ศาลแพ่งสั่ง สตช.จ่ายชดเชย 2 สื่อ โดนกระสุนยางชุดคฝ.คุมม็อบปี 64

ศาลแพ่งสั่ง สตช.จ่ายชดเชย 2 สื่อ โดนกระสุนยางชุดคฝ.คุมม็อบปี 64

26 ก.ย. 2566 มีรายงานว่าศาลแพ่งมีคำตัดสินให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชำระค่าเสียหายกรณียิงกระสุนยางให้ให้กับสื่อมวลชน 2 รายจนได้รับบาดเจ็บ

 

 

กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN และ ช่างภาพ The MATTER เข้าไปรายงานสถานการณ์การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินและแยกนางเลิ้งเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2564 แต่กลับถูกยิงกระสุนยางเข้าใส่ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนแสดงตัว และไม่ได้มีพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการใช้ความรุนแรง ก่อจลาจล หรือก่ออันตรายให้กับบุคคลอื่น ทั้งยังไม่มีการประกาศเตือนผู้ชุมนุมว่าจะมีการใช้กระสุนยางอีกเช่นกัน

ต่อมาสื่อมวลชนทั้ง 2 รายจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากสตช. ในความผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมเป็นเงินกว่า 1.4 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ดี ในวันนี้ ศาลก็มีคำพิพากษาว่า ให้ สตช.ในฐานะจำเลยที่หนึ่ง และต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ชดใช้ค่าเสียหายให้ช่างภาพสื่อ 2 คนคือ ธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN เป็นจำนวนเงิน 42,000 บาท และชาญณรงค์ เอื้ออุดมโชติ ช่างภาพ The MATTER เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

 

ศาลพิพากษาว่า ในกรณีของธนาพงศ์ คฝ.ทำการละเมิดจริง เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น และไม่ได้สัดส่วน เนื่องจากธนาพงศ์ ยืนอยู่ในพื้นที่รวมกับกลุ่มสื่ออื่นๆ และไม่ได้ท่าทีที่คุกคามเจ้าหน้าที่ การกระทำของเจ้าหน้าที่จึงถือว่าทำโดยปราศจากความระมัดระวัง

 

ขณะที่กรณีของชาญณรงค์ซึ่งถูก คฝ.ยิงที่แขนซ้าย บริเวณพื้นที่ใกล้แยกนางเลิ้ง ศาลเห็นว่า เจ้าหน้าที่ยิงกระสุนยางจากจุดที่ไกลเกินกว่าที่จะระบุเป้าหมายเป็นการเฉพาะเจาะจงได้ แต่ศาลก็ยังเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังเช่นกัน
ศาลระบุด้วยว่า การที่ สตช.บอกว่าบาดแผลของชาญณรงค์เหมือนโดนลูกแก้วนั้น ศาลเชื่อว่าเป็นกระสุนยางจริง

 

สำหรับคดีนี้ ศาลแพ่งมี ‘คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ ไปเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 โดยสั่งให้ สตช. “ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการชุมนุมและสลายการชุมนุม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของโจทก์และสื่อมวลชน ภายใต้หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน” อันเป็นคำสั่งที่ทำให้ ผบ.ตร.ช่วงเวลานั้น ต้องสั่งการกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน

 

 

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดเหตุตำรวจ คฝ.เข้าสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 บริเวณถนนดินสอ ในวันที่ 18 พ.ย. 2565 อย่างรุนแรง จนทำให้สื่อมวลชนอย่างน้อย 4 รายได้รับบาดเจ็บ ศาลแพ่งก็รับคำขอให้เรียกตัวแทน สตช. มาไต่สวนว่าได้ละเมิด ‘คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ จากคดีกระสุนยางหรือไม่ แม้สุดท้ายจะไม่ได้เรียกบุคคลมาไต่สวน โดยให้ส่งเอกสารมาชี้แจงแทน แต่ศาลก็ระบุว่า สื่อมวลชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุสลายการณ์ชุมนุมกรณีสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุด APEC2022 สามารถใช้สิทธิทางแพ่งหรือทางอาญาแยกเป็นคดีใหม่ต่างหากได้

 

 

สำหรับการนัดอ่านคำพิพากษา ‘คดีกระสุนยาง’ ของศาลแพ่งครั้งนี้ เกิดขึ้นภายหลังการนัดไต่สวนพยาน ทั้งฝ่ายโจทก์ จำนวน 14 ปาก ระหว่างวันที่ 19-21 ก.ค. และฝ่ายจำเลย จำนวน 8 ปาก ระหว่างวันที่ 25-26 ก.ค. ที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่
"แม่สามารถ" ยื่นจดหมายลับใส่มือนักข่าว อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ปรเมศวร์” เตือน “อธิบดีกรมที่ดิน” เสี่ยงโดนม.157 ปมเขากระโดง
ผู้จัดการตลท. พร้อมให้ข้อมูล คดี “หมอบุญ” เตือนนักลงทุน ใช้สติก่อนตัดสินใจ
“บิ๊กน้อย” การันตี แจงแทน “บิ๊กป้อม” ไม่โทรให้ใครช่วย “สามารถ”
“ไอซ์ รักชนก” เตรียมระทึกอีก ศาลนัดฟังคำสั่งถอนประกัน 11 ธ.ค.นี้ ลุ้นชี้ชะตาจะรอดคุกหรือไม่
ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่อุทยานขุดพรุน 14 ไร่ หาแร่ทองคำล้ำค่า เจ้าหน้าที่บุกจับแจ้ง 6 ข้อหาอ่วม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น