เช็คลิสต์ 10 ข้อห้าม ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ "นวดแผนไทย" นวดเพื่อสุขภาพ พร้อมแนะ 9 ข้อควรระวัง อันตรายถึงชีวิต
ข่าวที่น่าสนใจ
สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ประชาชน ใครที่เป็นออฟฟิศซินโดรม ปวดเนื้อเมื่อยตัวบ่อย ๆ ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ “นวดแผนไทย”
เปิด 10 ข้อห้ามต้องรู้ก่อนตัดสินใจนวดไทย
1. ผู้ที่มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
- มีอาการจากโรคติดเชื้อเฉียบพลัน หรือโรคติดต่อระยะแพร่เชื้อ เช่น โรคเอดส์ โรคงูสวัด อีสุกอีใส วัณโรค เป็นต้น
- สาเหตุที่ไม่ควรไปนวด แผนไทย เพราะ ยิ่งจะทำให้อาการป่วยนั้น หนักขึ้นกว่าเดิม รักษาหายได้ช้าไปอีก
2. ผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคที่มีภาวะการณ์ติดเชื้อเฉียบพลัน
3. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ที่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- บางคนไปนวดแล้วความดันพุ่งขึ้นสูงมาก จนเส้นเลือดในสมองแตกได้
- ดังนั้น จะต้องมีการซักประวัติ และสอบถามเรื่องโรคประจำตัวคนที่จะมานวดก่อนเสมอ
4. ผู้ที่มีบาดแผลเปิด แผลเรื้อรัง
- เนื่องจาก จะทำให้แผลปริแตก และอาจทำให้แผลมีอาการอักเสบมากกว่าเดิม
5. ผู้ที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้
6. ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บภายใน 48 ชั่วโมง หรือได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลา 1 เดือน
7. ผู้ที่มีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ (Deep Vein Thrombosis)
8. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนรุนแรง
- เคยเกิดกรณีศึกษามาแล้วว่า มีคนป่วยโรคกระดูกพรุนไปนวดแผนไทยแล้วทำให้ขาหักในขณะที่นวด ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยมาก ๆ
9. ผู้ที่มีกระดูกแตก กระดูกหัก กระดูกปริร้าว บริเวณที่ผ่าตัดใส่เหล็กหรือข้อเทียม
- ถ้ามีปัญหากระดูกหัก ร้าว ข้อเคลื่อน หรือมีการบาดเจ็บต่าง ๆ ร่างกายจะเกิดพวกลิ่มเลือดตามเส้นเลือดได้
- ซึ่งการไปนวดแผน ไทยในคนไข้ที่มีอาการเหล่านี้ จะทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกมาในกระแสเลือด
- แล้วถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดในสมองก็จะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
- ถ้าไปอุดตันเส้นเลือดในปอดก็จะเหนื่อย แน่นหน้าอก จนเสียชีวิต
10. บริเวณที่เป็นมะเร็ง
- สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม ห้ามนวด แผนไทย เพราะ อาจจะเป็นกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามได้รวดเร็ว
- และอาจมีการแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือดและน้ำเหลือง อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
ข้อควรระวังในการนวดไทย
- เด็ก ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ (กรณีของหญิงตั้งครรภ์จะต้องได้รับการนวดด้วยความระมัดระวัง)
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ที่ไม่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีประวัติเลือดออกผิดปกติ หรือรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
- ผู้ที่มีภาวะข้อหลวม ข้อเคลื่อน ข้อหลุด
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับประทานอาหาร หรือ หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ไม่เกิน 30 นาที
- ผู้ที่บาดแผลที่ยังหายไม่สนิทดี ผิวหนังแตกง่าย หรือได้รับการปลูกถ่ายผิวหนัง
นอกจากนี้ บางตำแหน่งของร่างกายต้องใช้ความระมัดระวังในการลงน้ำหนัก เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเส้นประสาท หรือหลอดเลือดสำคัญที่เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น
- ตำแหน่งบริเวณขมับ
- ต้นคอ รักแร้
หากกดด้วยความรุนแรงหรือระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หมดสติ หรือชาบริเวณแขนได้ ส่วนตำแหน่งท้อง หากพบว่าเป็นผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง จะเว้นการนวดบริเวณช่องท้อง เพราะ หลอดเลือดอาจปริแตกได้
ดังนั้น ก่อนนวดควรแจ้งประวัติสุขภาพ หรือโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
ข้อมูล : คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
OfficeMate TH : Living Icon
ข่าวที่เกี่ยวข้อง