สภาอุตฯพบ “นายกฯ” เสนอ 8 แนวทางพัฒนาอุตฯไทย-เร่งทำ Action plan

สภาอุตฯ เร่งจัดทำ Action Plan ส่งนายกรัฐมนตรี หลังเสนอ 8 แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมไทย หวังช่วย SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อ ปรับค่าแรงขั้นต่ำควรใช้กลไกคณะกรรมการไตรภาคี พร้อมขอฟื้นเวทีกรอ.เพื่อหารือกันมากขึ้น ขณะที่ “เศรษฐา” ห่วงปัญหาภัยแล้ง ชี้ต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน

วันนี้ ( 6 ต.ค.66) นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมคณะผู้บริหาร ส.อ.ท. ได้ร่วมประชุมกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือและนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

 

 

 

 

นายเศรษฐา ได้กล่าวในห้องประชุมว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานในทุกมิติเพื่อทำงานแบบบูรณาการ และพร้อมทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

 

 

สำหรับการหารือครั้งนี้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่ นายเศรษฐา จะออกมารับหนังสือปกขาว ที่ได้รวบรวมข้อเสนอและความเห็นจากภาคเอกชนทั้งหมดเพื่อนำไป เป็นแนวทางในการแก้ปัญหากับภาคอุตสาหกรรม ก่อนจะเดินทางกลับ

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

 

จากนั้นนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยระบุถึงการเสนอ ข้อเสนอแนะแก่นายกรัฐมนตรี ที่ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 8 ข้อหลัก จาก 70 ข้อ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน คือ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขับเคลื่อน GDP ให้เติบโตมากขึ้น และความยั่งยืน ทั้งเรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG

 

ทั้งนี้ในส่วนที่ภาคเอกชนได้นำเสนอและเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ อาทิ ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ระหว่างหน่วยงานรัฐให้มีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และรวมศูนย์บริการแบบครบวงจรเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานให้สั้นลง

 

ส่วนการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศ ควรใช้กลไกของคณะกรรมการไตรภาคี เป็นผู้กำหนดแนวทาง เพื่อให้เป็นไปตาม ความเหมาะสมของสถานการณ์เศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด เนื่องจากบริบทและศักยภาพของแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน ซึ่งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ควรเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน

 

 

ขณะที่ด้านพลังงานเอกชนต้องการให้ทบทวนแผนพลังงานแห่งชาติ (NEP) เพื่อบริหารจัดการภาระต้นทุนพลังงานและไฟฟ้า รวมถึงเสนอให้มีการตั้ง กกร. ภาคพลังงาน เพื่อให้ภาคเอกชนได้เข้าเสนอแนวทางและความเห็นด้านพลังงานต่างๆ นอกจากนี้ ให้เร่งผลักดันการเจรจาข้อตกลงทางการค้า FTA ระหว่างไทยกับต่างประเทศให้มากที่สุด โดยเร่งผลักดันการเจรจา FTA ที่ดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา และเปิดการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี FTA ในตลาดสำคัญและตลาดใหม่ ๆ ยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ เพื่อลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

พร้อมเร่งรัดแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถจัดสรรน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมายสำคัญ เช่น EEC และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

นายเกรียงไกร ระบุด้วยว่า สภาอุตฯ ต้องการช่วยเหลือ SME ให้เข้าถึงสินเชื่อมีความจำเป็นมากกว่าการพักชำระหนี้ เนื่องจาก SME ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ยังฟื้นตัวได้ช้าและยังเข้าถึงสินเชื่อได้ไม่เต็มที่ เห็นได้จากยอดสินเชื่อ SME ที่ยังหดตัว และควรสนับสนุนผลักดันให้กิจการของ SME สามารถมีความพร้อมรองรับโอกาสจากการค้า

นายเกรียงไกร ระบุอีกว่า ในระหว่างการหารือ นายเศรษฐา รับฟังข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น โดยเน้นย้ำว่าปัญหาที่เราเจอขณะนี้อย่างหนักหน่วง คือ ปัญหาภัยแล้ง โดยต้องมีการบริหารจัดการน้ำรอบด้าน และต้องการให้ส.อ.ท. ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ประกอบการและภาคเอกชน เดินหน้าจัดทำแผนการดำเนินงาน (Action plan) ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวที่ชัดเจน เนื่องจากเดือนเมษายนปี 2567 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยก็จะประสบปัญหาภัยแล้งอีกครั้ง และสำหรับประเด็นอื่นๆ จะแบ่งการทำงานออกเป็นทีม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

 

ทั้งนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ในการจัดทำ Action plan โดยแยกเป็นรายเซคเตอร์ รายอุตสาหกรรม และรายคลัสเตอร์ เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

นอกจากนี้อยากให้มีการรื้อฟื้นการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.กลาง) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่ออัพเดทและพูดคุยกันมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็โอเค

 

ที่ประชุม ส.อ.ท. ได้เสนอแนะ 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่

1.การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริม Ease of Doing Business และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

1) กำหนดให้การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) เป็นวาระแห่งชาติ โดยใช้กลไกผ่านวิธีการแก้ไขกฎหมายกลาง (Omnibus Laws) และ Regulatory Guillotine

2) บูรณาการในการออกกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้เกิดความชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3) รวมศูนย์บริการและขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ แบบ One Stop Service ณ จุดเดียว โดยเฉพาะการขออนุมัติอนุญาตประกอบกิจการ

 

2. การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ
1) การปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าควรเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าจ้างไตรภาคี พิจารณาสอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ โดยให้ยึดข้อเสนอ/ข้อมูลจากคณะกรรมการไตรภาคีของแต่ละจังหวัดเป็นหลักในการพิจารณา
2) การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity) พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานทั้ง Upskill/ Reskill/ Multi Skill/ Future Skill ให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ
3) ส่งเสริมให้จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน (Pay by Skills) และเร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานครบทุกสาขาอาชีพ

 

3. การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition)
1) เร่งพิจารณาทบทวนแผนพลังงานชาติ หรือ National Energy Plan (NEP) ฉบับใหม่
2) ลดภาระต้นทุนพลังงาน และค่าไฟฟ้า โดยบริหารจัดการ Reserve Capacity และทบทวนโครงสร้างพลังงานที่เกี่ยวข้องกับค่า Ft รวมถึงบริหารและจัดสรรก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสม
3) เร่งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน (กรอ. พลังงาน)

 

4. การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)

1)เร่งสร้างกลไกและแผนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพ รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้มีความต่อเนื่องและครอบคลุม Ecosystem ของอุตสาหกรรม
2) เร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เช่น FTA ไทย – EU, ไทย – EFTA, ไทย – GCC, อาเซียน – แคนาดา, ไทย – US เป็นต้น
3)เพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับสินค้า Made in Thailand (MiT) ให้ได้รับแต้มต่อเป็น 10% และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับภาคเอกชนให้สามารถนำยอดซื้อมาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
4)ปกป้องสินค้าไทยโดยการควบคุมสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

 

5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล
1)สนับสนุนการลงทุนพัฒนาไปสู่ Digital Transformation 4.0 เพื่อยกระดับขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมการผลิต และ SMEs ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
2) ขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) รายอุตสาหกรรม และรายภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนวิจัยพัฒนา/วิเคราะห์ทดสอบ
3)ออกมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนให้เกิดการซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรม เพื่อขยายตลาดเข้าสู่ตลาดภาคเอกชน เช่น นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรม มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

 

6.การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน (BCG & ESG) การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า และการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
1) บูรณาการการบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืน เช่น เร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำที่สำคัญ ลดการสูญเสียน้ำในอ่างเก็บน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพท่อส่งน้ำ (Water Grid) การจัดตั้งกองทุนน้ำ พัฒนาระบบชลประทาน เป็นต้น
2) เตรียมความพร้อมในการรับมือมาตรการ Climate Change เช่น จัดทำ Climate Fund, มาตรการส่งเสริมการลด GHG, จัดทำมาตรการ Emission Trading System (ETS), ขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4D 1 E เป็นต้น
3) ผลักดันการดำเนินการอุตสาหกรรมสีเขียว และเพิ่มมูลค่าสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) โดยส่งเสริมการใช้ Circular Materials , การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR)

 

7.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs
1) ออกมาตรการการเงิน เสริมสภาพคล่อง SMEs เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft Loan), มาตรการค้าประกันสินเชื่อเพื่อ SME, มาตรการพักดอกลดต้น เป็นต้น
2)ปรับอัตราภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
3)ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ลด 5 % จากอัตราเดิม
4) จัดตั้งกองทุนเพิ่มผลิตภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับ SMEs เพื่อให้ SME นำเทคโนโลยี Automation & Robotic มาลดต้นทุนการผลิต และทดแทนกำลังแรงงานที่ขาดแคลน

 

8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Logistics และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม
1) แก้ไขปัญหาความแออัด ณ บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในรูปแบบ Shift Mode (เรือ-ราง)

2)ยกระดับด่านชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวร ได้แก่ จุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุมยวน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และระหว่างไทย – กัมพูชา ได้แก่ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
3)ปรับปรุงผังเมืองทั่วประเทศ ให้พื้นที่เกษตรกรรมสามารถรองรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น