วันที่ 4 ต.ค. ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า อาจมีผู้สงสัยว่า ที่อังกฤษ มีกฎกติกาเกี่ยวกับการลาออกจากตำแหน่งประธานสภาฯหรือการปลดประธานสภาฯหรือไม่ ? คำตอบ คือ ไม่มีที่กำหนดไว้เป็นทางการ ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะอังกฤษไม่ได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ที่ผ่านมาจะพบว่า ในกรณีที่ต้องการลาออก ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯต้องการลาออก ก็สามารถลาออกได้ ขณะเดียวกัน ในบางกรณี มีการกดดันให้ประธานสภาฯลาออกเช่นกัน เพราะในกรณีของอังกฤษ ส.ส. สามารถขอลงมติไม่ไว้วางใจประธานสภาฯได้ และหากประธานสภาฯไม่ได้รับการไว้วางใจ แม้ว่าจะไม่มีกติกากำหนดไว้
“อ.ไชยันต์” แนะทางออกสวย ๆ จี้ “ปดิพัทธ์” ควรลาออกจากรองประธานสภาฯ
ข่าวที่น่าสนใจ
แต่ประธานสภาฯที่ไม่ได้รับความไว้วางใจก็ยากที่จะทำหน้าที่ต่อไปได้ ในปี ค.ศ. 2009 มีการร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีเกี่ยวกับการเงินที่นายไมเคิล มาร์ติน ประธานสภาฯจากพรรคแรงงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง นายไมเคิล มาร์ติน จึงชิงลาออกจากประธานสภาฯ ก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ หรือในช่วงที่นายจอห์น เบอร์โคว์ (ที่สังกัดพรรคอนุรักษ์นิยม) เป็นประธานสภาฯ เขาก็ถูกกดดันให้ลาออกด้วยข้อหาทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าชอบใช้วาจาระรานข่มเหงในสภา นายเบอร์โคว์ไม่ได้ลาออกทันทีเหมือนนายไมเคิล มาร์ติน แต่ใช้วิธีแจ้งกำหนดการการลาออกจากตำแหน่งในปลายเดือนถัดไป
และเงื่อนไขดังกล่าวก็น่าจะใช้ได้กับรองประธานสภาด้วย ดังนั้น คุณหมออ๋องจึงควรคิดให้รอบคอบถี่ถ้วน ลาออกไป แล้วเลือกใหม่ ถ้า สส. เสียงส่วนใหญ่เขาเลือกกลับมา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่พรรคก้าวไกลแล้ว ก็แปลว่า สส. ส่วนใหญ่เขาไว้วางใจเห็นความเหมาะสมและตั้งใจดีของคุณหมอครับ แต่ถ้าไม่ออก แล้วทำไปฝืนความรู้สึกของ สส. ส่วนใหญ่ในสภา แล้วต้องลาออกในที่สุด ก็จะไม่สง่างามและเสียประวัติเปล่า ๆ ครับ ด้วยความปรารถนาดีครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง