แมงมุม “ทารันทูล่า” นักวิทย์ไทยพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกในจ.พังงา

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

นักวิทย์ฯ ไทย พบอัญมณีแห่งป่าชายเลน กับชื่อสุดเท่อย่าง บึ้งประกายสายฟ้า จากขนสีน้ำเงินสุดโดดเด่น เป็นแมงมุม "ทารันทูล่า" สายพันธุ์ใหม่ของโลก

นักวิทย์ฯ ไทย พบแมงมุม “ทารันทูล่า” สายพันธุ์ใหม่ของโลก มีขนเหมือนสายฟ้าสีน้ำเงินเหมือนหลุดมาจากหนัง ในป่าชายเลนของจังหวัดพังงา โดยตั้งชื่อว่า บึ้งประกายสายฟ้า ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

อ.ดร.นรินทร์ ชมภูวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมคณะที่ออกสำรวจร่วมกับยูทูปเบอร์สายเดินป่าชื่อดังโจโฉ ในพื้นที่ จ.พังงา จนพบกับแมงมุม “ทารันทูล่า” ชนิดใหม่ของโลกที่สวยและดึงดูดความสนใจ

โดยบึ้งชนิดใหม่นี้ได้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 𝑪𝒉𝒊𝒍𝒐𝒃𝒓𝒂𝒄𝒉𝒚𝒔 𝒏𝒂𝒕𝒂𝒏𝒊𝒄𝒉𝒂𝒓𝒖𝒎 และมีชื่อภาษาไทยว่า บึ้งประกายสายฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะสีของบึ้งที่เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้วมีประกายสีน้ำเงินคล้ายกับสีของ สายฟ้าสีน้ำเงิน 

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

 

นอกจากนี้ บึ้งชนิดนี้ยังมีสีม่วงด้วย ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วสีน้ำเงินเป็นสีที่หายากในธรรมชาติ เนื่องจาก สีน้ำเงินเป็นสีที่มีพลังงานสูง

แต่ความลับของ บึ้งประกายสายฟ้า คือ สีน้ำเงินที่เป็นประกายงดงามสลับกันบริเวณขาเกิดจากโครงสร้างระดับนาโนของเส้นขนบึ้ง ซึ่งมาจากการหักเหของแสง ทำให้แสงสะท้อนพลังงานที่ในช่วงความถี่ของแสงสีน้ำเงิน โดยไม่ได้เกิดจากกลไกที่รงควัตถุดูดซับพลังงานเหมือนกับการเกิดสีของพืชหรือสัตว์ในธรรมชาติโดยทั่วไป 

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

นอกจากสีน้ำเงินแล้ว บึ้งประกายสายฟ้า ยังปรากฏสีม่วงในบางส่วนของร่างกายอีกด้วย ซึ่งสีม่วงเป็นสีที่มีพลังงานมากกว่าสีน้ำเงินและมีช่วงในสเปกตรัมแสงที่แคบมาก นับเป็นสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

บึ้งในสกุลนี้มีรายงานการพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิดเท่านั้น บึ้งประกายสายฟ้า ถือได้ว่าเป็นชนิดที่ 3 จากการค้นพบในไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แต่ชนิดที่พบในอดีตไม่ปรากฏความแวววาวของสีที่เป็นประกายเหมือนกับบึ้งประกายสายฟ้า

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

 

นับเป็นบึ้งที่มีความพิเศษลักษณะสวยงามและยังพบได้ในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงควรหาแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ป่า ให้บึ้งที่พบในป่าชายเลนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพตัวแรกและตัวเดียวของประเทศไทยในตอนนี้คงอยู่ต่อไปในอนาคต

ข้อมูล : iflscience และ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Agriculture

 


Firster Lifestyle & Beauty : BEAUTY WEEK ช้อปบิวตี้ รับส่วนลดสุดฟิน [ทุกๆ เสาร์ – อาทิตย์- จันทร์] ตลอดเดือนกันยายน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนสู้กลับสหรัฐสั่งขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 125%
ญี่ปุ่นเล็งส่งทีมเศรษฐกิจไปเจรจาสหรัฐสัปดาห์หน้า
อั้นไว้ก่อน ค่อยเติม พรุ่งนี้น้ำมันลดอีก 30 สต. ยกเว้นดีเซลคงเดิม
"โฆษกอสส." แจงยึดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องจ่ายหนี้ "รถไฟฟ้าสีเขียว" ถ้าไม่มีเหตุควรอุทธรณ์
คึกคัก! ปชช.ทยอยเดินทางมุ่งหน้าภาคเหนือ ถนนพหลโยธิน ช่วงจ.นครสวรรค์ รถเริ่มหนาแน่น
ญาติเศร้าทำพิธีเชิญวิญญาณ คนงานเมียนมา หลังพบร่างแล้ว 4 ราย
ศาลอนุมัติหมายจับ ‘ไฮโซฮอต’ อ่วมหนัก 4 ข้อหา ตร.แจ้งอายัดตัวแล้ว
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ยกระดับความสามารถในการจัดทำบัญชีคนรุ่นใหม่ให้กับสหกรณ์ภายใต้โครงการบ้านมั่นคง
จนท.ระดมกำลังไล่ล่า "โจรใต้" ลอบยิงดับ "อส.บันนังสตา" ขณะรดน้ำต้นทุเรียนในสวน ก่อนฉกปืนหลบหนี
"พิชัย" เผยความสำเร็จ STYLE Bangkok 2025 สร้างมูลค่าการค้ากว่า 1.4 พันล้านบาท ให้ไทยเป็นศูนย์กลางดีไซน์และไลฟ์สไตล์ระดับโลก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น