พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รับผิดชอบงานด้านปราบปราม เป็นที่รู้จักกันในฉายา “มือปราบสายธรรมะ” เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 5 คน ของนายนิพนธ์ และ นางสมนึก สุขวิมล และเป็นน้องชายของ พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์และเลขาธิการพระราชวัง จบการศึกษา ระดับมัธยมจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสิงห์แดง รุ่นที่ 38 และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม เกษียณปี 2567 ก่อนเข้ารับราชการตำรวจเมื่อปี 2540 เคยเป็นพนักงานบริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์มาก่อน ทำอยู่ได้ 7 ปี จึงตัดสินใจลาออก เพราะความฝันตั้งแต่วัยเด็กคือ การรับราชการตำรวจต่อมา ได้เข้าอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้มีคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอต.) รุ่นที่ 4
เปิดประวัติ “บิ๊กต่อ” ฉายามือปราบสายธรรมะ นั่ง ผบ.ตร.คนที่ 14
ข่าวที่น่าสนใจ
รับราชการครั้งแรกเมื่อปี 2540 เป็นรองสารวัตร กองกำกับสายตรวจปฏิบัติการพิเศษ 191 ถัดมาอีก 2 ปี ติดยศ “ร้อยตำรวจโท” เข้าเรียนที่โรงเรียนสืบสวนที่วิทยาลัยการตำรวจ และได้ดำรงตำแหน่งรองสารวัตร สังกัดกองปราบปราม เป็นหัวหน้าชุดสืบสวน อยู่งานแผนก 3 กอง 2 รถวิทยุ และรับราชการสังกัดกองปราบปรามเป็นเวลานานถึง 17 ปี ก่อนขยับขึ้นเป็นสารวัตร ครั้งแรกที่ตำรวจท่องเที่ยว สังกัดกองกำกับการ 1 ดูแลรถวิทยุฝั่งธน ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งในกองกำกับการ 3 คุมเรื่องการปราบจลาจล ก่อนจะย้ายไปคุมรถสายตรวจ กองกำกับการ 5 จนกระทั่งได้ขึ้นเป็น รองผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ(คอมมานโด) จากนั้นได้เข้าเรียน โรงเรียนผู้กำกับและได้เป็นผู้กำกับการกองปฏิบัติการพิเศษ กองปราบปราม ติดยศ พ.ต.อ. จนครบวาระของการเป็น ผู้กำกับคุมถวายความปลอดภัย
ก่อนขึ้นรองผู้บังคับการปราบปราม และได้รับความไว้วางใจให้เป็น ผู้บังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 วางฐานรากหน่วยกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษในเวลาต่อมา กระทั่งได้เลื่อนเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กระทั่งวันนี้ ได้รับการผลักดันให้ดำรงตำแหน่งสูงสุด “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” หลังจากนี้่ต้องจับตาดูว่าการบริหารงานของ “พิทักษ์ 1” คนนี้จะไปในทิศทางใด ภายใต้อายุราชการที่เหลือเพียง 1 ปีเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง