"เมืองโบราณศรีเทพ" ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน เมืองโบราณศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก ถือเป็นแห่งที่ 7 ของไทย
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยในวันนี้ (19 กันยายน 2566) มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-25 กันยายน 2566 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งทางด้านองค์กร UNESCO ก็ได้ประกาศให้ ‘เมืองโบราณ ศรีเทพ’ ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยในรอบ 31 ปี โดยครั้งหลังสุดเมื่อปี 2535 ไทยที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี
โดยจะเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเป็นแหล่งที่ 4 โดยไทยเคยได้รับการประกาศมาแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และยังถือเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย อีกด้วย
เมืองโบราณ ศรีเทพ ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จัดอยู่ในบริเวณเขตที่สูงภาคกลาง อันเป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายของการแลกเปลี่ยนสินค้า เส้นทางการค้า และวัฒนธรรมระหว่างพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องจนถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 8-18)
สำหรับที่มาของชื่อ เมืองโบราณ ศรีเทพ ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกขานกันว่า เมืองอภัยสาลี จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2447 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ทรงตั้งพระทัยจะสืบค้นหาเมืองศรีเทพนั้นที่ปรากฏในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ และได้พบเมืองโบราณขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกของภูเขาถมอรัตน์ใกล้กับเมืองวิเชียรบุรี
ซึ่งเมืองวิเชียรบุรีนั้นมีชื่อเดิมว่า เมืองท่าโรง และเมืองศรีเทพจึงทรงมีพระวินิจฉัยว่า ชื่อเมืองโบราณแห่งนี้น่าจะเป็นต้นเค้าของการเรียกชื่อเดิมของเมืองวิเชียรบุรีว่า เมืองศรีเทพ กรมศิลปากรจึงได้ใช้ชื่อเรียกเมืองโบราณที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำรวจพบว่าเมืองศรีเทพ จนกว่าจะค้นพบหลักฐานเอกสารที่ยืนยันชื่อที่แท้จริงของเมืองโบราณแห่งนี้
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณ ศรีเทพ หรือ ไพศาลี เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3693 ลงวันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478 นับจากนั้นเป็นต้นมา การศึกษาเกี่ยวกับเมืองโบราณแห่งนี้ได้มีการดำเนินงานโดยกรมศิลปากรเป็นลำดับ รวมทั้งยังปรากฏในงานค้นคว้าทางวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะเกี่ยวกับเมืองโบราณแห่งนี้โดยนักวิชาการชาวไทยและต่างประเทศ
เช่น ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ดร.ควอริทช์ เวลส์ ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลิเย่ เป็นต้น จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2527 เป็นต้นมา เมืองโบราณศรีเทพได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภายใต้การบริหารจัดการในรูปแบบอุทยานประวัติศาสตร์ โดยการกำกับดูแลของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กรมศิลปากร
ลักษณะทางกายภาพของเมืองโบราณศรีเทพ เป็นเมืองที่มีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เมืองในและเมืองนอก มีพื้นที่ประมาณ 4.7 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,889 ไร่
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม , พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ
Officemate (TH) จัดแคมเปญ รวมดีลห้ามพลาด เครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ดัง
ลดสูงสุด 80% + ลดเพิ่มสูงสุด 1,000.- + ของแถมฟรีแบบจัดเต็ม
ซื้อครบ 499.- ส่งฟรี*
ระยะเวลาโปรโมชัน ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง