พาณิชย์ผนึกเอกชนลดราคาสินค้า-บริการกว่า 1.5 แสนรายการ สูงสุด 87%

“ภูมิธรรม” ผนึกกำลังผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ห้างโมเดิร์นเทรด ห้างท้องถิ่น ผู้ให้บริการ แพลตฟอร์ม รวม 288 ราย ปรับลดราคาสินค้าและบริการพร้อมกันทั้งประเทศรวม 151,676 รายการ แถมใช้โค้ดส่วนลดซื้อสินค้าออนไลน์ได้กว่า 1 ล้านรายการ ลดแรง สูงสุด 87% ดีเดย์ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนได้ราว 2,000-3,000 ล้านบาท

วันนี้ ( 2 ต.ค.66) นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจค้าปลีก เจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์กว่า 30 ราย เพื่อหารือถึงมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนด้วยการลดราคาสินค้า ซึ่งมีทั้งการปรับลดราคาสินค้าและบริการ การจัดธงฟ้าราคาประหยัด รวมทั้งผ่านออนไลน์ และการจัดมหกรรมลดราคาทั้งประเทศ โดยจะมีการลดราคาสินค้าจำเป็น เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี

 

 

 

 

 

 

 

 

นายภูมิธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (Quick Win) ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส โดยดึงผู้ประกอบการ 288 ราย ประกอบด้วย ผู้ผลิตสินค้า ของกินของใช้จำเป็น รวม 88 ราย ผู้จำหน่าย ทั้งห้างโมเดิร์นเทรด ห้างท้องถิ่น และห้างขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและอุปกรณ์ช่าง รวม 83 ราย ผู้ให้บริการ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการรถยนต์ และบริษัทขนส่งสินค้า/พัสดุ รวม 110 ราย แพลตฟอร์ม 7 ราย ปรับลดราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งสิ้น 151,676 รายการ และแต่ละแพลตฟอร์มแจกโค้ดส่วนลดใช้สั่งอาหารและซื้อสินค้าออนไลน์ รวม 1,012,000 รายการ เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ลดราคา แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่

 

– หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารสำเร็จรูป ข้าวสาร ซอสปรุงรส และเครื่องดื่ม รวม 3,058 รายการ ลดสูงสุด 87%

– หมวดของใช้จำเป็น เช่น ของใช้ประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ของตกแต่งบ้าน-อุปกรณ์ช่าง ยาและเวชภัณฑ์ รวม 8,290 รายการ ลดสูงสุด 80%

– หมวดปัจจัยการเกษตร ทั้งปุ๋ย เคมีเกษตร และอาหารสัตว์ 198 รายการ ลดสูงสุด 40%

สำหรับกลุ่มบริการ แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวดบริการทางการแพทย์ 140,000 รายการ ลดสูงสุด 20% หมวดบริการซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ 123 รายการ ลดสูงสุด 50% และหมวดบริหารขนส่งสินค้า/พัสดุ 7 รายการ ลดสูงสุด 69%

 

 

นายภูมิธรรม ระบุอีกว่า ขอขอบคุณผู้ประกอบการทุกรายที่ออกมาประกาศปรับลดราคาสินค้าและบริการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้ โดยคาดว่า จะช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชนได้ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท รวมถึงยังช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปลายปี ที่สำคัญช่วยสร้างสมดุลให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรมในลักษณะ Win-win ทั้งประชาชนผู้บริโภค เกษตรกร และผู้ประกอบการไม่ว่าจะรายเล็กหรือรายใหญ่ โดยมาตรการดังกล่าว จะมีการลดราคาสินค้าจำเป็น เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี และหลังจากนั้นกระทรวง พาณิชย์จะมีการทบทวนรายละเอียดอีกครั้ง โดยจะพยายามตรึงราคาสินค้าให้นานที่สุด

 

ทั้งนี้ ในการดำเนินมาตรการครั้งนี้ ทางผู้ประกอบการได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ ช่วยดูแลในเรื่องของกฎระเบียบที่ยังค้างคารวมถึงอุปสรรคต่างๆซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรับเรื่องมาและดูแลเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว

 

ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าการลดราคาสินค้าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อนั้น นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อนั้นจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหลังมีการออกมาตรการโดยในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้เข้ามาร่วมหารือวันนี้ได้นำสินค้าจำนวน 70 ถึง 80% ของสินค้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาลดราคาจึงต้องพิจารณาว่าในเดือนถัดไปการลดราคาสินค้าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อมากน้อยแค่ไหน นอดจากนี้ ในส่วนของสินค้าหลายตัวที่เป็นวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผู้ประกอบการยินดีที่จะปรับราคา หลังจากนี้กรมการค้าภายในจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

 

 

 

ขณะนายภูมิธรรม ระบุว่า รัฐบาลได้มีการพิจารณาเรื่องผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อประกอบการกับมาตรการลดราคา และขณะนี้ยังไม่มีสิ่งที่น่ามีผลกระทบกังวลใจมากนัก ตนมองว่า วันนี้สิ่งที่จะต้องติดตามคือการขยายตัวของเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไร และค่อยหามาตรการมาดูแล ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมาช่วยดูแลในเรื่องนี้ ควบคู่กับกระทรวงพาณิชย์ อีกด้วย

 

ด้านนายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรสซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ในการที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการลดราคาสินค้าในช่วงที่ราคาต้นทุนและวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ตนขอยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ มาม่า ซึ่งจากราคาขาย ซองละ 7 บาท ต้นทุนจะวัตถุดิบ ทั้งแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม มีค่าไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้า ค่าขนส่ง ค่าแรง และอื่นๆ รวมอยู่ในราคาขายปลายทางที่ 7 บาทต่อซอง ดังนั้น การที่รัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพและมาขอความร่วมมือกับทุกฝ่าย จะทำให้ภาคเอกชนสามารถลดต้นทุนของตนเองได้บ้างเล็กน้อย จากกำไรที่เพิ่มขึ้นก็อาจจะลดกำไรลดลง หรือไม่เอากำไรเพิ่มขึ้นก็สามารถดำเนินการได้ ส่วนกำไรหรือต้นทุนที่ลดลงจะมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการแต่ละรายด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น