เลอะเทอะใหญ่ “นักเรียนเลว” จี้ยกเลิกสวดมนต์ในโรงเรียน อ้างละเมิดเสรีภาพ

เลอะเทอะใหญ่ "นักเรียนเลว" จี้ยกเลิกสวดมนต์ในโรงเรียน อ้างละเมิดเสรีภาพ

เมื่อวันที่ 20 กันยายนเพจ Facebook นักเรียนเลว ซึ่งเป็นเครือข่ายม็อบ 3 นิ้ว ได้เผยแพร่บทความให้ยกเลิกการสวดมนต์ในโรงเรียน โดยบทความดังกล่าว ระบุตอนหนึ่งว่า การสวดมนต์ตอนเช้าดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่เราสามารถเห็นได้ในโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป แต่การที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนรัฐนั้นเป็นเรื่องที่ควรเกิดขึ้นจริงหรือ

การสวดมนต์หน้าเสาธงในโรงเรียนนั้นมีระบุไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการสวดมนต์ไว้พระของนักเรียน พ.ศ.2503 ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติและตอนเลิกเรียนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ และให้ครู อาจารย์ร่วมสวดมนต์โดยพร้อมเพรียงกัน หากในโรงเรียนมีนักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก โรงเรียนสามารถจัดให้มีการสวดมนต์ตามแบบศาสนานั้นด้วยก็ได้ โดยจัดนักเรียนแยกไว้ตามศาสนา

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 31 ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”

เมื่อยึดตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ การสวดมนต์ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาควรจะเป็นเสรีภาพของแต่ละบุคคล แต่นักเรียนในโรงเรียนกลับถูกบังคับให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเสียอย่างนั้น ดังนั้นอาจเรียกได้ว่ากิจกรรมสวดมนต์ในโรงเรียนเป็นการละเมิดเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนก็ได้ แม้นักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นอาจจะสามารถแจ้งครูอาจารย์ว่าไม่สามารถสวดมนต์ตามแบบศาสนาพุทธได้ แต่ปัญหาที่แท้จริงก็ยังคงหนีไม่พ้นการบังคับให้นักเรียนประกอบพิธีทางศาสนาอยู่นั่นเอง แม้ว่านักเรียนจะนับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่ต้องการจะสวดมนต์ในตอนเช้า โรงเรียนก็ควรจะเคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญของนักเรียน

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีประชาชนนับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ เพราะไม่ได้มีกฎหมายใดเลยที่ระบุไว้เช่นนั้น ในทางนิตินัยแล้ว ประเทศไทยเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) ทั้งนี้ ลักษณะที่ควรจะเป็นในรัฐโลกวิสัย คือศาสนากับรัฐจะต้องแยกออกจากกัน ไม่มีศาสนาใดสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อรัฐได้ ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่จะไม่มีผู้ใดได้รับสิทธิพิเศษเพราะนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง

เสรีภาพในการนับถือศาสนาของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับความเคารพ โรงเรียนจึงควรคำนึงว่านักเรียนมีความแตกต่างหลากหลายในด้านความเชื่อ โรงเรียนของรัฐจึงไม่ควรสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือยกศาสนาใดศาสนาหนึ่งมาเป็นศาสนาประจำโรงเรียน

การไม่ให้มีศาสนาประจำโรงเรียนในโรงเรียนรัฐไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้มีการสอนเกี่ยวกับศาสนาในโรงเรียน ห้ามนักเรียนนับถือศาสนา หรือห้ามไม่ให้นักเรียนปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนาตน แต่เป็นเพียงการที่โรงเรียนไม่สนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษเพื่อให้ทุกศาสนาเท่าเทียมกันเท่านั้น จะไม่มีศาสนาใดที่ถูกยกย่องเชิดชูเป็นพิเศษในโรงเรียน นักเรียนที่นับถือศาสนาต่างกันหรือไม่นับถือศาสนาจะได้รู้สึกว่าความเชื่อ (หรือความไม่เชื่อ) ของตนเท่าเทียมกับของคนอื่น ๆ

สิ่งที่บทความนี้กล่าวถึงอาจจะดูไม่คุ้นเคยในประเทศไทยที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากและคุ้นชินกับการสวดมนต์ในโรงเรียนเสียแล้ว แต่ถ้าหากต้องการให้ประเทศไทยเป็นรัฐโลกวิสัยที่ทุกศาสนาเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ศาสนาประจำโรงเรียนของรัฐเป็นสิ่งที่ควรถูกยกเลิกไป เพื่อให้โรงเรียนรัฐเป็นพื้นที่ของคนทุกคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น