29 ก.ย. “วันหัวใจโลก” 2566 ดูแล-ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

วันหัวใจโลก 2566, วันหัวใจโลก, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, สมาพันธ์หัวใจโลก

29 กันยายน "วันหัวใจโลก" 2566 สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก เปิด 7 สัญญาณเงียบ อันตรายถึงชีวิต หากพบควรรักษาให้เร็วที่สุด

“วันหัวใจโลก” 2566 รณรงค์ประชาชนดูแล และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรโลก ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้หรือไม่ทุกวันที่ 29 กันยายนของทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลกกำหนดให้เป็น “วันหัวใจโลก” เพื่อให้ทุกคนร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรโลก รวมถึงประเทศไทย โดยในปีนี้กำหนดประเด็นรณรงค์ คือ USE HEART KNOW HEART : ใช้ใจรับรู้ ดูแล และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีภาวะตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการทำงานที่ผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างทันที รวมถึงอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้

 

วันหัวใจโลก 2566, วันหัวใจโลก, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, สมาพันธ์หัวใจโลก

 

จากข้อมูลวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 673,691 ราย

  • เสียชีวิตจำนวน 39,970 ราย
  • โดยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2566 จำนวน 12,787 ราย (ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center : HDC)

สาเหตุมาจากปัจจัย

ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ อาทิ

  • กรรมพันธุ์
  • อายุ
  • เพศ เป็นต้น

ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น

  • พฤติกรรมบริโภคอาหาร
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

แม้ว่าโรคนี้จะพบมากในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบว่ามีรายการการตรวจพบในผู้ที่อายุยังน้อย หรือยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นด้วย

 

วันหัวใจโลก 2566, วันหัวใจโลก, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, สมาพันธ์หัวใจโลก

 

อาการและสัญญานเตือน

  • ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดร้าวไปกราม คอ สะบักหลัง แขนซ้าย
  • เหนื่อยหายใจไม่ทัน
  • บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอดูอาการที่บ้าน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

 

วันหัวใจโลก 2566, วันหัวใจโลก, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, สมาพันธ์หัวใจโลก

 

กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) รวมถึงโรคหัวใจอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา และลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาตามสิทธิได้ตามการวินิจฉัยของแพทย์

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนทุกคนทุกสิทธิการรักษาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือ โดยจะได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงการให้คำปรึกษา เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงการพิจารณาให้ยาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 


KKDAY : สิงคโปร์ ลดกระหน่ำ ซื้อ 2 ฟรี 1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ชูศักดิ์" ชี้เป็นสิทธิ์ "ไชยชนก" ค้านกาสิโน ยันรัฐบาลชอบธรรมดันร่างกม.เอนเตอร์เทนเมนต์ฯเสริมท่องเที่ยว
“เขมร” รอดแผ่นดินไหว? ว่างจัด-โม้สรรพคุณจรวด 300 มม. ยิงไกล 130 กม.
"อธิบดี DSI" แจงสาเหตุเอกสาร "บริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ" ตามยาก ลั่นหากพบผิดเจอหมายเรียก-หมายจับ
"นายกฯ" ยันเดินหน้า "เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" พร้อมเคลียร์พรรคร่วมฯ-ปชช. ลั่นถูกบิดเบือนเป็นกาสิโน
"ศาลรธน." ลงมติเอกฉันท์ ตีตกคำร้อง "ณฐพร" วินิจฉัยกกต.ทำผิดปล่อยฮั้วเลือกสว.
ไต้หวันไม่รอด! แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่า 5.0 ลึก 70 กม. สั่งปชช.อพยพด่วน
"ไชยชนก" ลั่นกลางสภาฯ ไม่มีวันเห็นด้วยกับร่างกม.กาสิโน ฝากนายกฯมองประโยชน์พี่น้องปชช.เป็นสำคัญ
"ปส." ล้างบางขบวนการยาเสพติด ยึดยาบ้า 6.5 ล้านเม็ด ทรัพย์สินอื่นๆ มูลค่ากว่า 23 ล้านบาท
จับตา! สหรัฐฯ บีบ ทอ.เหมา F-16 แลกลดภาษี “ผบ.ทอ.” ยืนยันต้อง Gripen
ADB คาดเศรษฐกิจ'ประเทศกำลังพัฒนา'ในเอเชียปีนี้โต 4.9%

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น