เปิด 6 อาการ “เหงื่อออกตอนกลางคืน” ผิดปกติ แบบไหนต้องพบแพทย์

อาการ "เหงื่อออกตอนกลางคืน" เปิดเช็คลิสต์ 6 อาการแบบไหนผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ สัญญาณร้ายที่ร่างกายกำลังเตือน

เช็คลิสต์ 6 อาการ “เหงื่อออกตอนกลางคืน” เหงื่อออกตอนนอน อาการ เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน ผู้หญิง อาการผิดปกติแบบไหนควรพบแพทย์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“เหงื่อออกตอนกลางคืน” แบบไหนผิดปกติ

  • อาการมีเหงื่อออกมากเกินไป (อาจจะมากจนเปียกชุ่มเสื้อผ้า) โดยไม่ได้สัมพันธ์กับอากาศร้อนหรือห่มผ้าหนา ๆ

สาเหตุ ของอาการ “เหงื่อออกตอนกลางคืน”

เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยแพทย์ต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้มีเหงื่อออก ตอนกลางคืนได้ มีดังนี้

1. วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน

  • ภาวะวัยทอง อาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางคืน
  • และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผู้หญิงวัยนี้มีอาการเหงื่อออกตอนนอน

เหงื่อออกตอนกลางคืน, เหงื่อออกตอนนอน, อาการ เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน, เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน ผู้หญิง, เหงื่อออกมากเกินไป, ภาวะเหงื่อออกมาก, เหงื่อออกมาก

2. การติดเชื้อ

  • เช่น เชื้อวัณโรค เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับอาการเหงื่อออก ตอนกลางคืน
  • โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ กระดูกอักเสบ และเป็นฝี ก็อาจทำให้เกิดอาการเหงื่อออก ตอนกลางคืนได้เช่นกัน
  • ติดเชื้อ HIV ก็ทำให้เหงื่อออก ตอนกลางคืนได้

3. โรคมะเร็ง

  • อาการเหงื่อออก ตอนกลางคืน คือ หนึ่งในอาการช่วงเริ่มต้นของมะเร็งบางชนิด
  • โรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่การได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งนั้น ต้องประเมินร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

4. ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ)

  • เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เหงื่อออก
  • ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อินซูลิน หรือกินยาโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืนพร้อมกับเหงื่อออก

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน, เหงื่อออกตอนนอน, อาการ เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน, เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน ผู้หญิง, เหงื่อออกมากเกินไป, ภาวะเหงื่อออกมาก, เหงื่อออกมาก

 

5. ฮอร์โมนผิดปกติ

  • อาการเหงื่อออก อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายชนิด รวมไปถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนด้วย อาทิ
    • เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma)
    • เนื้องอกคาร์ซินอยด์ (carcinoid tumor)
    • โรคไทรอยด์เป็นพิษ

6. การกินยา

  • การกินยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอากาเหงื่ออออก ตอนกลางคืนได้ อาทิ
    • ยาต้านซึมเศร้า โดยคิดเป็น 8-22% ของผู้ที่กินยา จะมีเหงื่อออกตอน กลางคืน 
  • นอกจากนี้ ยาทางจิตเวชอื่น ๆ ยาลดไข้ อย่าง
    • แอสไพริน
    • อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen)
    • ในบางครั้งก็ทำให้เกิดอาการเหงื่อออก ตอนกลางคืนได้เช่นกัน

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน, เหงื่อออกตอนนอน, อาการ เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน, เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน ผู้หญิง, เหงื่อออกมากเกินไป, ภาวะเหงื่อออกมาก, เหงื่อออกมาก

7. ภาวะความผิดปกติทางระบบประสาทและสมอง

  • สาเหตุนี้พบไม่บ่อย โดยจะมีอาการที่เรียกว่า autonomic dysreflexia เป็นภาวะความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ
  • อาการถุงน้ำในโพรงไขสันหลัง (syringomyelia)
  • รวมไปถึงสโตรก ก็สามารถทำให้มีเหงื่อออก ตอนกลางคืนได้

8. ภาวะเหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเหงื่อออกมามากเกินไป
  • เป็นอาการเรื้อรังที่ไม่มีสาเหตุที่ทางการแพทย์จะระบุได้

รับมือเหงื่อออก ตอนกลางคืนด้วยตัวเองอย่างไร?

  • นอกจากการตรวจวินิจฉัย และรักษาที่ต้นเหตุ สามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ด้วยการทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบายขณะนอนหลับ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหงื่อเวลานอนได้ เช่น
    • จิบน้ำเล็กน้อย สม่ำเสมอ ช่วงเข้านอน
    • ใช้ปลอกหมอน หรือผ้าปูที่นอนที่มีวัสดุเย็นสบาย
    • สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ บางเบา
    • ออกกำลังกายทุกวัน หนักหรือเบาก็ได้เท่าที่ไหว
    • อย่าห่มผ้าห่มหนาหรือหนักจนขยับเขยื้อน เปลี่ยนท่าทางได้ยาก
    • ทำสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจก่อนเข้านอน

 

เหงื่อออกตอนกลางคืน, เหงื่อออกตอนนอน, อาการ เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน, เหงื่อ ออก ตอน กลางคืน ผู้หญิง, เหงื่อออกมากเกินไป, ภาวะเหงื่อออกมาก, เหงื่อออกมาก

 

    • เปิดพัดลมหรือเปิดแอร์ให้อากาศในห้องเย็นสบาย
    • หลีกเลี่ยงอาหารหรือกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้ร่างกายมีเหงื่อ เช่น
      • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ
      • กินอาหารรสจัด
      • สูบบุหรี่
      • รวมไปถึงการออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนเข้านอน

เช็คลิสต์ 6 อาการ ที่ควรพบแพทย์

หากรู้สึกว่าอาการ “เหงื่อออกตอนกลางคืน” ทำให้รู้สึกกังวล ให้ลองสังเกตว่าอาการเหล่านี้เริ่มรบกวนการใช้ชีวิตและมีอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ร่วมหรือไม่ เช่น

  • อาการเกิดขึ้นประจำ
  • รบกวนการนอนหลับ
  • มีอาการร่วมกับมีไข้
  • น้ำหนักลด
  • ท้องเสีย
  • หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่รุนแรง

ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอาการเหงื่อออก ตอนกลางคืน

การมีเหงื่อออกตอน กลางคืนนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีเหงื่อออกมากจนเป็นปัญหา และมีอาการไม่พึงประสงค์ตามที่กล่าวมา ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะ อาการที่คิดว่าเป็นเรื่องปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคภัยที่รุนแรงกว่า
ข้อมูล : พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง medparkhospital

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. ชวนประชาชนร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 2-8 เม.ย.นี้ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
“ว้าแดง” ขนยาเย้ยอาฟเตอร์ช็อก! “ทัพเจ้าตาก” ซัดโป้ง ยึด 1.2 ล้านเม็ด
"SEP GROUP" รุกสร้างท่าเทียบเรือแห่งแรก "บางปู" แก้ปัญหาจราจร กระตุ้นท่องเที่ยวทางทะเล
"กทม." แถลงความคืบหน้า อาคาร สตง.ถล่ม ค้นหาผู้สูญหาย 79 ราย เร่งเจาะคอนกรีตลึก 2 เมตร หวังพบผู้ติดค้าง
รวบแล้ว "2 โจ๋" ทดลองทำระเบิด โยนตามถนน เด็ก 9 ขวบเก็บมาเล่น ดับสลด
มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 7 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก จว.ไหนบ้างเช็กเลย
นักวิเคราะห์ชี้ทรัมป์จ้องเล่นอินโดจีนเพราะสนิทจีน
"กรมศิลปากร" จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
"ก.แรงงาน" จ่อฟ้อง 21 บริษัท เรียกร้องเงินเยียวยา ผู้ประสบเหตุอาคาร สตง.พังถล่ม พร้อมดูแลญาติเหยื่อต่อเนื่อง 10 ปี
"ตร.ไซเบอร์" เปิด 4 ปฏิบัติการ รวบ 7 ผู้ต้องหาแก๊งลวงออนไลน์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น