รู้จัก "ตะคริว" อาการเจ็บปวดจี๊ดเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะตอนนอน เปิด 4 สาเหตุ กับ 10 ปัจจัยใกล้ตัว กระตุ้นอาการเกิดถี่กว่าเดิม
ข่าวที่น่าสนใจ
ปวดแบบไหน… เรียกว่า “ตะคริว”
- อาการหดเกร็ง ที่ทำให้กล้ามเนื้อปวดและเป็นก้อนแข็ง เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
- บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง ซึ่งจะเป็นอยู่เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น
- ทิ้งเวลาไว้ซักพักอาการก็จะดีสักพักอาการจะดีขึ้น
- อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ และอาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกันก็ได้
- ในบางรายอาจมีอาการตะ คริวที่ขาในขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น หรือที่เรียกว่า ตะ คริวกลางคืน ซึ่งมักเกิดกับกล้ามเนื้อขาและพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
4 สาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิด “ตะคริว”
นอนผิดท่า
- หากนอนในท่าเหยียดขาตรง มีลักษณะของเท้าที่ไม่ถูกต้องในขณะนอน ข้อเท้างองุ้มและปลายเท้าชี้ลงพื้น คล้ายกับท่ายืนด้วยปลายเท้า
- อาจทำให้กล้ามเนื้อน่องหดเกร็ง เสี่ยงต่อการเป็นตะ คริวได้ง่าย
เคลื่อนไหวร่างกายน้อยและไม่ยืดกล้ามเนื้อ
- การนั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือไม่พยายามขยับ ยืดกล้ามเนื้อก่อนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- อาจส่งผลให้เกิดตะ คริวที่ขาขณะนอนหลับได้
กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป
- เกิดจากการออกกำลังกาย การทำงานหรือกิจกรรมอย่างหนักที่ต้องใช้แรงขามาก
- อาจเป็นปัจจัยนำไปสู่การหดเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการตะ คริวขณะนอนหลับ
เส้นเอ็นหดตัว
- เส้นเอ็นเป็นเนื้อเยื่อที่ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อกับกระดูกไว้ด้วยกัน
- หากเส้นเอ็นหดตัวสั้นลงเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะ คริวได้
10 ปัจจัยใกล้ตัว กระตุ้นให้เกิด ตะ คริว
1. การดื่มน้ำน้อยเกินไป
- ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
2. ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
- โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่
- ท้องเดิน อาเจียน
- เสียเหงื่อมาก หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
- ซึ่งอาจทำให้เป็นตะ คริวรุนแรง คือ เกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วนของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
3. ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
4. หญิงตั้งครรภ์
- อาจเป็นตะ คริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจาก ระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ
- หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
5. กล้ามเนื้ออ่อนล้า
- หรือกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง จากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการทำงานหนัก จะทำให้เกิดตะ คริวได้บ่อย
6. การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ
- อาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ
7. กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น
- กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะ คริวได้บ่อย
8. กล้ามเนื้อขาดเลือด
- หากออกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้วอร์มอัพ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ
9. การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ
- ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และเกิดตะ คริวได้เช่นกัน
10. ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน
- เช่น ผู้สูงอายุอาจเป็นตะ คริวขณะที่เดินนาน ๆ
- เนื่องจาก การไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
วิธีแก้ปัญหาเมื่อ “ตะคริว” ระหว่างนอนหลับ
- ควรนอนในท่าที่ผ่อนคลาย
- อย่าให้กล้ามเนื้อตึง
- ควรจะห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
- หากเกิดอาการเป็นตะ คริวขึ้นมาในตอนกลางคืนหรือในขณะที่นอน ให้คุณยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วิ ทำแบบนี้ 5-10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
- ควรดื่มนมก่อนนอน เพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายและยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้ว พร้อมทั้งฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะ คริวบ่อย ๆ
- ควรที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะ ตะ คริวมักเกิดในผู้ที่ขาดการออกกำลังกายและมีร่างกายที่อ่อนแอ
ข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล
Central Department Store : Dyson
ข่าวที่เกี่ยวข้อง