“ดร.สามารถ” ชี้คนกรุงเสียประโยชน์ รฟม.อ้างไม่ขึ้นเบรกขยายรถไฟฟ้าสีเหลือง

"ดร.สามารถ" ชี้คนกรุงเสียประโยชน์ รฟม.อ้างไม่ขึ้นเบรกขยายรถไฟฟ้าสีเหลือง

สืบเนื่องจากการที่ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงแผนโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง โดยระบุจะไม่สร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้เหตุผลว่า ข้อตกลงโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร (กม.) ที่บริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นผู้ยื่นข้อเสนอนั้น ปัจจุบัน หมดระยะเวลาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว เนื่องจากข้อเสนอของเอกชนระบุว่า โครงการนี้จะต้องดำเนินการก่อนเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

 

 

ขณะที่ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BTSC ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOP NEWS ถึงกรณีดังกล่าวว่า การชี้แจงของรฟม. เกี่ยวกับแผนดำเนินการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เพื่อเชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธิน ซึ่งเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยข้อเท็จจริงถือว่าเป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน

“เพราะประเด็นปัญหาจริง ๆ มาจากการที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้ยื่นข้อเสนอให้ทาง BTSC ต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน กรณีที่ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อรายได้ และผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งแน่นอนว่า BTSC ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และได้เคยชี้แจงไปแล้วก่อนจะมีการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ รวมถึง BTSC ยังได้มีการยื่นข้อเสนอให้แก่รฟม.แล้วด้วยเช่นกัน ก่อนที่รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ และยืนยันความพร้อมที่จะทำการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายชดเชยรายได้จากผลกระทบผู้โดยสารที่หายไปของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน”

 

 

ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงกรณีที่รฟม. สั่งเบรกโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร (กม.) ว่า ถือเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประชาชนจะเสียโอกาสในการใช้บริการจากจุดตัดบนนถนนรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อไปยังโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนเหนือ โดยมีระยะทางเกือบ 3 กิโลเมตร ซึ่งหากมีการเชื่อมต่อเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อประชาชน ไม่ต้องเสียเวลา และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มในการเปลี่ยนเส้นทาง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ได้เป็นผู้ยื่นข้อเสนอไปแล้ว แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ในช่วงก่อนการเปิดให้บริการ ทั้งที่เส้นทางในส่วนต่อขยายได้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) การที่ รฟม. จะมาอ้างว่าส่วนต่อขยายดังกล่าวไม่อยู่ในแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล (M-Map) และในปัจจุบันบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนอยู่แล้ว เป็นการอ้างไม่ขึ้น ซึ่งตนรู้สึกเสียดายที่ไม่สามารถดำเนินการส่วนต่อขยายดังกล่าวได้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดร.สามารถ ระบุอีกว่า สาเหตุที่การเจรจาไม่จบ หรือตกลงกันไม่ได้นั้น เป็นเพราะ EBM ถูกขอร้องให้ชดเชยค่าเสียหายจากส่วนต่างรายได้ที่หายไปให้แก่ BEM ผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับ EBM เพราะ EBM จะต้องเสียเงินค่าก่อสร้างกว่า 3,000 ล้านบาท และยังต้องมาชดเชยรายได้ที่เสียไปของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีก ดังนั้น หากรฟม.เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนควรที่จะชดเชยเงินส่วนนี้ให้กับ BEM และรฟม. ควรติดตามว่า การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับสายสีเขียว BEM มีรายได้ลดลงจริงหรือไม่

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากมีการเชื่อมต่อส่วนต่อขยายดังกล่าวประชาชนจะได้ประโยชน์ และอาจทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีรายได้เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ประชาชนที่เดินทางมาจากคูคต หรือสะพานใหม่ ที่ต้องการเดินทางไปยังรัชดาภิเษก ก็จะไม่ต้องเสียเวลามาลงรถที่สถานีจตุจักร เพื่อเปลี่ยนไปใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยจะเดินทางได้เร็วขึ้นจนอาจทำให้มีประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นรายได้เพิ่มขึ้นของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งตรงจุดนี้จะต้องมอง 2 ทางไม่ใช่การมองแค่ทางเดียว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ นายภคพงศ์ ออกมาระบุว่า การที่ไม่ดำเนินการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนั้น เนื่องจาก EBM ไม่ได้ยื่นข้อเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ดร.สามารถ กล่าวว่า สาเหตุที่ EBM ไม่ได้ยื่นข้อเสนอให้กับรฟม. ก่อนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพราะติดในปัญหาเดียวคือการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปให้กับ BEM ทั้งที่เรื่องการดำเนินการส่วนต่อขยายผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว และก็ไม่มีการตกลงให้จบ ซึ่งตนมองว่า หากจะดำเนินการต่อขณะนี้ ก็ยังไม่สายหากรฟม.จะเข้าไปเจรจากับ EBM เพราะการที่ EBM เสียเงินในการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ก็ควรจะได้รับสิทธิพิเศษอะไรบ้าง อาจจะจะมีการยืดระยะเวลาสัมปทานให้ ส่วนรายได้หาก BEM ได้รับน้อยลงจริงก็เป็นเรื่องที่รฟม. จะต้องพิจารณาถึงการชดเชยให้กับ BEM และต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการประหยัดเวลาประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าเงินชดเชยที่ต้องเสียให้ BEM หรือไม่

ดร.สามารถ ระบุว่า หากมีการเชื่อมต่อกันเกิดขึ้น เชื่อว่า จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 40,000 คนต่อวัน ขณะที่เป้าหมายต้องการให้มีผู้โดยสารเฉลี่ย 80,000 คนต่อวัน ดังนั้น หากมีการเชื่อมต่อส่วนต่อขยาย เชื่อว่าจะเป็นตัวช่วยทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่หากไม่มีการเชื่อมต่อการเดินทางก็จะเป็นฟันหลอ เช่นเดียวกันรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงเตาปูน ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งพอมีการเชื่อมต่อก็ทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองก็เช่นเดียวกัน หากมีการเชื่อมต่อก็จะทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และผู้บริหารก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ส่วนกรณีการใช้บัตรโดยใบเดียว จะช่วยให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นหรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า ยังไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องนั้น แต่ให้มองถึงเรื่องนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งรัฐบาลต้องกำหนดให้ชัดเจน ถึงระยะเวลาที่ใช้บริการ โดยเชื่อนโยบายนี้ จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของรายได้จะลดลง ซึ่งจากการที่ตนคำนวนไว้รัฐบาลจะต้องชดเชยส่วนต่างรายได้ที่หายไปให้กับเอกชนผู้รับสัมปทานทุกรายไม่น้อยกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ส่วนแหล่งเงินที่รัฐบาลจะนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการว่าจะนำเงินมาจากที่ใด

 

สำหรับ 2 สายที่จะนำร่อง คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วง ดร.สามารถ ระบุว่า ควรเปิดให้บริการได้ทันทีเพราะเป็นการบริหารจัดการโดยรัฐไม่ควรรอให้ถึง 1 ม.ค.67 และไม่ต้องเสียเวลาในการเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้รับสัมปทาน แต่หากจะดำเนินการทุกเส้นทางจะต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรองกับเอกชนผู้รับสัมปทานซึ่งจะต้องมีการชดเชยให้เอกชนอย่างแน่นอน

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 จนเป็นมูลเหตุให้ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เตรียมนำข้อโต้แย้งนี้ เพื่อไม่จ่ายเงินค่าจ้างเดินรถให้กับเอกชนนั้น ดร.สามารถ ระบุว่า การที่ป.ป.ช.ชี้มูลเป็นในส่วนของส่วนต่อขยายที่ 1 ไม่รวมส่วนต่อขยายที่ 2 โดยสัญญาจ้างเดินรถเป็นสัญญาจ้างทั้ง 2 ส่วน ดังนั้น กรุงเทพธนาคมและกทม. จะต้องจ่ายค่าจ้างเดินรถให้กับบีทีเอส และหากไม่มีเงินจ่ายแก่เอกชน ก็จะต้องขยายระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจให้กับเอกชนอย่าปล่อยให้เรื่องคาราคาซังนานหลายปี ซึ่งขณะนี้ก็พบว่ามีมูลหนี้หลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น หากรอให้ถึง ปี 2572 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานก็จะทำให้กทม. เป็นหนี้ถึง 130,000 ล้านบาท จึงต้องตัดสินใจให้ได้

ส่วนที่เป็นปัญหาของป.ป.ช.ก็จะต้องดูว่า เป็นปัญหาในส่วนไหนไม่ใช่ทั้งหมด อีกทั้งในส่วนของป.ป.ช.ไม่ใช่ในส่วนของคดีสิ้นสุดเป็นการชี้มูลความผิดเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อไป

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น