ศาลเชียงใหม่สั่งจำคุก 4 ปี “ตี้ วรรณวลี” 2 ปี 8 เดือน ผิดคดีม.112 โพสต์ภาพหมิ่นเบื้องสูงม็อบปี 63

ศาลจังหวัดเชียงใหม่ พิพากษาจำคุก 4 ปี “ตี้ วรรณลี” แนวร่วมม็อบราษฏร ผิดม.112 โพสต์ภาพชูป้ายเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงในม็อบบ๊ายบายไดโนเสาร์ ของนักเรียนเลวปี 63 ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน ยกฟ้องจำเลยอีก2 คน ลุ้นยื่นประกันตัว

10 ต.ค.2566 ทวิตเตอร์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความว่า ด่วน! ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาคดี ม.112 ของ “ตี้ วรรณวลี” กับเพื่อนอีก 2 คน เห็นว่าเฉพาะวรรณวลีที่มีความผิดตามฟ้อง เห็นว่าข้อความในป้ายของวรรณวลีเข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 4 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอีกสองราย ข้อความในป้ายที่ถือ ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงบุคคลใด ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ได้กดรับที่จำเลยที่ 1 แท็กมา ไม่ได้กดไลท์ กดแชร์ต่อ จึงยังไม่ชัดเจนว่าทั้งสองกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 และ 3 อยู่ระหว่างยื่นประกันตัววรรณวลีระหว่างอุทธรณ์

 

 

สำหรับที่มาที่ไปของคดีนี้ เหตุเกิดจากโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของ “ตี้ วรรณวลี” จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 เป็นภาพจำเลยทั้งสามคนยืนเรียงหน้ากระดานถือป้ายข้อความคนละป้าย อยู่ในบริเวณการชุมนุม ต่อมาทราบว่าเป็นการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า #บ๊ายบายไดโนเสาร์ ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มนักเรียนเลว บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม

 

 

โดยวรรณวลีได้เขียนแคปชั่นประกอบภาพต่อมาในวันที่ 29 พ.ย. 2563 สุกิจ เดชกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดีเชียงใหม่ ได้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้งานบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว กับพวก อ้างว่าข้อความและภาพถ่ายมีลักษณะ “ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนที่ได้เห็นข้อความหลงเชื่อ และร่วมแสดงความคิดเห็นที่ลักษณะเป็นการดูหมิ่น ใส่ความ ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ ทรงถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ

ข่าวที่น่าสนใจ

หลังได้รับหมายเรียกจากตำรวจ ทั้งสามคนได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 ก่อนตำรวจจะส่งสำนวนให้อัยการเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564

จากนั้นครึ่งปีผ่านไป วันที่ 26 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการได้สั่งฟ้องทั้งสามคนในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยกล่าวหาว่าป้ายข้อความในรูปดังกล่าวมีความหมายไปในทางเสียดสี ดูถูก ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้

ทั้งสามคนยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล และศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้สืบพยานไปเมื่อวันที่ 13-16 มิ.ย. 2566 และนัดสืบพยานจำเลยที่ตกค้างเพิ่มเติมอีกครึ่งนัด เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2566 จนเสร็จสิ้น จนมีคำพิพากษาล่าสุดในวันนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แม่ค้าขนมครกโอดยอมกัดฟันสู้ หลังราคาน้ำกะทิขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 100 บาทแต่ยันขายขนมครกราคาเดิมกลัวลูกค้าหด
"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท
"นายกฯ" ลั่นไม่แทรกแซง หลังป.ป.ช.ขอเวชระเบียน "ทักษิณ"
ตร.แจ้งเอาผิด "พี่เลี้ยง"ทำร้ายเด็ก 5 ขวบ อ้างสั่งสอนเพราะดื้อ
เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น