กำลังเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ เมื่อมีการแชร์คลิปวิดิโอจากสตอรี่อินสตราแกรมของ นางสาวรักชนก ศรีนอก หรือ ไอซ์ รักชนก สส.กทม.พรรคก้าวไกล ขณะลงพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เพื่อร่วมงามเสวนา “มรดกเผด็จการ ม.44 ทำลายมรดกโลก อโยธยา” เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา โดยวิจารณ์ไอซ์ รักชนกว่า ปลุกปั่นให้ข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ผ่านอยุธยา คลิปดังกล่าว นางสาวรักชนก ได้พูดคุยกับผู้มาร่วมงานเสวนาว่า “เป็นสิ่งที่ย้อนแย้งและตลกมากๆเลยคือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์เป็นรัฐบาลที่โหนความเป็นไทยมากที่สุด โหนชาติไทย โหนทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเป็นไทย แต่คุณกลับอนุมัติโครงการที่จะทำให้มรกดกโลกมันสูญหายไป ซึ่งมรดกโลกมันไม่ได้มาได้ง่ายๆ
ข่าวที่น่าสนใจ
สำหรับงานเสวนาที่จัดขึ้น เนื้อหาหลักเป็นการคัดค้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยยกเหตุผลเรื่องจะกระทบมรดกโลก จนอาจทำให้ยูเนสโกถอดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกจากมรดกโลก ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าวิทยากรที่เข้าร่วม มีเฉพาะฝ่ายที่คัดค้านการก่อสร้างทั้งสิ้น นำโดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ อีกทั้งพบว่านักวิชาการที่เข้าร่วมเสวนา ต่างมีจุดยืนทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี อาทิ รศ.ดร.ยุติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สำหรับประเด็นกระทบมรดกโลกนั้น ที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.ได้จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 10 มีนาคม 2566 และครั้งที่สอง วันที่ 20 เมษายน 2566 ซึ่งรฟท.ชี้แจงว่า ในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา รวมถึงการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอื่นๆ ตลอดทั้งโครงการ รฟท.ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงประโยชน์ในทุกมิติเป็นสำคัญ โดยในการศึกษาผลกระทบการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงต่อพื้นที่แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ รฟท.ได้ศึกษาEIA และศึกษาในด้านการศึกษาผลกระทบต่อโบราณสถาน พร้อมกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ซึ่งได้รับการอนุมัติไปแล้วตั้งแต่ปี 2562 และปัจจุบันยังได้ทำการศึกษาการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม หรือ HIA ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ผ่านทางที่ปรึกษาจากทางมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง