“เทพมนตรี” เบิกเนตรพวกแชร์ข่าวมั่ว ปมสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่านอยุธยา

"เทพมนตรี" เบิกเนตรพวกแชร์ข่าวมั่ว ปมสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่านอยุธยา

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ปมกระแสข่าวมั่วๆ ที่ยกกรณีการสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง มรดกโลกอยุธยา แล้วยกพื้นที่มรดกโลก 4 แห่ง อาทิ ปราสาอิเมจิ ญี่ปุ่น ,วัดฮิกาชิ ญี่ปุ่น ,โคลอสเซียม อิตาลี ,พระราชวังแวร์ซาย ฝรั่งเศส มาแปรียบเทียบกับมรดกโลกอยุธยา ซึ่งเป็นนครประวัตศาสตร์ จึงผิดฝาผิดตัว โดยระบุข้อความว่า

 

ข่าวที่น่าสนใจ

มรดกโลกอยุธยา 2 : ความเข้าใจผิดพลาดในโลกโซเชียล มั่วๆ เรื่องสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรณีมรดกโลกอยุธยาแล้วไปหยิบยกเอามรดกโลก 4 แห่งที่ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวอาคารสถาน มาเปรียบเทียบกับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นมรดกโลกประเภท “เมืองประวัติศาสตร์และบริวาร” มันผิดฝาผิดตัวกัน เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด เตลิดเปิดเปิงไปกันใหญ่เพราะมีผู้แชร์ข้อความไปจำนวนมาก ยากจะแก้ไขได้ กล่าวคือ 1. ปราสาทฮิเมจิในเมืองฮิเมจิ อายุ กว่า 600 ปี (มรดกโลก) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าชิงกันเซ็น สถานีฮิเมจิ เพียง 1,200 เมตร 2. วัดฮิกาชิ ฮงกันจิ อายุกว่า 400 ปี (มรดกโลก) ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าชิงกันเซ็น สถานีเกียวโต เพียง 600 เมตร 3. โคลอสเซียม อายุกว่า 1,900 ปี (มรดกโลก) ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งห่างจากสถานี รถไฟความเร็วสูง Roma Termini เพียง 1,230 เมตร 4. พระราชวังแวร์ซาย อายุกว่า 400 ปี (มรดกโลก) ในเมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟ RER สถานี Versailles Château Rive Gauche เพียง 1,300 เมตร สถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารเฉพาะทั้ง 4 แห่งนี้มันคนละอย่าง คนละประเภทกับอยุธยา จึงเปรียบเทียบไม่ได้ ทั้งขนาดและความสำคัญ อาคารเหล่านี้แต่เดิมอยู่ในเมือง ในชุมชน แต่มรดกโลกอยุธยามันคือเมืองระดับมหานคร/ราชธานี ดังนั้นในทะเบียนมรดกโลกจึงเขียนว่า “Ayutthaya Historic city” ขอบเขตของมรดกโลกแห่งนี้จึงมีพิกัดดาวเทียมเป็นละติจูดและลองจิจูด การบริหารจัดการมรดกโลกจึงแบ่งออกเป็น 3 โซน 1.โซนสำคัญสูงสุด คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่จากเดิม 1810 ไร่ และขยายเพิ่มเป็น 3000 ไร่ คงเหลืออีก 1000 ไร่ เป็นสถานที่ราชการ ตลาดเช่า และหน่วยงานราชการอื่นๆ 2. โซนกันชน คือส่วนที่ห่อหุ้มโซนที่ 1 ซึ่งน่าจะหมายถึงนอกเกาะเมืองหรือไกลกว่านั้น เพราะวัดสำคัญนอกเกาะเมืองอยุธยามีฐานะเป็นมรดกโลกสำคัญ เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ วัดพนัญเชิง เป็นต้น

รวมถึงเขตที่เรียกว่า “อโยธยา” และสถานีรถไฟอยุธยา 3. โซนบริหารจัดการ มีขอบเขต ขนาดกว้างใหญ่ตามตำแหน่งดาวเทียมที่ระบุเป็นพิกัด ดังนั้นการยกตัวอย่างมรดกโลกที่ประกาศเฉพาะตัวอาคารมาใช้กับมรดกโลกอยุธยาที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์และบริวารจึงเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่มีความรู้เรื่องมรดกโลกดีพอ ดังนั้นจะหาความรับผิดชอบได้อย่างไร จริงไหม สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงจึงมีผลกระทบและผ่ากลางมรดกโลกอยุธยา เพียงแต่ยูเนสโก ถ้าจะเตือนคงต้องใช้มาตรการตามอนุสัญญาฯด้วยการแขวนให้อยุธยาเป็นมรดกโลกอันตราย เหนื่อยครับ

!

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น