเสียชีวิตภายในงานเลี้ยงที่ จ.นครปฐม นั้น ล่าสุดมีการเปิดเผยจากชุดสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ว่า จากการสอบถามตำรวจที่ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ศิวกร ในวันที่ถูก หน่อง ท่าผา ยิงนั้น จ.ส.ต.เมทิศกร พันธ์สีจันทร์ ผู้บังคับหมุ่สืบสวนทางหลวง 1 กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ซึ่งเป็นคนขับรถ และมี ด.ต.ชนาณัฐ วุฒิยากร ผู้บังคับหมุ่กองบังคับการตำรวจทางหลวง ที่นั่งมาด้านหลัง ได้มีการเปิดบทสนทนาสุดท้ายของ พ.ต.ต.ศิวกร ที่ได้พูดคุยกับคนบนรถขณะถูกนำส่งโรงพยาบาล โดยนาทีที่นั่งอยู่ในรถ พ.ต.ต.ศิวกร ถามว่า “พี่ ๆ เขายิงผมทำไม” ซึ่งตำรวจที่อยู่ในรถก็พยายามส่งเสียงช่วยกันบอก “สารวัตรอย่าหลับ” และ ด.ต.ชนาณัฐ ก็ช่วยเอามือกดบาดแผลห้ามเลือดที่ไหลออกมา พร้อมบอกว่า “สารวัตรสู้ไหมครับ” ทางด้าน พ.ต.ต.ศิวกร ก็รีบตอบกลับว่า “ผมสู้ครับ ผมตายไม่ได้ ผมมีลูกน้องที่ต้องดูแล
เปิดคำพูดสุดท้าย "สารวัตรแบงค์" หลังถูกยิงจนสิ้นใจ แต่ละประโยค ยิ่งอาลัยตำรวจน้ำดี
ข่าวที่น่าสนใจ
ขณะที่การประชุมติดตามความคืบหน้าคดีจากกองบัญชาการสอบสวนกลาง นั้น ล่าสุด พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการสอบสวนกลาง เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า หลังเกิดเหตุตำรวจสอบสวนกลาง ได้ร่วมทำการสืบสวนกับทีมชุดคลี่คลายคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 7 มาโดยตลอด ซึ่งได้พยานหลักฐานพอที่จะทราบว่า ใครทำอะไรในที่เกิดเหตุระดับหนึ่ง ปัจจุบันมีการรับโอนสำนวนคดีมาอยู่ในความรับผิดชอบแล้ว 2 คดี ประกอบด้วยคดีฆาตกรรม และ ความผิดตามมาตรา 157 ส่วนที่โอนสำนวนคดีมานั้น เป็นเรื่องปกติ เพราะเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล มีความซับซ้อน และ เป็นเหตุอุกฉกรรจ์ ซึ่งเป็นหน้างานของกองปราบอยู่แล้ว ตำรวจท้องที่อาจทำงานแบบนี้ลำบาก จึงจำเป็นต้องให้ส่วนกลางทำ เพื่อความโปร่งใส
ส่วนเรื่องการแจ้งข้อกล่าวหากับกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในงานเลี้ยงบ้านกำนันนก ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 นั้น ก่อนหน้ามีการแจ้งข้อกล่าวหากับกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือผู้กระทำผิดไปแล้ว 6 นาย ที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบให้แน่ชัด อาจต้องใช้เวลาสักระยะ แต่จะเร่งทำให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ต้องยึดหลักข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานเป็นที่ตั้ง เพราะกฎหมายมาตรา 157 มีคำนิยาม หรือ มีเจตนาพิเศษ ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องหารือกันพอสมควร ว่าพฤติกรรมแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด 157 อาทิ บางคนอาจพาคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล บางคนอาจโทรแจ้ง 191 หรือบางคนอาจไม่ทำอะไรเลย ซึ่งต้องขอเวลาหารือกับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายให้ตกผลึกก่อน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่อยากด่วนสรุป ซึ่งเมื่อใดที่ทราบข้อเท็จจริง หรือ หาข้อยุติทางกฎหมายได้แล้วจะสามารถพิจารณาออกหมายจับต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง