“คำนูณ” เผย 7-8 ปี ปฏิรูปตำรวจ กลับยิ่งห่างไกลเป้าหมาย

“ส.ว.คำนูณ” เผย 7-8 ปี “พล.อ.ประยุทธ์” ใช้อำนาจพิเศษปฏิรูปตำรวจ แต่ยังห่างไกลเป้าหมาย เหตุมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ก่อนส่งเข้าสภาฯ

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. – นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Kamnoon Sidhisamarn เกี่ยวกับความคืบหน้าการปฏิรูปตำรวจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยเกี่ยวกับตำรวจมาในรอบ 7 หรือ 8 ปีที่ผ่านมา แต่ได้ทำมากพอสมควรทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำโดยอำนาจพิเศษ กล่าวคือได้มีการใช้อำนาจพิเศษสั่งการในรูปแบบประกาศ คสช.และคำสั่งหัวหน้า คสช.รวม 5 ครั้ง แยกเป็นประกาศ 2 ครั้ง คำสั่ง 3 ครั้ง และยังได้ใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติว่าด้วยการปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 260 ในรูปแบบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีอีก 1 ครั้ง อีก 2 ครั้งที่เหลือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามปกติ สรุปรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง ในรอบ 8 ปีระหว่างปี 2557 – 2564 เพียงแต่ทั้ง 8 ครั้งนี้ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘การปฏิรูปตำรวจ’ ทั้งในความหมายที่เป็นจริง ในความหมายที่ประชาชนคาดหวัง และในความหมายที่ตรงกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 โดยเฉพาะในครั้งที่ 5 และ 6 นี่เจ็บปวดมาก เพราะส่งผลให้เป้าหมายของการปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญ 2560 ห่างไกลออกไปลิบลิ่วทีเดียว

 

นายคำนูณ กล่าวต่อว่า ครั้งที่ 1 – ประกาศ คสช.ที่ 88/2557 แก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ในประเด็นองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (กตร.) โดยเพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามาเป็นกรรมการด้วย รวมทั้งแก้ไขให้ผบ.ตร.เป็นผู้เสนอรายชื่อผบ.ตร.คนใหม่ต่อกตช.แทนที่นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 – ประกาศคสช.ที่ 111/2557 แก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯในประเด็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยเป็นการปรับถ้อยคำให้บทบาทของท้องถิ่นมีน้ำหนักเบาลง ครั้งที่ 3 – ประกาศคสช.ที่ 115/2557 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เปลี่ยนอำนาจชี้ขาดคดีในกรณีมีความเห็นต่างระหว่างตำรวจกับอัยการในต่างจังหวัดจากผู้ว่าราชการจังหวัดไปเป็นผู้บัญชาการภาค ทำให้เสียดุลในการตรวจสอบและถ่วงดุลในต่างจังหวัด ครั้งที่ 4 – คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 7/2559 แก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งพนักงานสอบสวน และเงินประจำตำแหน่งพนักงานสอบสวน โดยให้ตำแหน่งพนักงานสอบสวนกลับไปลื่นไหลไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ ได้ไม่ต้องมีตำแหน่งเฉพาะเป็นแท่งของตัวเอง

 

ครั้งที่ 5 – คำสั่งคสช.ที่ 21/2559 แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ ให้อำนาจ ผบ.ตร.เป็นผู้สั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการลงไปจนถึงผู้กำกับการ โดยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งได้เอง ครั้งที่ 6 – ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจตามหลักอาวุโส ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ครั้งที่ 7 – คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 20/2561 เรื่องมาตรการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่อง ครั้งที่ 8, 9 – คณะรัฐมนตรีมีมติในเดือนกันยายน 2563 และมกราคม 2564 เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับแก้จากร่างของคณะกรรมการชุดท่านอาจมีชัย ฤชุพันธุ์ และนำเสนอต่อรัฐสภาจนผ่านวาระ 1

 

นายคำนูณ กล่าวอีกว่า ครั้งที่ 1, 2, 4 และ 5 เป็นการแก้ไขที่ไม่ได้มีความหมายในเชิงปฏิรูปมากนัก บางมุมมองอาจเห็นเป็นการสวนทางการปฏิรูปด้วยซ้ำในขณะที่ครั้งที่ 3 เป็นการแก้ไขใหญ่ที่ทำให้ระบบตรวจสอบการสั่งคดีในต่างจังหวัดเสียหาย เป็นการเพิ่มอำนาจให้ตำรวจครั้งใหญ่ ครั้งที่ 5 และ 6 ส่งผลให้เป้าหมายของการปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญ 2560 ห่างไกลออกไปลิบลิ่ว เมื่อบทเร่งรัดกึ่งลงโทษตามรัฐธรรมนูญ 2560 ไร้ผลด้วยการใช้อำนาจพิเศษดำเนินการเรื่องตำรวจครั้งที่ 5 และ 6 เมื่อ ครม.ส่งร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ที่ปรับแก้จากร่างฉบับอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาสู่ที่ประชุมรัฐสภา ความหวังจึงเหลือริบหรี่เลือนรางมาก เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจยังคงดำเนินไปตามที่เคยเป็นมา และการแต่งตั้งโยกย้ายในร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ฉบับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับแก้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงในวาระสำคัญ สรุปคือผลเหมือนกันทั้งขึ้นทั้งล่อง กฎหมายใหม่ไม่ผ่าน การแต่งตั้งโยกย้ายก็ดำเนินไปตามเดิม ไม่เปลี่ยน ไม่กระทบ ใครจะร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ เพราะมีคำสั่งหัวหน้าคสช.รับรองไว้แล้วว่าถูกต้อง กฎหมายใหม่ถ้าผ่านออกมาตามร่างที่ผ่านวาระ 1 สาระก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก

 

นายคำนูณ กล่าวต่อว่า แม้จะมีกรรมาธิการบางคน อย่างน้อยก็ตน และนายวิชา มหาคุณ จะเตรียมการเสนอความเห็นให้แก้ไขนำระบบใหม่ที่เคยอยู่ในร่างพระราชบัญญัติฉบับอาจารย์มีชัยที่ถูกวิสามัญฯ ไปกลับมาแทนที่ ก็ยังไม่รู้ว่าจะชนะในชั้นกรรมาธิการหรือชั้นรัฐสภาวาระ 2 หรือไม่ และไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่อาจที่จะแก้ไขเยียวยาการใช้อำนาจพิเศษครั้งที่ 3 ได้ เพราะคณะรัฐมนตรียังไม่ได้เสนอขอแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเข้ามา รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา(ของตำรวจ)ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ จัดทำขึ้นมาคู่กับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมไปแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้เสนอต่อรัฐสภา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น